เล่นจั๊กจี้กับลูก

เล่นจั๊กจี้กับลูก ช่วยเสริมพัฒนาการได้จริงหรือ?

Alternative Textaccount_circle
event
เล่นจั๊กจี้กับลูก
เล่นจั๊กจี้กับลูก

 

แพทย์หญิงนลินี เชื้อวณิชชากร กุมารแพทย์ด้านพัฒนาการ และพฤติกรรม ได้อธิบายว่า การ เล่นจั๊กกะจี้กับลูก นั้น เป็นการเล่นรูปแบบหนึ่งของเด็ก ที่ช่วยส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่ลูก และเสริมสร้างความรักใคร่ผูกพันให้แน่นแฟ้นขึ้น นอกเหนือจากนี้ยังเป็นการเสริมพัฒนาการลูกด้านประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหวได้อีกด้วยนะคะ

แต่ทั้งนี้ต้องเล่นอย่างระมัดระวังด้วยเช่นกัน ไม่ใช่แกล้งลูกจนเกินขอบเขต จนบางทีอาจทำให้ลูกหัวเราะมากจนเหนื่อยหอบได้ ดังนั้น ทางที่ดีที่สุดเวลาเล่นกับลูก อย่าลืมดูท่าทีของลูกด้วยนะคะว่า พวกเขาสนุกไปกับคุณพ่อคุณแม่ด้วยหรือไม่

เพราะลูกอาจจะมีอาการบ้าจี้โดยที่เราไม่รู้ตัวได้ สำหรับเด็กที่มีอาการ “บ้าจี้” คุณหมอได้อธิบายเสริมว่า บ้าจี้ เป็นภาวะที่เด็กรับรู้ไวเกินกว่าปกติ ซึ่งที่เด็กบางคนแค่ถูกสัมผัสเพียงนิดเดียว จะรู้สึกจั๊กกะจี๋ทันทีนั้นเป็นเรื่องของระบบการรับรู้ของสมอง โดยเด็กแต่ละคนจะไวมาหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่ที่เด็กแต่ละคนค่ะ เด็กบางคนอาจจะไม่บ้าจี้เลย ผิดกับบางคนที่เล่นนิดเดียวก็ขำแล้วขำอีกจนไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยเลยก็มีค่ะ

จั๊กจี้ทารก
จั๊กจี้ทารก เสริมพัฒนาการ

จั๊กจี้เกิดจากอะไร?

จั๊กจี้ เป็นความรู้สึกที่ให้ความหมายตรงตัวได้ยากค่ะ แต่ก็มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งได้ให้ความหมายของการจั๊กจี้โดยแบ่งเป็น 2 ลักษณะคือ

  • ความรู้สึกที่กับคล้ายอาการคันจากการสัมผัสผิวหนังตามร่างกายอย่างแผ่วเบา อาการนี้อาจจะไม่ได้ทำให้ลูกยิ้มหรือหัวเราะ แต่อาจจะทำให้เกิดความรำคาญแทนได้
  • ความรู้สึกจากแรงกดซ้ำ ๆ บนร่างกายตามจุดจั๊กจี้ เช่น ซี่โครงหรือบริเวณรักแร้ ที่จะทำให้ยิ้มหรือหัวเราะออกมา

ประโยชน์ของการจั๊กจี้

มีงานวิจัยกล่าวว่า การเล่นจั๊กจี้กับลูก นั้นสามารถสร้างความรู้สึกผ่อนคลายให้กับลูกได้ อีกทั้งยังช่วยบรรเทาอาการซึมเศร้าได้อีกด้วยนะคะ เนื่องจาก ความรู้สึกจั๊กจี้ มีส่วนช่วยบรรเทาอาการปวดเรื้อรังได้ชั่วคราว นอกเหนือจากนี้ ยังส่งผลดีกับพัฒนาการด้านการรับรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กเล็กตั้งแต่แรกเกิดถึง 7 ขวบ ที่เรียนรู้โลกผ่านระบบประสาทสัมผัส ไม่ว่าจะเป็นการมองเห็น การได้ยิน การรับรู้รส การสัมผัส การทรงตัว และการเคลื่อนไหว เป็นต้น

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up