ระวังลูกนั่งหลังโก่ง-ค่อม เสี่ยงพัฒนาการช้า!

event

ลูกน้อยหลังค่อม โก่งสำหรับผู้ใหญ่ถ้านั่งผิดท่านานๆ ปัญหาจะเกิดได้ตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า ท่าที่ผิดคือชะโงกไปด้านหน้า ทำให้หลังที่แอ่นบริเวณคอและเอวเกิดการค่อม ส่งผลให้กล้ามเนื้อต้นคอและกระดูกสันหลังทำงานหนัก และอาจเรื้อรังจนส่งผลต่อหมอนรองกระดูกต้นคอ และกระดูกสันหลังเคลื่อนจนทับเส้นประสาทได้ หรืออาจทำให้เส้นเอ็นที่ข้อมือ ข้อศอกอักเสบ เส้นประสาทข้อมืออักเสบมีพังผืดกดทับ ปวดเข่าและข้อเท้า เป็นต้น

√ วิธีการแก้ไข เมื่อ ผู้ใหญ่ และ ลูกน้อยหลังค่อม โก่ง เพราะนั่งผิดท่า

  • ปรับท่านั่งให้ดี ถูกสุขลักษณะ

  1. เก้าอี้ที่นั่งควรมีพนักพิงที่เอียง ประมาณ 100-110 องศา
  2. เบาะเก้าอี้ที่นั่งต้องกระชับ ไม่นุ่มหรือแข็งและไม่เทลาดลดลงด้านหน้ามากเกินไป
  3. เบาะเก้าอี้ต้องมีขนาดพอสมควร สามารถรองรับสะโพกและต้นขาด้านหลังได้ดี
  4. ต้องนั่งเก้าอี้ให้ลึก ไม่นั่งตื้นๆ ขาทั้ง 2 ควรสอดเข้าไปใต้โต๊ะ และเท้าทั้ง 2 ข้างต้องวางกับพื้น ถ้าเท้าลอยควรหาที่รองเท้าขณะนั่งให้พอดี
  5. นั่งวางแขนบนพนักวางแขนซึ่งมีความสูงที่เหมาะสมไม่ทำให้ไหล่ยกสูงหรือลู่ลงมากไป
  6. จัดสัดส่วนระหว่างเก้าอี้และโต๊ะเรียนให้เหมาะสม ไม่ก้มตัวหรือตัวตรงมากเกินไป
  7. หลีกเลี่ยงการนั่งไม่เต็มเก้าอี้ นั่งไขว้ห้าง เพราะจะส่งผลต่อปัญหาสุขภาพกระดูก
  • ท่าบริหารต่างๆ

เป็นอีกหนึ่งวิธีที่สามารถแก้ปัญหาหลังค่อมได้เป็นอย่างดี โดยการเลือกท่าบริหารที่เหมาะสม เช่นท่าดังต่อไปนี้

♦ ยืนหลังและส้นเท้าชิดกำแพง จากนั้นกางแขนออก แล้วทำแขขึ้นลงประมาณ 45 องศา เหมือนท่านกกางปีกบิน จำนวน 10 ครั้ง

♦ ยืนหลังและส้นเท้าชิดกำแพง จากนั้นพับแขนมาแตะที่หู เหมือนกับการทำท่าเอาฝ่ามือมาปิดหู โดยทำประมาณ 10 ครั้ง

♦ ยืนหลังและส้นเท้าชิดกำแพง จากนั้นทำท่าเหมือนกับการปีนเชือก โดยการยืนมือขึ้นเหนือศีรษะ โดยให้มือทั้งสองข้างสลับกัน ทำประมาณ 10 ครั้ง

ทั้งนี้ด้าน ศาสตราจารย์มาร์ เบนเดน ผู้เชี่ยวชาญจากศูนย์ศึกษาวิทยาการสุขภาพเท็กซัส เอ แอนด์ เอ็ม สหรัฐอเมริกา ยังได้ค้นพบว่า การใช้โต๊ะเรียนแบบตั้งสูงจากพื้นซึ่งนักเรียนจะต้องยืนนั้น สามารถช่วยเพิ่มความสนใจในชั่วโมงเรียนมากขึ้นถึงร้อยละ 12 อีกด้วย

จากการศึกษาในเด็กวัยประถม อายุ 7-9 ขวบ จำนวน 300 คน เป็นเวลานาน 1 ปี โดยเปรียบเทียบผลการเรียนและการมีส่วนร่วมในห้องเรียนระหว่างเด็กที่นั่งโต๊ะเรียนหนังสือตามปกติ กับเด็กที่ใช้โต๊ะยืนเรียน ปรากฏว่า นักเรียนในกลุ่มที่ใช้โต๊ะยืนมีความร่วมมือในห้องเรียนดีกว่าเพื่อนอีกกลุ่มอย่างเห็นได้ชัด ทั้งตอบคำถามครูได้ทันที เข้าใจบทเรียนโดยไม่ต้องถามซ้ำ และยังมีคะแนนทดสอบมากกว่าคะแนนเฉลี่ย

ลูกน้อยหลังค่อม โก่ง นอกจากนี้การยืนเรียนยังช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคอ้วน และโรคเบาหวานในเด็กได้อย่างอัศจรรย์ โดยร่างกายขณะยืนสามารถเผาผลาญไขมันได้มากกว่าถึงร้อยละ 15

อย่างไรก็ตาม การผลักดันให้เปลี่ยนการนั่งเรียนมาเป็นยืนเรียนนั้น ยังต้องศึกษาเพิ่มเติมเพื่อพิสูจน์ว่าการยืนเรียนจะมีผลเสียต่อสุขภาพของเด็กหรือไม่ เนื่องจากการยืนนานๆ จะทำให้กล้ามเนื้อตึงเครียด และเป็นตะคริวได้

ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ลูกมีภาวะหลังค่อม อันเป็นเหตุ ให้มีพัฒนาการช้าได้ คุณพ่อคุณแม่ควรช่วยกันดูแลลูกน้อย พยายามบอกลูก หรือให้คุณครูช่วยดูที่โรงเรียน เพื่อหลีกเลี่ยง หลังค่อม การเปลี่ยนท่าทางหรือกิริยาให้หลังตั้งตรงขณะทำกิจกรรมต่างๆ ให้ถูกต้อง และควรเสริมด้วยการให้ลุกน้อยออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อช่วยคลายและเสริมสร้างกล้ามเนื้อหลัง เพื่อบรรเทาอาการปวดหลังอีกทางหนึ่ง

อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก!


ขอบคุณข้อมูลจาก : daily.khaosod.co.th , daily.khaosod.co.th www.xn--12cg1cxchd0a2gzc1c5d5a.net , www.bumrungrad.com

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up