ลูกมีขี้ตา

หมอแนะ! ลูกมีขี้ตา ตาแฉะ เป็นเพราะสิ่งนี้

Alternative Textaccount_circle
event
ลูกมีขี้ตา
ลูกมีขี้ตา

ร่วมไขข้อสงสัยคุณแม่มือใหม่ ลูกมีขี้ตา เยอะเกรอะกรัง เป็นเพราะอะไรกันแน่?

คุณพ่อคุณแม่มือใหม่หลาย ๆ ท่านต้องเกิดความรู้สึกสงสัยเป็นแน่ว่าทำไม เด็กตัวเล็ก ๆ แค่นี้ ถึงมีขี้ตาเยอะ หรือตาแฉะได้มากใช่ไหมละคะ จะเป็นเพราะลูกร้อนในแบบโบราณว่าหรือเปล่า วันนี้ Amarin Baby and Kids จะมาขอนำเสนอบทความจากคุณหมอชื่อดังอย่าง คุณหมอสุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ กุมารแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านทารกแรกเกิด รับรองว่า หลังจากที่คุณพ่อคุณแม่ได้อ่านจะเกิดความเข้าใจ และสามารถหาวิธีป้องกันได้แน่นอนค่ะ

 “ลูกมีขี้ตา ขี้ตาเยอะ” ที่ว่านี้คืออะไรกันแน่?

ขี้ตาเยอะ คือ อาการที่มีขี้ตาสะสมอยู่ตรงหัวตาหรือเปลือกตาปริมาณมาก ซึ่งเกิดจากการสะสมของเมือกในตา เซลล์ผิวหนัง น้ำมัน และฝุ่นผงต่าง ๆ บริเวณหัวตาที่มักเกิดในขณะนอนหลับ และทำให้ตื่นขึ้นมาพบว่ามีขี้ตาเยอะในตอนเช้า โดยอาการดังกล่าวอาจเป็นเรื่องปกติ อย่างไรก็ตาม หากมีขี้ตาปริมาณมากอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานหลายวันก็อาจเป็นสัญญาณการบาดเจ็บหรือติดเชื้อที่ดวงตาได้ โดยเฉพาะหากขี้ตาเยอะร่วมกับมีอาการอื่น ๆ เช่น คันตา เจ็บตา ตาไวต่อแสง เป็นต้น

เครดิต: Pobpad

ลูกมีขี้ตา เกิดจากอะไร?

ขี้ตานั้น เกิดจากสาเหตุหลัก ๆ ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ดังนี้

  • แบบติดเชื้อ
  • ไม่ได้ติดเชื้อ

สำหรับแบบคือ “แบบติดเชื้อ” ที่ว่านี้ อาจเป็นการติดเชื้อที่ตาโดยตรง ส่วนใหญ่เกิดจากไวรัสหรือแบคทีเรีย มักมีอาการตาแดง อาจมีอาการหนังตาบวม ระคายเคืองตา หรือปวดตาร่วมด้วย

การรักษาคือ ใช้ยาหยอดตาและปิดตาเพื่อป้องกันการระคายเคืองจากฝุ่นหรือลม รวมทั้งลดโอกาสแพร่กระจายเชื้อ อย่าลืมล้างมือบ่อยๆ ทั้งผู้ป่วยและพ่อแม่ที่สัมผัสกับตาของลูก ไม่ใช้ผ้าเช็ดหน้าหรือผ้าเช็ดตัวร่วมกัน และต้องเปลี่ยนผ้าปูที่นอนหรือปลอกหมอนที่อาจมีเชื้อโรคเปื้อน

ในกรณีที่เป็นหวัด อาจมีเชื้อจากโพรงจมูกขึ้นมาที่ตาตามท่อน้ำตาที่เชื่อมต่อระหว่างกัน หรือเป็นเพราะภาวะท่อน้ำตาอุดตัน เนื่องจากเยื่อบุโพรงจมูกบวม ทำให้น้ำตาไหลลงมาได้ไม่สะดวก กลายเป็นขี้ตาในที่สุด (เด็กบางคนเป็นหวัดแล้วมักมีขี้ตาร่วมด้วยเสมอ โดยเป็นเด็กที่มีท่อน้ำตาค่อนข้างแคบอยู่แล้ว เมื่อเยื่อบุโพรงจมูกบวมจึงอุดตันได้ง่าย มักมีประวัติขี้ตาเยอะในช่วง 2 – 3 เดือนแรกคลอด) ดังนั้น หากเกิดจากการเป็นหวัดนำมาก่อน ลูกจะมีน้ำมูก คัดจมูก หรือไอร่วมด้วยหากเป็นเช่นนั้นละก็ การดูแลรักษานั้นสามารถทำได้โดย การทำความสะอาดตาด้วยสำลีน้ำอุ่นหรือน้ำเกลือ 0.9% NSS หรือล้างตาด้วยน้ำเกลือ และใช้ยาแก้หวัดเพื่อลดอาการเยื่อบุโพรงจมูกบวม

หากเป็นการติดเชื้อแบคทีเรีย การใช้ยาปฏิชีวนะจะช่วยกำจัดเชื้อที่จมูกและที่ตาได้ โดยอาจใช้หรือไม่จำเป็นต้องใช้ยาหยอดตาร่วมด้วย (เพราะการหยอดตาเด็กๆ มักทำได้ไม่ง่าย)

สำหรับกรณีที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ ที่พบบ่อยคือ อาการระคายเคืองจากสารก่อภูมิแพ้ เช่น ฝุ่น (เช่น อาจมีก่อสร้างอยู่ใกล้บ้าน ช่วงนี้ลูกเล่นทรายหรือแป้ง) ไรฝุ่น ละอองเกสร ขนหมา ขนแมว บางคนเอาเครื่องสำอางมาแต่งหน้าให้ลูกก็อาจทำให้แพ้ได้เช่นกัน วิธีการรักษาคือ หลีกเลี่ยงสิ่งที่แพ้และใช้ยาหยอดตาสำหรับแก้แพ้ เป็นต้น

บทความโดย: แพทย์หญิงสุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ กุมารแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านทารกแรกเกิด

ลูกมีขี้ตาแฉะ

วิธีการดูแลดวงตาทารก

อยากให้ลูกน้อยมีดวงตาที่ดี มองเห็นสิ่งต่าง ๆ รอบตัวได้นั้นไม่ยากค่ะ หากแต่เพียงคุณพ่อคุณแม่รู้จักวิธีการดูแลดวงตาของลูกน้อย ดังนี้

  • หมั่นสังเกตดวงตาของลูก ดูสิว่า ดวงตาของลูกเรานั้นมีปัญหาอะไรหรือไม่ ยกตัวอย่างเช่น ตาดำดูผิดปกติ ตาลูกเหล่หรือหนังตาข้างใดข้างหนึ่งตกลงหรือไม่ ถ้าเป็นเช่นนั้นคุณแม่ควรปรึกษาขอคำแนะนำจากคุณหมอ หรือพาลูกไปพบจักษุแพทย์โดยตรง เพื่อตรวจหาสาเหตุ ป้องกันและแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นทันที
  • ดูแลดวงตาลูกน้อยให้ถูกวิธี เนื่องจากดวงตาของลูกมีเนื้อเยื่อที่บอบบาง จึงง่ายต่อการติดเชื้อ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จะต้องระวังในการใช้ยากับเด็กเล็กเป็นอย่างมาก และไม่ควรหาซื้อยามาใช้เองเด็ดขาด
  • ระวังสถานที่ ๆ พาลูกไป พยายามหลีกเลี่ยงพาลูกไปยังสถานที่ที่อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุกับดวงยา ยกตัวอย่างเช่น ที่ ๆ มีฝุ่นควันเยอะ ๆ ลมแรง แสงแดดจ้า รวมไปถึงไม่ทำการล้วงแคะ แกะเกา หรือทำอะไรกับดวงตาของลูกโดยเด็ดขาด
  • พาลูกไปเปิดโลกกว้าง การเสริมพัฒนาการทางด้านการมองเห็นให้กับลูกนั้น ทำได้ไม่ยากเลยละค่ะคุณพ่อคุณแม่ เพียงแต่ใช้กิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันของเรานี่ละค่ะ เป็นครูผู้สอน ยกตัวอย่างเช่น ชี้นกให้ลูกดู พร้อมบอกกับลูกว่า นี่คือนกนะลูก และทุก ๆ ครั้งที่ลูกเห็น ลูกก็จะมองตามพร้อมกับชี้และพยายามจะสื่อสารให้คุณพ่อคุณแม่เข้าใจว่า นั่นคือ นก ตามแบบที่คุณแม่สอนไงละจ้ะ
  • กระตุ้นสายตาของลูกด้วยการหาวัตถุที่สามารถแกว่งไปมา หรือพวกโมบายมาห้อยไว้บนที่ ๆ ลูกสามารถเห็นได้ ถ้าดวงตาของลูกไม่เป็นอะไร แน่นอนว่า ลูกจะสามารถมองสิ่งของที่แกว่งไปมาพร้อมกับแสดงปฏิกิริยาต่าง ๆ ตอบโต้ได้ แต่ถ้าหากมองแล้วไม่มีปฏิกิริยาใด ๆ ให้สังเกตไว้ก่อนเลยค่ะว่า ลูกของเราอาจจะมีความผดปกติเกิดขึ้น ก็เป็นได้ (อ่านต่อ นี่คือสายตาของเด็กทารกที่มองเห็นพ่อแม่ในแต่ละเดือน จนถึงอายุ 1 ขวบ)
)อ้างอิงเนื้อหา: Gottoknow

อ่านต่อเรื่องอื่นที่น่าสนใจ:

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up