อาละวาด บ้านแตก tantrums รับมืออย่างไร

นิ่งไว้แม่!เมื่อลูกน้อย อาละวาด บ้านแตกหมอแนะทำยังไงดี

Alternative Textaccount_circle
event
อาละวาด บ้านแตก tantrums รับมืออย่างไร
อาละวาด บ้านแตก tantrums รับมืออย่างไร

ปัจจัยที่สัมพันธ์กับ tantrums

การร้อง อาละวาด เกิดจากความสัมพันธ์กับปัจจัยต่อไปนี้

  1. โรคหรือการเจ็บป่วยทางกาย ปัญหาโรคต่างๆเช่น ภูมิแพ้ ภาวะติดเชื้อที่ทางเดินหายใจ หูอักเสบ โรคระบบทางเดินอาหาร การนอนไม่พอจากปัญหาการนอนกรน การเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลบ่อย ๆ ส่งผลให้เด็กรู้สึกไม่สบาย เหนื่อยหรือง่วง การได้รับยาบางชนิด เช่น ยากันชัก ยาภูมิแพ้ เป็นต้น อาจทำให้เด็กง่วงนอน และร้องอาละวาดได้บ่อย
  2. โรคหรือปัญหาทางพัฒนาการหรือพฤติกรรม ตามพัฒนาการปกติของเด็กอายุ 2-3 ขวบ จะมีความรู้สึกอยากเป็นตัวของตัวเอง (Autonomy) แต่เด็กวัยนี้ยังไม่สามารถแสดงความต้องการของตนเองได้ดีนัก ด้วยข้อจำกัดของพัฒนาการของร่างกาย และภาษา ดังนั้นเมื่อเด็กเกิดความคับข้องใจก็จะควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ได้ ส่วนในเด็กที่มีภาวะบกพร่องทางพัฒนาการ เช่น ภาวะออทิสติก สติปัญญาบกพร่อง ซน สมาธิสั้น ปัญหาทางสายตาหรือการได้ยินที่ไม่ได้รับการวินิจฉัย พัฒนาการทางภาษาล่าช้า ซึ่งปัญหาเหล่านี้จะทำให้เด็กมีความเสี่ยงต่อการร้องอาละวาดมากขึ้น
  3. พื้นอารมณ์ ธรรมชาติสร้างเด็กให้เป็นคนที่มีอุปนิสัยเฉพาะตัวที่แตกต่างกันไปในแต่ละคน ในทางการแพทย์นั้นจะเรียกส่วนนี้ว่า พื้นอารมณ์ของเด็ก (Temperament) เด็กที่มีพื้นอารมณ์แบบเลี้ยงยาก (Difficult temperament) คือ มีจังหวะการนอน การกิน หรือการขับถ่ายไม่เป็นเวลา ปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงยาก อารมณ์หงุดหงิดง่าย มีความอดทนต่ำ ความรู้สึกไวต่อสิ่งเร้า วงจรการนอน และความหิวไม่สม่ำเสมอ ทำให้มีความเสี่ยงต่อการร้องอาละวาด หากผู้ปกครองตอบสนองต่อความต้องการไม่เหมาะสมก็จะยิ่งกระตุ้นให้เด็กมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมมากขึ้น
  4. การเลี้ยงดู การเลี้ยงดูแบบตามใจมาก หรือเข้มงวดมากเกินไป พ่อแม่มีอารมณ์ทางลบอย่างรุนแรงต่อเด็ก ควบคุมอารมณ์ตนเองได้ไม่ดี ใช้วิธีลงโทษที่รุนแรง การมีข้อจำกัดแบบไม่สม่ำเสมอ หรือพ่อแม่ที่เป็นโรคซึมเศร้า ใช้สารเสพติด จะทำให้เด็กหงุดหงิดไม่พอใจได้ง่าย เด็กเรียนรู้การควบคุมอารมณ์ที่ไม่เหมาะสมจากพ่อแม่ นำไปสู่การแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในตัวเด็ก และปัญหาความสัมพันธ์ในครอบครัวได้
ไม่ตี ไม่ใช้วิธีรุนแรง อาละวาด ตอบโต้ลูก
ไม่ตี ไม่ใช้วิธีรุนแรง อาละวาด ตอบโต้ลูก

หมอแนะวิธีรับมือเมื่อลูก Tantrums ….หยุด สงบ สติ!!

คำแนะนำ… หยุด

  • หยุดตอบสนอง หยุดสนใจ ระหว่างที่ลูกร้องอาละวาด ไม่ควรตามใจ เพราะหากร้องแล้วได้รับความสนใจ หรือ การตอบสนองเด็กจะไม่เลิกทำสิ่งเหล่านี้ เพราะเข้าใจว่าทำแล้วได้สิ่งที่ต้องการ
  • ใช้ความอดทนให้มาก นิ่งเฉย ไม่แสดงอาการอะไรทั้งนั้น และหยุดสั่งสอนลูกในขณะนั้นด้วย เพราะหากเราแสดงและตอบรับการอาละวาดของลูก จะทำให้เราต้องเจอกับการอาละวาดที่หนักขึ้นไปเรื่อย ๆ เพราะลูกเข้าใจแล้วว่ายิ่งทำให้แม่อาย หรือไม่ถูกใจแม่จะหันมาสนใจ

คำแนะนำ….สงบ

  • พ่อแม่ต้องสงบ โดยอาจเลือกใช้วิธีเมินเฉย ให้เด็กอยู่ในมุมสงบ จนกว่าเด็กจะนิ่งลง โดยผู้ปกครองอาจอยู่ใกล้ ๆ ในระยะที่มองเห็นเด็กได้ (ใช้ในกรณีเด็กปกติ ที่ไม่ใช่เด็กพิเศษที่ไม่สามารถควบคุมตนเองได้)
  • จับเวลา ในขณะที่ลูกอาละวาด นอกจากจะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่ใจเย็นลง มีสมาธิกับสิ่งอื่นแล้ว ยังเป็นการดูพัฒนาการของลูกว่าเขาสามารถจัดการอารมณ์ของตัวเองได้เร็วขึ้นมากน้อยเพียงใด
  • บางครั้งอาจให้ใช้วิธีเบนความสนใจของเด็ก เพราะโดยทั่วไปอาการเหล่านี้ใช้วลาไม่นาน

คำแนะนำ…สติ

  • ไม่ควรโวยวาย ดุหรือตำหนิเด็กในขณะนั้น พ่อแม่ต้องมองว่าการกระทำของลูกดังกล่าวนี้เป็นเพราะเขาไม่สามารถจัดการกับอารมณ์ของตัวเองได้ หากเรายิ่งไปตำหนิ โวยวายก็เท่ากับเราก็จัดการอารมณ์ของเราไม่ได้เช่นกัน และการรุนแรงกับ จะยิ่งทำให้เด็กอาละวาดรุนแรงขึ้น และไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาที่ถูกต้อง
  • เมื่อเด็กสงบลงแล้ว ผู้ปกครองควรเข้าไปปลอบโยนชักชวนทำกิจกรรมอื่น อาจจะอธิบายเหตุผลสั้น ๆ เพื่อให้เด็กเข้าใจว่าเพราะเหตุใดจึงไม่อนุญาตให้ทำสิ่งนั้น แต่ควรระวังไม่สั่งสอนยืดยาว จะยิ่งทำให้ลูกไม่ฟัง วิธีนี้เป็นวิธีหนึ่งของ พฤติกรรมบำบัด เด็กสามารถเรียนรู้ได้จากการกระทำ และประสบการณ์ ไม่ใช่เพียงแค่การสั่งสอนด้วยคำพูดเท่านั้น
  • ทุกคนในบ้านที่มีส่วนเลี้ยงดูเด็ก ควรปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกัน
ช่วยให้ลูกได้ผ่านพ้น การจัดการอารมณ์ของตัวเองไปได้อย่างไร้ปัญหา
ช่วยให้ลูกได้ผ่านพ้น การจัดการอารมณ์ของตัวเองไปได้อย่างไร้ปัญหา

การป้องกันการเกิด tantrums ของลูก

ในขั้นตอน หยุด สงบ สติ เป็นคำแนะนำที่คุณหมอแนะนำเอาไว้ใช้เมื่อขณะที่ลูกกำลังอาละวาด แต่หากเราสามารถป้องกันปัจจัยที่จะทำให้ลูกเกิดอารมณ์ขัดใจ และหยุดยั้งพฤติกรรม tantrums อาละวาดได้จะเป็นการดีกว่ามาก

  1. รักษาตารางการรับประทานอาหาร และการนอนหลับให้เป็นปกติ การเกิดพฤติกรรมที่ไม่พึงปรารถนา เช่น อาละวาด ร้องกรี๊ด มักจะเกิดขึ้นเมื่อลูกของคุณเหนื่อยหรือหิว
  2. ชื่นชมพฤติกรรมที่คุณเห็นด้วย และเพิกเฉยต่อพฤติกรรมที่คุณไม่ต้องการ การลงไปเล่นกับเด็ก คลุกคลีกับเขา มีช่วงเวลาสนุกสนาน มีความสุขกันให้มากที่สุด บ่อยที่สุด เป็นการป้องกันที่ดีเยี่ยม
  3. อย่าตีลูก และพยายามหลีกเลี่ยงการตะโกน การตวาด การใช้คำพูดรุนแรง พ่อแม่ต้องเป็นตัวอย่างให้ลูกว่าพฤติกรรมแบบไหนไม่ควรทำ และควรจัดการกับปัญหา และอารมณ์เมื่อเผชิญปัญหาอย่างไร
  4. เปลี่ยนเรื่องหรือหันเหความสนใจ หากทำได้ ชี้ให้เห็นบางสิ่งที่ตลกหรือน่าสนใจเมื่อลูกของคุณเริ่มคร่ำครวญหรือประพฤติตัวไม่เหมาะสม เป็นวิธีการที่ได้ผลดีในเด็กวัยนี้
  5. รักษากฎให้เรียบง่าย และให้คำอธิบายสั้นๆ ตัวอย่างเช่น บอกลูกของคุณว่าพวกเขาต้องจับมือคุณเมื่อพวกเขาข้ามถนนเพราะคุณไม่ต้องการให้ลูกถูกรถชน หรือเกิดอุบัติเหตุ
  6. ให้ลูกได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ โดยเสนอทางเลือกระหว่างสองสิ่ง ให้โอกาสลูกได้รู้ว่า ที่จริงเขาก็มีอำนาจในการตัดสินใจได้พอสมควร ไม่ใช่ต้องทำตามที่ผู้ใหญ่บอกอย่างเดียว ตัวอย่างเช่น คุณอาจพูดว่า “วันนี้คุณอยากสวมเสื้อสเวตเตอร์สีน้ำเงินหรือแจ็กเก็ตสีเหลืองไหม”
  7. รักษาสภาพแวดล้อมในบ้านให้ปลอดภัย เช่น ของมีคม ของตกแตกง่าย ก็เก็บให้พ้นมือ พ้นสายตา หรือแม้กระทั่งโทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต ถ้าไม่อยากให้ลูกใช้ ก็แค่เก็บไม่ให้ลูกเห็น ถ้าคุณไม่ต้องการให้พวกเขาเข้าไปยุ่งเกี่ยวอะไร ให้วางมันให้พ้นสายตา เมื่อของไม่ได้อยู่ตรงหน้า และมีกิจกรรมอื่นที่น่าสนใจเช่นกัน เวลาในการเล่นหรือหยิบจับหน้าจอก็จะลดลงด้วย

    พ่อแม่ต้องอดทน อย่าปล่อยให้เขาโดดเดี่ยว
    พ่อแม่ต้องอดทน อย่าปล่อยให้เขาโดดเดี่ยว
  8. อย่ายอมแพ้ อดทนให้มากแม้ว่าลูกอาจจะทดสอบคุณจนแทบเกินขีดจำกัดความอดทนของเราแล้วก็ตาม หากลูกของคุณมีอารมณ์ฉุนเฉียว อาละวาดรุนแรงในร้านขายของชำ เพราะคุณจะไม่ซื้อลูกกวาดให้ นำลูกของคุณออกจากสถานการณ์และรอจนกว่าทุกอย่างจะสงบลง อย่าอายจงคิดว่าคุณไม่ใช่ผู้ปกครองคนแรกที่ทิ้งรถเข็นไว้เต็มทางเดิน
  9. ตั้งสมาธิ อยู่ในความสงบ ลูกของคุณจะคลายความเครียดของคุณ นับถึง 10 หรือหายใจเข้าลึก ๆ อะไรก็ได้ที่ช่วยให้คุณเย็นลงได้
  10. ถ้าจำเป็นต้องพาไปที่แปลกใหม่ ที่ลูกไม่คุ้น ให้บอก เตรียมตัว เตรียมใจกันล่วงหน้าก่อน การเล่นสมมุติจำลองเหตุการณ์ช่วยได้มาก
  11. ข้อนี้สำคัญมากๆ พ่อแม่ควรต้องมีสุขภาพจิตดี อารมณ์มั่นคงพอสมควร ยิ้มแย้มแจ่มใส หัวเราะบ่อย ๆ เมื่อบรรยากาศในบ้านดีจะช่วยป้องกันเด็ก tantrum ได้
ข้อมูลอ้างอิงจาก https://chulalongkornhospital.go.th/https://www.healthline.com/https://th.rajanukul.go.th/เพจ Dad Mon and Kids /www.thairath.co.th/

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิกเพจ

หมอเผย!! เลี้ยงลูกด้วย นมแม่ ให้มีความสุข ทำอย่างไร?

Terrible two วัย 2 ขวบ มารู้จักกับลูกวัยนี้กัน

แพทย์เผย! เลี้ยงเด็ก ให้มีความสุข ต้องใช้ จิตวิทยา ให้เป็น

Hypothyroidism ภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิด ยิ่งรู้เร็ว ยิ่งป้องกันได้ ลูกไม่เอ๋อ!

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up