ลูกชายชอบพูดคำหยาบ

ทำอย่างไรเมื่อ ลูกชายชอบพูดคำหยาบ

Alternative Textaccount_circle
event
ลูกชายชอบพูดคำหยาบ
ลูกชายชอบพูดคำหยาบ

 

ทำไม ลูกชายชอบพูดคำหยาบ ?

  • ลูกได้ยินจากคุณพ่อคุณแม่ หลายคนชอบที่จะคิดว่า การที่ ลูกชายชอบพูดคำหยาบ นั้นเป็นเพราะได้ยินได้ฟังมาจากที่โรงเรียนก็เลยมักที่จะโทษเด็กคนอื่น ๆ รวมถึงครูว่า ไม่ยอมดูแลเด็กนักเรียนให้ดี ปล่อยให้เด็ก ๆ พูดแบบนี้ได้อย่างไร แต่!! กลับไม่มองดูว่าตัวของเราเอง เคยพูดให้ลูกได้ยินบ้างหรือไม่?! ถ้าหากลองมานั่งนึกดี ๆ คำบางคำที่ลูกพูดนั้น อาจเป็นคำที่เราเคยพูดให้ลูกได้ยินมาก่อน ไม่ว่าจะเป็นการตั้งใจหรือไม่ก็ตาม ยกตัวอย่างเช่น พูดขณะขับรถ พูดกับเพื่อน หรือสบถโดยไม่รู้ตัว แบบนี้เป็นต้น ซึ่งลูกก็ซึมซับคำพูดและพฤติกรรมก้าวร้าวบางอย่าง และแสดงออกมา โดยที่บ่อยครั้ง ที่ลูกเองก็ไม่รู้หลอกว่า คำที่เขาพูดออกไปนั้น มีความหมายว่าอย่างไร จึงไม่แปลกที่ลูกจะเอามาพูด
  • ที่โรงเรียน อาจจะลองถามลูกว่า มีเพื่อนคนไหนชอบพูดจาไม่เพราะ หรือชอบพูดคำเหล่านี้บ่อย ๆ บ้างหรือไม่ โดยน้ำเสียงที่คุณพ่อคุณแม่ถามลูกนั้น ควรเป็นน้ำเสียงที่นุ่มนวล ชักชวนลูกคุยในแนวสบาย ๆ มากกว่าการเรียกถามด้วยน้ำเสียงที่ดุดัน มิเช่นนั้น ลูกก็จะเกิดความรู้สึกกลัว แล้วก็ไม่กล้าที่จะบอกความจริงกับเราได้
  • ทีวี หรือสื่อโซเชียลต่าง ๆ หากเป็นเช่นนั้น คุณพ่อคุณแม่จะต้องพิจารณาแล้วละค่ะว่า ยังสมควรให้ลูกดูรายการเหล่านั้นต่อไปหรือไม่ เพราะเด็ก ๆ เขาไม่รู้หรอกค่ะว่า คำพูดที่มีอยู่ในละคร สื่อโฆษณาต่าง ๆ นั้นเป็นสิ่งที่ดีหรือไม่ดี เพราะไม่มีใครแนะนำ พวกเขาก็จะลอกคำพูดหรือพฤติกรรมเหล่านั้นมาแสดงออกกับคนอื่น ๆ

เริ่มต้นอย่างไร?

หลังจากที่ได้ยินลูกพูดนั้น การที่จะเรียกลูกมากลาวตักเตือนนั้น มีข้อพึงระวังประการที่หนึ่ง คือ จะต้องไม่ว่ากล่าวลูกต่อหน้าเพื่อนของลูก หรือคนอื่น ๆ  ถึงแม้ลูกจะเป็นเด็กเล็ก พวกเขาก็มีความรู้สึกอับอายได้เช่นกัน แน่นอนค่ะ เวลาที่ได้ยินคุณแม่ก็จะรู้สึกโกรธไม่พอใจ แล้วก็มักจะมักเผลอดุลูกก่อนเป็นอันดับแรกว่า “ทำไมพูดแบบนั้น” แต่คำถามของคุณพ่อคุณแม่เช่นนี้ไม่ได้เป้นการช่วยแก้ปัญหาแต่อย่างใดค่ะ ลูกจะยังคิดไม่ได้จึงทำให้ไม่ได้ผลเท่าไรนัก

สิ่งสำคัญคือ จะต้องทำให้ลูกคิดได้ด้วยตัวของเขาเองว่า “จะไม่พูดแบบนั้นอีกเด็ดขาด” และเพื่อให้ลูกคิดได้เช่นนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรตักเตือนลูกโดยให้คุณพ่ออยู่ใน “ระดับเดียวกัน” กับลูก เช่น คุณพ่อเองก็ทบทวนดูตัวเอง แล้วบอกกับลูกว่า “บางครั้งพ่อเองก็เผลอว่าลูกว่า “ไอ้โง่” เหมือนกัน เวลาที่พ่อว่าลูกแบบนั้น ลูกเองก็คงเสียใจมากใช่ไหม พ่อขอโทษนะ” “ถึงแม้ว่า พ่อกับลูกจะโกรธโมโหกันขนาดไหนก็ตาม เรามาพยายามอย่าใช้คำพูดที่ทำร้ายจิตใจกันเลยนะ” เป็นต้น

เด็กในวัยชั้นประถมศึกษา เป็นวัยที่เรียนรู้ถึงการเข้าสังคม หากเด็กมีความคิดที่จะเอาใจเขามาใส่ใจเรา มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีความเข้าใจว่าคำพูดอาจทำร้ายจิตใจของผู้อื่นได้ ก็จะเป็นสิ่งที่ประเสริฐที่สุด จากความหมายดังกล่าว เหตุการณ์ครั้งนี้ จึงไม่ใช่เป็นเรื่องที่ “ไม่ดี” นะคะ แต่กลับเป็นโอกาสดีที่ลูกจะได้เรียนรู้วิธีการสร้างมิตรภาพ วิธีการใช้ชีวิตในสังคมที่ถูกต้อง ในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างคุณพ่อคุณแม่กับคุณลูก

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up