เปลี่ยน ” จากติดสินบนลูก ” เป็น ” ทำข้อตกลง ” กันเถอะ

Alternative Textaccount_circle
event

วิธีง่ายๆ ใน การเปลี่ยนจากการหลอกล่อด้วยสินบนเป็นการต่อรองที่ดีมีอะไรบ้าง

เมื่อเปิดหาความหมายของคำว่า “ดื้อ” ในพจนานุกรม ตัวอย่าง “ดื้อ” ของเด็กวัยเรียนก็ช่วยให้กระจ่างตามระเบียบ จากการวิจัยของผศ.ดร.เด็บบี้ ไลเบิล จากสาขาวิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยลีไฮ ระบุว่า โดยเฉลี่ยแล้วเด็กวัย 3-5 ขวบมักโต้เถียงกับพ่อแม่ 20 ถึง 25 ครั้งในหนึ่งชั่วโมง จึงไม่น่าแปลกใจที่ผู้ใหญ่อย่างเราจะใช้วิธีติดสินบนเพื่อให้เด็กๆ หยุดดื้อ (ชั่วครู่ก็ยังดี) และยอมทำตามที่คุณต้องการ เช่น “ถ้าลูกนั่งนิ่งๆ แม่จะให้กินคุกกี้”

ดร.ไลเบิลอธิบายเพิ่มเติมว่า อันที่จริงแล้วการต่อรองเป็นวิธีที่ดีที่พ่อแม่ทำได้ แต่พ่อแม่ก็มักจะเผลอล้ำเส้นไปเป็นการติดสินบนได้ง่ายๆ ความแตกต่างระหว่างสองอย่างนี้คือ การติดสินบนมักจะเป็นเรื่องใหญ่และทำให้เด็กเกิดความคาดหวังสูงกว่าปกติ อย่างเช่น การได้กินไอศกรีมซันเดย์แลกกับการจัดเก็บของเล่น (แทนที่จะเป็นคุ้กกี้พี่หมีแค่สองสามชิ้น) การติดสินบนมักจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกิจวัตรประจำวัน ซึ่งตรงข้ามกันกับการต่อรองที่ยังคงตั้งอยู่บนกิจวัตรประจำที่ครอบครัวทำเพียงแต่เพิ่มหรือลดระยะเวลาทำสิ่งต่างๆ หรือปริมาณสิ่งของที่ได้

บทความแนะนำ คลิก >> 10 วิธีรับมือลูกดื้อตามแบบฉบับคุณแม่ยุคใหม่!

การติดสินบนบ่อยๆ จะนำมาสู่ปัญหาใหญ่ 2 ข้อ ข้อแรก ลูกจะมีแต่ของรางวัลเป็นแรงกระตุ้นเพียงอย่างเดียวในการทำสิ่งดี ทำสิ่งที่ควรทำและไม่ทำสิ่งที่ไม่ควรทำ โดยไม่รู้จักการทำดีเพื่อให้พ่อแม่มีความสุขหรือแม้แต่ทำดีเพื่อตัวเอง ข้อสองลูกจะคาดหวังได้สิ่งของเป็นรางวัลตอบแทนทุกการกระทำของเขา

รู้อย่างนี้แล้ว คุณจะไม่อยากเปลี่ยนการติดสินบนเป็นต่อรองหรือ การเปลี่ยนก็มีหลักง่ายๆ คือ

  • ก่อนจะต่อรองคุณต้องแน่ใจว่าสามารถอธิบายเหตุผลที่คุณต้องการให้ลูกทำหรือไม่ทำสิ่งต่างๆ ได้ และเมื่อยื่นข้อเสนอต่อรองให้รักษาระดับข้อเสนอให้ต่ำเข้าไว้
  • ทำให้ได้ต่อเนื่อง 2-3 สัปดาห์ ลูกๆ ก็จะเริ่มเข้าใจว่าต่อรองเป็นอย่างไร และค่อยๆ ปรับความเข้าใจเสียใหม่

แล้วถ้าถามว่าพ่อแม่จะให้รางวัลกับลูกบ้างได้ไหม ตอบเลยว่าได้ค่ะ แต่ต้องไม่เป็นการให้รางวัลลูกแบบพร่ำเพรื่อกันนะคะ เพราะถ้าเป็นแบบนั้นก็จะกลายเป็นไปกระตุ้นให้ลูกเกิดความเคยตัว ว่าทุกครั้งถ้าเขาจะทำอะไรให้พ่อแม่ หรือคนอื่นๆ เขาจะต้องได้ของตอบแทน ซึ่งนั่นไม่ใช่เรื่องดีกับตัวเด็กอย่างมากเลยละค่ะ

อ่านต่อ ผลลัพธ์จากการให้รางวัลลูก หน้า 3

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up