เล่นจั๊กจี้กับลูก

เล่นจั๊กจี้กับลูก ช่วยเสริมพัฒนาการได้จริงหรือ?

Alternative Textaccount_circle
event
เล่นจั๊กจี้กับลูก
เล่นจั๊กจี้กับลูก

ล่นจั๊กจี้กับลูก แบบไหนถึงไม่มากเกินไป? 

ถึงแม้ว่าการเล่นจั๊กจี้กับลูกจะมีข้อดี แต่การเล่นเกินไปก็อาจจะส่งผลกระทบกับลูกได้เช่นกัน ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงจำเป็นต้องมีวิธีเล่นที่พอดี ๆ  ยกตัวอย่างเช่น

– แกล้งทำท่าขยับนิ้วไปมาใกล้ ๆ ตัวลูก เพียง “สัญญาณ” ของการเล่นจั๊กจี้ ก็เรียกเสียงหัวเราะจากเจ้าตัวเล็กได้แล้ว

– ค่อย ๆ ไต่นิ้วขึ้นไปตามตัวลูก (เกมปูไต่) โดยจะเริ่มไต่จากนิ้วเท้าขึ้นไปถึงพุง หรือจากนิ้วมือขึ้นไปถึงหัวไหล่ก็ได้ จังหวะการไต่ที่สม่ำเสมอ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถคาดเดาได้จะเรียกรอยยิ้มจากลูกได้เรื่อย ๆ หรือจนกว่าจะเบื่อ หิวหรือง่วง

– เล่นเกมแย่งถุงเท้า โดยให้แต่ละคนพยายามถอดถุงเท้าของฝ่ายตรงข้าม พร้อม ๆ กับปกป้องถุงเท้าของตัวเองไว้ให้ได้ (การเล่นสนุกแบบนี้ทำให้ลูกได้เป็นฝ่ายคุมเกมเอง)

– อย่าจี้ลูกแรงจนเกินไป เพราะอาจจะทำให้ลูกเจ็บได้ จนไม่อยากที่จะเล่นอีกก็เป็นได้

สุดท้ายนี้ คุณหมอได้ฝากเรื่อง “การเล่น” กับลูกของพ่อแม่ยุคใหม่ทุกคนว่า “ช่วงอายุตั้งแต่แรกเกิด ถึง 7  ปีนั้น เป็นช่วงที่เด็กเรียนรู้ผ่านระบบประสาทสัมผัส และการเคลื่อนไหว ดังนั้น จึงควรให้เด็กได้มีโอกาสเล่นตามวัย และควรให้ลูกได้อยู่กับธรรมชาติโดยตรง มากกว่าจะให้เล่นกับเครื่องใช้ไฮเทค อย่าง ทีวี คอมพิวเตอร์ ที่มีเสียง แสง ที่อาจเร้าเด็กมากจนเกินไป จนทำให้ลูกสมาธิสั้น มีพัฒนาการไม่สมวัย อีกทั้งยังมีปัญหาด้านอารมณ์และพฤติกรรม รวมถึงการเรียนรู้ได้ ดังนั้น เปลี่ยนจากการปล่อยให้ลูกเล่นมือถือ มาเป็น เล่นจั๊กจี้กับลูก กันเถอะนะคะ 
       
อ้างอิงเนื้อหา: MGR Online และPobpad

บทความโดย: กองบรรณาธิการ Amarin Baby and Kids

บทความอื่นที่น่าสนใจ:

 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up