ระวังลูกนั่งหลังโก่ง-ค่อม เสี่ยงพัฒนาการช้า!

event

ลูกน้อยหลังค่อม โก่ง

การนั่ง

  • นั่งไขว่ห้าง จะทำให้เกิดการกดทับน้ำหนักตัวลงที่ก้นข้างใดข้างหนึ่งเป็นผลให้กระดูกคดและโค้งงอ โดยเฉพาะ กระดูกสันหลังและบริเวณอุ้งเชิงกราน ทำให้มีอาการปวดคอและหลังตามมา
  • นั่งกอดอก จะทำให้กระดูกหลังช่วงบนสะบักและหัวไหล่ถูกยืดออก ผลก็คือหลังช่วงบนจะงองุ้มและกระดูก ช่วงคอยื่นไปข้างหน้า ซึ่งมีผลต่อการทำงานของเส้นประสาทที่ไปหล่อเลี้ยงที่แขน และอาจเป็นเหตุให้กล้ามเนื้อที่มืออ่อนแรงและเกิดอาการชา ทั้งนี้ หากกระดูกช่วงคอเกิดการผิดรูป ก็จะทำให้กล้ามเนื้อคอหดเกร็ง และส่งผลเสียต่อการทำงานของหลอดเลือดที่ไปหล่อเลี้ยงสมอง นำไปสู่อาการปวดศีรษะเรื้อรังหรือไมเกรนได้
  • นั่งหลังงอหรือหลังค่อม โดยเฉพาะในกรณีที่นั่งในท่าเดิมติดต่อกันเป็นเวลานาน เช่นการทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ จะทำให้กล้ามเนื้อเกร็งค้าง ซึ่งจะก่อให้เกิดการคั่งของกรดแลคติก ส่งผลให้เกิดอาการปวดเมื่อยที่บริเวณหัวไหล่ และสะโพก และอาจทำให้กระดูกผิดรูปอีกด้วย
  • นั่งบนเก้าอี้โดยไม่พิงพนักหรือนั่งไม่เต็มก้น การนั่งในลักษณะนี้ ทำให้ฐานในการรับน้ำหนักตัวน้อยกว่าที่ควรจะเป็น ส่งผลให้กล้ามเนื้อที่หลังทำงานหนักกว่าปกติ และเกิดเป็นผลเสียต่อกระดูกสันหลัง ทางที่ดีนั้น ควรนั่งเก้าอี้ให้เต็มก้น พร้อมเอนหลังไปที่พนักพิง เพื่อให้ร่างกายถ่ายน้ำหนักบางส่วนไปที่เก้าอี้ แทนที่จะทรงตัวด้วยกระดูกสันหลังเท่านั้น

ลูกน้อยหลังค่อม โก่ง

โดย รศ.นพ.วรวรรธน์ ลิ้มทองกุล อาจารย์ภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ความรู้การนั่งในท่าที่ถูกต้องว่า เด็กจะมีพัฒนาการการนั่งช่วงอายุ 6-9 เดือน โดยการนั่งจะสมบูรณ์ได้ต้องประกอบด้วยอวัยวะตั้งแต่ศีรษะ ลำตัว เชิงกราน สะโพก ขา และเข่า ส่วนที่สำคัญที่สุดคือกระดูกสันหลัง ซึ่งเป็นแหล่งรวมเส้นระบบประสาทที่ส่งผ่านมาจากสมองเพื่อสั่งการทั่วร่างกาย โดยไล่จากกระดูกช่วงคอจะรวมเส้นประสาทของมือและแขน กระดูกช่วงหลังจะรวมเส้นประสาทของเท้าและขา

Must read : แก้ไขท่านั่ง W เหตุสร้างปัญหาการเดินของลูกน้อย
Must read : พัฒนาการกล้ามเนื้อ เท้าและขา ตั้งแต่ลูกแรกเกิด จนกระโดดได้
Must read : เช็กพัฒนาการตามวัยของลูก! กับคู่มือสำหรับส่งเสริมพัฒนาการเด็กแรกเกิด -5 ปี

โดยแรกเกิดกระดูกสันหลังของเด็กจะโค้งเป็นรูปตัว C เหมือนท่าเด็กนอนคู้ในท้องแม่ และจะเริ่มมีโค้งแอ่นที่คอเมื่อเด็กเริ่มพลิกคว่ำชันคอที่อายุประมาณ 3 เดือน โดยอาจจะมีมือที่ยันพื้นช่วยในเบื้องต้น เป็นการเริ่มพัฒนาการแรก ต่อมาจะมีการนั่งทรงตัวได้เองที่ประมาณ 6 เดือน ซึ่งจะพัฒนาสู่ โค้งที่ 2 ตรงหลังส่วนเอว และพัฒนาต่อเนื่อง ด้วยการคลาน เกาะยืน และเดิน โดยถ้าเด็กสามารถนั่งเองได้โดยมีกล้ามเนื้อส่วนเอวและเชิงกรานที่มั่นคง จะส่งผลให้เกิดการพัฒนาทักษะการสื่อสาร และการเรียนรู้

แต่ถ้าเด็กมีการนั่งผิดท่าในระยะเวลานานๆ จะส่งผลให้กระดูกสันหลังมีลักษณะเป็นรูปตัว C หรือที่เรียกว่าหลังค่อมได้ นั้นอาจทำให้อวัยวะในส่วนอื่นๆ มีการพัฒนาที่ช้าตามไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นทั้ง มือและแขน เพราะเด็กจะต้องเอามือและแขนคอยค้ำและพยุงตัวเองให้นั่งหรือยืนขึ้นมา ทำให้ไม่สามารถใช้มือหยิบจับหรือเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้ดีเท่าที่ควร นั่นเอง

เพราะการที่เด็กมีหลังที่นั่งได้ตรงนั้น จะช่วยให้เด็กมีพัฒนาการที่ดี ตรงกันข้ามหากเด็กนั่งหลังโก่งก็จะก่อให้เกิดปัญหาทางพัฒนาการตามมา

ปัญหาทางพัฒนาการที่เกิดจากการนั่งหลังโก่งในห้องเรียน

  1. ลูกมีปัญหาด้านการเขียน และสหสัมพันธ์ระหว่างตากับมือ
  2. ทำให้ลอกจดการบ้านจากกระดานได้ไม่ครบ
  3. มีอาการปวดหลังและไหล่ รวมถึงแขนเนื่องจากการสั่งการกล้ามเนื้อยังสั่งแยกมัดไม่คล่อง
  4. มีปัญหาทางทักษะการเล่นกีฬา

อ่านต่อ >> วิธีการแก้ไขเมื่อ ลูกน้อยหลังค่อม โก่ง เพราะนั่งผิดท่า” คลิกหน้า 3

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up