ติดทีวี

“ทีวี” แหล่งรวมความรุนแรง..เลี้ยงลูกอย่างไรไม่ให้ “ติดทีวี”

Alternative Textaccount_circle
event
ติดทีวี
ติดทีวี

แนวทางทำให้ลูก “ไม่ติดทีวี”

เพื่อการเลี้ยงลูกอย่างเข้าใจและออกแบบได้ วันนี้จึงมีข้อเสนอแนะบางประการมาฝากคุณพ่อคุณแม่ครับ…

1. ไม่เลี้ยงลูกหน้าจอทีวีตั้งแต่แบเบาะ

ทุกวันนี้กลายเป็นเรื่อง “ธรรมดา” แล้วละครับ ที่ผู้ใหญ่เปิดทีวีไปด้วย ป้อนข้าวป้อนนมทารกที่จ้องจอตาแป๋วกระทั่งหลับตานอนพร้อมกับเสียงด่าทอตบตี เสียงปืน เสียงระเบิดที่ยังคงดังระงมจากรายการต่างๆ ในทีวี

ในโลกนี้มีงานวิจัยใหม่ๆ มากมายที่ยังคงออกมาในแนวเดียวกับงานวิจัยมากมายตั้งแต่ปี 1950 เช่นเดียวกับในปี 1972 ผลงานของ Parke และคณะซึ่งสรุปว่าการปล่อยให้เด็กๆ ดูหนัง หรือรายการทีวีที่มีเนื้อหารุนแรงซ้ำๆ บ่อยๆ พวกเขาจะมีพฤติกรรมก้าวร้าวสูงขึ้น (นั่นรวมถึงก่อให้เกิดความหวาดกลัว เศร้าหดหู่ หรือกระตุ้นให้เกิดความโกรธด้วย) สมาคมกุมารแพทย์สหรัฐอเมริกาให้ข้อมูลว่าสถานการณ์เด็กอเมริกันหนักหนาสาหัส โดยเฉลี่ยเด็กเมื่อโตมาถึงอายุ 18 ปีแล้วจะเคยเห็นการกระทำที่รุนแรงจากทีวีมากว่า 200,000 ครั้งและเห็นการฆ่ากันตายจากทีวีมา 16,000 ครั้ง มีข้อสรุปในเรื่องนี้ชัดเจนว่ารายการทีวีที่โชว์ความรุนแรงให้เด็กเห็นจะ desensitization เด็ก หรือคือ ทำให้เด็กชาชินกับความรุนแรง วันหนึ่งเขาก็จะกระทำโดยไม่เห็นรู้สึกว่าแปลกอะไร

ลูกติดทีวี
ปล่อยให้ลูกติดทีวี มีพฤติกรรมที่ก้าวร้าวสูงขึ้น

ไหนๆ จะพูดเรื่องนี้กันแล้วก็อดไม่ได้ที่จะแสดงความห่วงใยอย่างยิ่ง ที่คุณพ่อคุณแม่หลายๆ บ้านยังปล่อยให้เด็กนั่งดูละครที่เต็มไปด้วยความรุนแรง (โดยมากก็คือละครไทยที่เรียกกันว่าแนวน้ำเน่า) อันเต็มไปด้วยฉากตบ-จูบ ตบ-จูบ อวดสมบัติบ้า-ด่าทอหยาบคาย-อิจฉานินทาว่าร้าย-มากรักหลายชู้ ฯลฯ…ล้วนไม่จรรโลงใจ และเป็นภัยต่อเด็กๆ อย่างยิ่ง แต่นับว่าเด็กยุคนี้ยังโชคดี ที่การ์ตูนแนว “ทำร้ายร่างกาย” (ทอมกับเจอรี่, ป็อบอายกับบลูตัส และอื่นๆ ที่ทุบตีกันแทบตลอดเรื่อง) ปัจจุบันนี้เลือนหายไปจากหน้าจอทีวี หาดูได้ยากขึ้นแล้ว ที่ยังอยู่ยั้งยืนยง ก็คือ บรรดาฮีโร่แมนพันธุ์โหดที่ถล่มกันด้วยสารพัดอาวุธไฮเทค ทั้งสายพันธุ์ญี่ปุ่น หรือฝรั่ง ที่ยังคงกระตุ้นให้เด็กๆ เลียนแบบความก้าวร้าวบนหน้าจอทีวี ซึ่งยากที่เด็กอายุก่อน 8 ปีจะแยกแยะได้ระหว่างจินตนาการกับความเป็นจริง

banner300x250-1

2. ผู้ใหญ่ดูทีวีกับเด็กด้วยและจริงจังกับสัญลักษณ์เรตติ้งก่อนเข้ารายการ

กดรีโมท เปลี่ยนช่อง เปลี่ยนรายการถ้าพบว่าไม่เหมาะสมกับอายุเด็กโดยทันที แล้วเลือกสรรรายการที่ดีต่อลูกๆ ของเรา แต่หากไม่ทันแล้ว เพราะลูกได้ดูกันไปแล้วแบบจัดหนักจัดเต็ม ก็ควรค่อยๆ อธิบายให้ลูกฟังว่า ฮีโร่ที่เหาะได้นั่นเป็นเรื่องไม่จริงที่คนวาดการ์ตูน หรือคนสร้างหนังทำให้คนดูสนุกๆ…ความจริงคือนกบินได้ เหาะได้เพราะมีปีก แต่คนไม่มีปีกบินไม่ได้  ถ้ากระโดดเหาะลงมาจากที่สูงก็จะตกลงมากระแทกพื้น พูดแล้วลองปล่อยของตกกระแทกพื้นให้ดู และบอกว่านี่เด็กๆ..ที่ตกลงมาจะต้องเจ็บมากเลย

อ่านต่อ “แนวทางทำให้ลูกไม่ติดทีวี” คลิกหน้า 3

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up