เรียนแบบไหน? ส่งเสริมให้ลูกน้อยเก่งรอบด้าน

Alternative Textaccount_circle
event

5.Active Learning

หลักสูตรพัฒนาสมอง

การสอนแบบนี้พบได้ในโรงเรียนอนุบาลหลักสูตรบูรณาการต่างๆ หัวใจหลักของ Active Learning คือเน้นให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง ไม่ใช่นั่งเรียนเขียนอ่านอยู่แต่ที่โต๊ะตัวเองเท่านั้น ซึ่งการให้เด็กได้ลงมือปฏิบัตินั้น สมองส่วนหน้าของเด็กจะทำงานอย่างเต็มที่ เป็นการเรียนรู้เพื่อให้ได้ประสบการณ์ตรง และเก็บไว้เป็นคลังข้อมูลเพื่อนำมาใช้ในอนาคต

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

พัฒนาสมองง่ายๆ หนูทำได้ตามวัย

สมองของมนุษย์พัฒนาตั้งแต่วัยเด็ก สังเกตง่ายๆ เวลาที่คุณพ่อคุณแม่เล่นกับลูก 6 เดือน  หากเราเอาผ้าคลุมของเล่นไว้ เขาจะเข้าใจว่าของเล่นชิ้นนั้นหายไป จึงเปลี่ยนไปเล่นอย่างอื่น จนเมื่อลูกอายุ 7-9 เดือน  เขาจึงจะเริ่มเปิดหาของเล่นที่ซ่อนไว้ใต้ผ้า หมายความว่าสมองส่วนหน้าของเขาได้เกิดการพัฒนาขึ้นแล้ว  จึงทราบได้ว่าวัตถุไม่ได้หายไปไหน เมื่อเด็กอายุมากกว่า 1 ขวบ สมองส่วนหน้าของเขาก็จะพัฒนามากขึ้นอีก โดยสังเกตจากการทดลองเมื่อเรามีผ้าคลุม 2 ผืน แต่มีของเล่นซ่อนอยู่ใต้ผ้าคลุมเพียงผืนเดียวเท่านั้น  หากเป็นช่วงก่อน 1 ขวบ เด็กจะเปิดหาแต่ผ่าคลุมผืนเดิมซ้ำๆ แม้ใต้ผ้าคลุมผืนนั้นจะไม่มีของเล่นซ่อนอยู่ก็ตาม จนกระทั่งเขาอายุมากกว่า 1 ขวบ จึงจะรู้จักเปิดหาผ้าคลุมทั้งสองผืน ซึ่งการจะทำเช่นนี้ได้ต้องเกิดจากการใช้ทักษะหลายๆ ด้าน  เช่น เกิดการเรียนรู้และจดจำว่าของเล่นไม่ได้ซ่อนอยู่ตำแหน่งเดิม (Working Memory) จากที่มุ่งมั่นจะหาของเล่นที่ผ้าคลุมผืนแรกจึงต้องหยุดความคิดเดิม (Inhibit) และเปลี่ยนไปหาที่ผ้าคลุมผืนใหม่ (Shift) แม้จะเป็นการใช้ทักษะ EF อย่างง่ายๆ แต่ก็เป็นสัญญาณว่า สมองส่วนหน้าของลูกน้อยเริ่มมีพัฒนาการตั้งแต่ยังเล็ก และควรมีพัฒนาการต่อเนื่องอย่างเหมาะสมตามวัย ดังนี้

หลักสูตรพัฒนาสมอง

1 ขวบ: ความจำจะพัฒนาไปเรื่อยๆ เริ่มจากจดจำของเล่นของตัวเองได้ ทำให้รู้จักหาเมื่อของเล่นหายไป และมีความสามารถในการจดจำคนในครอบครัว จึงแยกแยะคนในครอบครัวออกจากคนแปลกหน้าได้

3 ขวบ: ยับยั้งตัวเองโดยไม่ต้องมีใครสั่ง เด็กควรรู้พื้นฐานว่า สิ่งใดควรทำ ไม่ควรทำ แม้อยากวิ่งเล่น แต่เป็นเวลาอาหาร เขาควรหยุดความอยากของตัวเอง นั่งลงกินข้าวจนเสร็จได้ หรือสามารถหยุดอารมณ์โกรธ

4 ขวบ: เมื่อเด็กหยุดความคิดได้แล้ว เขาจะสามารถเปลี่ยนความคิดได้ นำไปสู่การใช้ความคิดสร้างสรรค์ การปรับตัวเข้ากับสิ่งใหม่ เช่น เมื่อเด็กเลิกคิดว่าปากกาใช้เขียน เขาจะสามารถคิดสร้างสรรค์ได้ว่าปากกาจะนำไปใช้สร้างสรรค์สิ่งใดได้อีกบ้าง

5 ขวบ: มีความสามารถในการควบคุมอารมณ์ เช่น เมื่อโกรธเพื่อนต้องไม่ทำร้ายเพื่อน เมื่อเศร้าเสียใจก็ร้องไห้ไม่นาน สามารถคืนสู่สภาวะอารมณ์ปกติได้อย่างรวดเร็ว และวางแผนในเรื่องง่ายๆ ได้

6 ขวบขึ้นไป: มีการคิดริเริ่ม การประเมินตนเอง การจัดการข้าวของ ทั้งหมดนี้จะทำให้เด็กมุ่งมั่นลงมือทำตามแผนที่วางไว้ รู้จักประเมินความสามารถของตนเอง เพื่อให้เกิดการแก้ไขปรับปรุงให้ดียิ่งๆ ขึ้นไป

อ่านต่อ บทความน่าสนใจ

6 เคล็ดลับทำง่าย สร้างเสริมสมองลูกเล็กฉลาดอย่างได้ผล

เทคนิคกระตุ้นสมองลูกให้ฉลาดอย่างถูกวิธี

 


นิตยสาร Amarin Baby & Kids ฉบับเดือนกันยายน 2559

Save

Save

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up