เพื่อนทำได้ หนูก็ทำได้

Alternative Textaccount_circle
event

คุณแม่ก็มักพูดเปรยๆ ขึ้นมาว่า เพื่อนซี้ของน้องปันปันแต่งตัวเองได้ทุกเช้าเลยคำพูดเป็นนัยแบบนี้ได้ผลชะงัดเหมือนคาถา น้องปันปันยอมตื่นนอนในทันที เพราะอยากจัดการตัวเองให้เรียบร้อยโดยไม่ต้องพึ่งคุณแม่เหมือนกับเพื่อน และเมื่อทำได้แล้วก็พูดอวดว่า ดูสิคะคุณแม่ หนูทำได้เหมือนน้องเฌอเลย !Ž

 
เมื่อถึงวัยประมาณ 2 – 3 ขวบ เด็กส่วนใหญ่มักชอบสังเกตว่าเด็กในวัยเดียวกันคนอื่นๆ ทำอะไรเองได้บ้างแล้ว และอยากจะทำสิ่งเดียวกันให้ได้เหมือนกับเพื่อน นั่นคือเหตุผลที่อธิบายว่าทำไมการเห็นเพื่อนๆ ใช้กรรไกร (แบบปลายมนที่ค่อนข้างปลอดภัยสำหรับเด็ก) หรือใช้กระโถนตอนอยู่ที่เนิร์สเซอรี่ ถึงเป็นแรงจูงใจที่ทำให้ลูกของคุณอยากมีทักษะของเด็กโตพวกนั้นบ้าง

 
แต่การทำอะไรเพราะแรงกดดันจากเพื่อนของเด็กในวัยนี้ ไม่ได้หมายความว่าหนูน้อยจะต้องกระโดดหน้าผาตามเพื่อนเมื่อโตขึ้น เพราะฉะนั้นคุณจึงใช้วิธีพูดคุยถึงความสำเร็จของเพื่อนที่โตกว่าและฉลาดกว่าสักเล็กน้อยได้อย่างเต็มที่ แต่ควรเป็นคำพูดเปรียบเทียบในเชิงบวกเท่านั้น เช่น พูดกับลูกวัย 3 ขวบว่า พรุ่งนี้เช้าหนูไปอยู่ที่บ้านคุณยายนะจ๊ะลูก รับรองว่าต้องสนุกแน่ๆ เลย เหมือนที่พี่นีน่าเคยไปบ่อยๆ ยังไงจ๊ะŽ แต่อย่าพูดว่า ตอนที่คุณแม่ของเพื่อนๆ หนูต้องไปทำธุระนอกบ้าน แม่ก็ไม่เห็นว่าจะมีใครร้องไห้มากเท่านี้เลยสักคน ทำไมหนูถึงทำตัวเหมือนเด็กทารกแบบนี้นะŽ

 
วิธีการดีที่สุดที่จะทำให้ลูกของคุณเกิดแรงจูงใจในทันทีคือการหาโอกาสให้เขาได้เห็นการกระทำของเพื่อนด้วยตัวเอง เช่นชวนเด็กที่ชอบชิมของแปลกๆ มากินข้าวกับลูกที่มีนิสัยเลือกกินแต่ของโปรด หรือนัดเพื่อนวัยโตกว่าซึ่งรู้จักแบ่งปันของให้คนอื่นแล้วมาเล่นกับลูก เพื่อให้เขาเรียนรู้จากการสังเกตและทำตาม

 

 

บทความโดย: กองบรรณาธิการนิตยสารเรียลพาเรนติ้ง

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up