ลูกเล่นผ้าอ้อมใช้แล้ว

Alternative Textaccount_circle
event

ซึ่งอาจจะใช้เวลาสัก 2-3 วัน หรือเลยเถิดไปถึง 2 – 3 เดือน ลูกจึงจะหมดความสนใจกับข้าวของชวนยี้ประเภทนี้

 
แล้วจะรับมืออย่างไรดี

 
• กระชับขอบผ้าอ้อมให้พอดีตัว เพื่อลดโอกาสที่ลูกจะเอามือล้วงลงไป (แต่ก็ต้องทำใจนะว่าเขาจะยังพยายามล้วงเข้าไปอยู่ดี)

 
• พาเข้าห้องน้ำบ่อยๆ สังเกตว่าลูกขับถ่ายช่วงไหน แล้วชิงพาเขาไปเข้าห้องน้ำหรือนั่งกระโถนให้บ่อยที่สุด เพื่อลดการหมักหมมของสิ่งปฏิกูลในผ้าอ้อม (ซึ่งตอนนี้กลายเป็นของเล่นของเจ้าตัวเล็กไปแล้ว…อี๋!)

 
• หาสิ่งทดแทน ถ้ามีอย่างอื่นให้เจ้าตัวเล็กได้บีบเล่นหรือฉีกกระจุย เขาก็จะลดความสนใจในการฉีกทึ้งผ้าอ้อมเช่นเดียวกัน ถ้าได้ขีดๆ เขียนๆ มากขึ้น หนูน้อยก็จะใช้นิ้วละเลงสิ่งที่อยู่ในผ้าอ้อมน้อยลง

 
• ใจเย็นเข้าไว้ ยิ่งคุณมีปฏิกิริยามาก หนูน้อยก็ยิ่งอยากเล่นผ้าอ้อม (เน่าๆ) มากขึ้นตามไปด้วย ฉะนั้น ถ้าจะห้ามไม่ให้เขาเล่น คุณก็ควรทำอย่างใจเย็น อย่าแสดงออกให้มากว่าคุณไม่พอใจ ต่อให้คุณรู้สึกขันกับพฤติกรรมของเขา ก็ไม่ควรยิ้มหรือหัวเราะให้เป็นที่สังเกตนัก เพราะจะเป็นการกระตุ้นให้เขาอยากทำซ้ำมากขึ้นไปอีกเช่นกัน (สรุปว่าเดินสายกลางดีที่สุด)

 
• เริ่มสอนการใช้ห้องน้ำ พาเจ้าตัวดีไปห้องน้ำ แล้วทิ้งอุจจาระจากผ้าอ้อมลงโถส้วม เพื่อสอนเขาว่า ที่สุดแล้วสิ่งที่เขาขับถ่ายออกมาจะถูกกำจัดที่ไหน อาจให้หนูน้อยกดชักโครกเองถ้าเขาอยากทำ แต่ถ้าลูกดูตื่นตระหนกกับกระบวนการกำจัดของเสียนี้ ก็ไม่ต้องพาเขามาทัศนศึกษาอีกก็ได้ (แม้เขาจะดูสนุกตื่นเต้น คุณก็ยังต้องระวังอยู่ดี เพราะหนูน้อยอาจจะเที่ยวไปหยิบอะไรต่อมิอะไรมาหย่อนใส่โถส้วม ก่อนกดชักโครกสั่งลาก็เป็นได้)

 

 

บทความโดย: กองบรรณาธิการนิตยสารเรียลพาเรนติ้ง

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up