วัย 3-5 ยึดโยงตนเองสู่การเป็นส่วนหนึ่งของสังคม

Alternative Textaccount_circle
event

“โลกใบนี้เป็นของหนูหรือของใคร”

วัย 3-5 จากการยึดโยงตนเองพัฒนาสู่การเป็นส่วนหนึ่งของสังคม

ลูกน้อยในวัยนี้เริ่มแรกมักมีลักษณะของการยึดโยงตนเองเป็นศูนย์กลาง คือยึดถือความต้องการของตนเป็นที่ตั้ง หรือเห็นความสำคัญของตนเองก่อนใครๆ เด็กอาจแสดงออกด้วยการเล่นคนเดียว ไม่แบ่งปันของเล่นกับเพื่อน หรือร้องไห้งอแงเมื่อครูไม่ยอมให้เขาทำอย่างที่ต้องการ

 
หากดูจากพฤติกรรมเหมือนเป็นเด็กที่ดื้อดึงและเห็นแก่ตัว แต่แท้ที่จริงแล้วนี่เป็นพฤติกรรมปกติที่เกิดขึ้นได้กับเด็กทุกคน เพราะเด็กแต่ละคนเติบโตมาในครอบครัวที่มีคุณพ่อคุณแม่ทุ่มเทความรักความสนใจให้เขา ลูกน้อยจึงเกิดความเข้าใจว่าตนเป็นศูนย์กลางของครอบครัว รวมทั้งเป็นศูนย์กลางของสังคมภายนอกด้วย คุณแม่จึงไม่ควรโมโหหรือดุด่าว่ากล่าวลูกรุนแรงหากลูกมีพฤติกรรมดังที่กล่าวมาข้างต้น แต่ควรอธิบายให้ลูกฟังด้วยเหตุผลซึ่งพฤติกรรมที่แสดงถึงการยึดโยงตนเองเป็นศูนย์กลางนี้จะค่อยๆ ลดน้อยลง

 
เมื่อลูกน้อยเข้าโรงเรียน เพราะโรงเรียนเปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้กฎกติกาของสังคม เพื่อให้สามารถเล่นและอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข อีกทั้งครูที่โรงเรียนยังต้องดูแลเอาใจใส่เด็กมากมายหลายคน ไม่ใช่ลูกน้อยเพียงคนเดียว ซึ่งลูกจะเห็นและเรียนรู้ไปเองโดยอัตโนมัติว่าเขาไม่ใช่ศูนย์กลางเมื่ออยู่ในสังคมภายนอก

 

บทความโดย: กองบรรณาธิการนิตยสารเรียล พาเรนติ้ง 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up