สุขภาพจิตของพ่อ พัฒนาการลูก พัฒนาการเด็ก

ผลวิจัยชี้ “สุขภาพจิตของพ่อ” ส่งผลต่อพัฒนาการลูก

Alternative Textaccount_circle
event
สุขภาพจิตของพ่อ พัฒนาการลูก พัฒนาการเด็ก
สุขภาพจิตของพ่อ พัฒนาการลูก พัฒนาการเด็ก

“สุขภาพจิต” และ “ระดับความเครียด” ของทั้งพ่อและแม่ ส่งผลต่อลูก

ผลวิจัยล่าสุดของมหาวิทยาลัยแห่งรัฐมิชิแกนแสดงให้เห็นว่าความรักและการสนับสนุนจากพ่อ หรือการขาดหายไปของสองสิ่งนี้จากพ่อ จะส่งผลอย่างเห็นได้ชัดต่อพัฒนาการทางสติปัญญา ทักษะสังคม และพัฒนาการทางภาษาตั้งแต่วัยเตาะแตะถึงชั้นประถม 5

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความเครียดที่เกิดจากการเลี้ยงลูกและสุขภาพจิตของพ่อจะส่งผลเสียต่อพัฒนาการทางสติปัญญาและภาษาของลูกในช่วง 2-3 ขวบ แม้จะมีอิทธิพลด้านดีจากแม่มาเสริมก็ตาม และอิทธิพลจากพ่อก็จะส่งผลต่อพัฒนาการทางภาษาของลูกชายมากกว่าลูกสาวด้วย

นักวิจัยยังอยากให้เน้นความสำคัญของสวัสดิการของพ่อแม่ให้เท่าเทียมกันด้วย ผศ.แคลร์ วาลลอตตอน หนึ่งในนักวิจัยหลักของโครงการวิจัยนี้กล่าวว่า “งานวิจัยนี้ก่อให้เกิดความคิดที่ต่างไปจากงานวิจัยที่ผ่านมาว่าพ่อไม่ส่งผลโดยตรงต่อลูกๆ พ่อแค่สร้างบรรยากาศในบ้าน แม่ต่างหากที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการของลูก แต่เราได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าพ่อมีอิทธิพลโดยตรงต่อลูกจริงๆ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว”

สุขภาพจิตของพ่อ พัฒนาการลูก พัฒนาการเด็ก

ผลวิจัยนี้ยังเป็นการเพิ่มหลักฐานที่ยืนยันถึงผลกระทบของคุณลักษณะของพ่อและความสัมพันธ์ระหว่างพ่อลูกที่มีผลต่อพัฒนาการของลูกๆ ด้วย ผลจากสองสิ่งนี้มีผลกับลูกเสมอไม่ว่าพ่อจะอยู่บ้านเดียวกับลูกหรืออยู่กับลูกทุกวันหรือไม่ก็ตาม

มีงานวิจัย 2 ชิ้นที่มีการศึกษาบทบาทสำคัญของพ่อที่มีต่อพัฒนาการลูก อ่านเพิ่มเติม (ภาษาอังกฤษ) ได้ที่

  1. เมื่อพ่อเป็นมากกว่าผู้หาเลี้ยงครอบครัว: ผลกระทบของความเครียดในการเลี้ยงลูกของพ่อต่อพัฒนาการทางภาษาและสติปัญญาของลูก ในวารสาร Infant and Child Development
  2. ปัญหาพฤติกรรมเด็ก: สุขภาพจิตพ่อแม่มีผลทั้งวันนี้และวันหน้า ในวารสาร Early Childhood Research Quarterly

การค้นพบที่สำคัญอีกจุดหนึ่งของงานวิจัยทั้งสองนี้ยังรวมไปถึงการพบว่า สุขภาพจิตของพ่อและแม่ส่งผลกระทบคล้ายๆ กันต่อปัญหาพฤติกรรมของเด็กวัยเตาะแตะ และสุขภาพจิตของพ่อส่งผลระยะยาวต่อทักษะสังคมของลูก (เช่น การควบคุมตัวเอง และการให้ความร่วมมือ) เมื่อลูกอยู่ชั้นประถม 5 นอกจากนี้ หากพ่อแสดงอาการซึมเศร้าเมื่อลูกอยู่ในวัยเตาะแตะจะส่งผลเสียต่อทักษะสังคมของลูกในอนาคตมากกว่าอาการซึมเศร้าของแม่ด้วย

อ่านต่อ “เราควรทบทวนบทบาทของพ่อในครอบครัวกันใหม่อย่างไร?” คลิกหน้า 3

banner300x250-1

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up