คุณควรทำอย่างไร เมื่อน้องร้องขอจะเล่นกับพี่ ?

Alternative Textaccount_circle
event

จากการศึกษาพบว่า 83 เปอร์เซ็นต์ของผู้ปกครองที่มีลูกวัยก่อนเรียนจะบอกว่า ลูกของตนมีน้ำหนักตัวที่ “ค่อนข้างเหมาะสม” ขณะที่นักวิจัยด้านความสัมพันธ์ระหว่างขนาด รูปร่าง และน้ำหนักพบว่า 1 ใน 3 ของเด็กยังมีน้ำหนักตัวไม่เหมาะสม ไม่มากก็น้อยเกินไป

 
คุณแม่รู้หรือไม่ว่า ความตื่นเต้นของลูกสาววัยประถมหนึ่งระหว่างรอเพื่อนที่นัดกันมาเล่นที่บ้านคือ การได้ใช้เวลากับเพื่อนวัยเดียวกัน ขณะที่ความตื่นเต้นของลูกสาววัยอนุบาลที่รู้ว่าจะมีพี่โตๆ มาบ้านคือความสนุกอีกหลายเท่าตัวที่เขาจะได้รับ…คนละเรื่องเดียวกันจริงๆ

 
ดร.ไอลีน เคนเนดี้-มัวร์ นักจิตบำบัด และผู้เขียนหนังสือ “What About Me : 12 Ways to Get Your Parents’ Attention (Without Hitting Your Sister)” (และคุณแม่ลูกสี่) จากเมืองพรินซ์ตัน รัฐนิวเจอร์ซีย์ อธิบายว่า พี่โตจำเป็นและควรได้มีเวลาส่วนตัวอยู่กับเพื่อนวัยเดียวกันตามลำพังบ้าง แต่หากคุณยังยืนยันที่จะใช้กติกาว่า “เด็กทุกคนต้องเล่นด้วยกัน” พี่โตก็จะไม่มีโอกาสได้เวลาเป็นส่วนตัวเลย

 
ทางแก้ปัญหาที่ดีที่สุดคือ หากคุณสามารถรับมือแขกจอมซนหลายๆ คนไหว ก็ชวนเพื่อนของเจ้าตัวเล็กมาเล่นกับเจ้าตัวเล็กในเวลานั้นด้วยเลย แต่เคนเนดี้-มัวร์ ก็มีคำเตือนว่า “คุณควรรู้ไว้ด้วยว่าเด็กทั้งหมดอาจเลือกที่จะเล่นด้วยกันเป็นบางครั้ง”

 
อีกวิธีหนึ่งคือ คุยกับพี่ๆ ก่อน ขอให้น้องเล่นด้วยสักครู่ แล้วแม่จะมาพาออกไป โดยคุณต้องแสดงท่าทีชัดเจนว่า หากพี่ๆ ทำได้ พวกเขาก็กำลังทำหน้าที่พี่ที่ดี และทางฝั่งเจ้าตัวเล็ก คุณก็ต้องตกลงให้ชัดเจนว่า พี่ๆ อนุญาตให้เขาเล่นด้วยได้ 20 นาที โดยที่เขาต้องไม่งอแง ไม่ร้องไห้ เมื่อ “เวลาสนุก” จบลง ถ้าเขาทำได้ คราวหน้าเขาก็จะได้เล่นกับพี่ๆ อีก

 
ท้ายที่สุด ควรฝึกให้เจ้าตัวเล็กบอกลาอย่างน่ารัก เช่น พูดว่า “บ๊ายบาย ขอบคุณที่ให้หนูเล่นด้วยนะคะ” และหลีกเลี่ยงการเสียน้ำตาด้วยการหากิจกรรมสนุกๆ ที่เขาสามารถทำร่วมกับคุณได้ทันทีที่ออกจากกลุ่มพี่ๆ

 

 

 
ด.ญ.รจรินทร์ เมฆลอย, ด.ญ.อริสรา ถาวรบุตร และ ด.ญ.ธัญยธรณ์ พิศิษฐ์พงศา

บทความโดย: กองบรรณาธิการนิตยสารเรียลพาเรนติ้ง
ภาพโดย: 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up