พี่น้อง บุคลิกภาพ

พี่น้อง กับลำดับการเกิดมีผลต่อบุคลิกภาพเราจริงหรือ?

Alternative Textaccount_circle
event
พี่น้อง บุคลิกภาพ
พี่น้อง บุคลิกภาพ

ลูกคนโต คนกลาง น้องคนเล็ก กับบุคลิกภาพของแต่ละคนเป็นอย่างไร??

ด้านบวกของ “โรคลูกคนกลาง”

ลูกคนกลางมักจะมีอาการที่เรียกว่า “โรคเด็กกลางคน” Psychology Today รายงานว่าไม่ใช่เชิงลบทั้งหมด “ในด้านบวก ลูกคนกลางอาจพัฒนาทักษะการเข้าสังคมที่ดีโดยเฉพาะเพื่อไม่ให้ถูกเมิน”

ลูกคนกลาง ผู้ประนีประนอม และปรับตัวเพื่อความอยู่รอด

สำหรับเด็กที่เกิดมาเป็นลูกคนกลาง คนรอง ที่มีทั้งพี่ และน้องนั้น เรามักจะพบว่าเขาเกิดมาโดยที่รับรู้ว่ามีคนเกิดก่อนตัวเองอยู่แล้ว ต้องคอยแบ่งความสนใจของพ่อแม่ระหว่างพี่กับตัวเอง และยังมีน้องคนเล็กเกิดตามมาอีกด้วย ทำให้ต้องแบ่งความสนใจจากพ่อแม่ที่เดิมต้องแบ่งให้พี่อยู่แล้ว มาให้น้องอีกด้วย ทำให้เขาไม่เคยมีช่วงเวลาที่มีแค่ลูกคนกลางกับพ่อแม่มาก่อน การต้องต่อสู้กับพี่คนโต และแบ่งความสนใจกับน้องคนเล็ก ทำให้เขาพลอยรู้สึกไปว่าตัวเองไม่มีตัวตน ดังนั้นเขาจึงต้องทำตัวให้แตกต่างจากพี่ และน้อง ต้องปรับตัวอยู่เสมอ ต้องรับบทบาทสองบทบาทในเวลาเดียวกัน คือเป็นทั้งพี่ และน้อง จึงทำให้เกิดการเรียนรู้ที่จะประนีประนอมเพื่อให้อยู่รอด

บ่อยครั้งที่ลูกคนกลางมักจะแยกตัวออกจากพี่น้อง เพื่อที่จะได้อยู่กับตัวเองอย่างสงบสุข ทำให้พบว่าลูกคนกลางจะค่อนข้างเป็นตัวของตัวเองค่อนข้างสูง

พี่น้องรักกัน กับบุคลิกภาพที่แตกต่าง
พี่น้องรักกัน กับบุคลิกภาพที่แตกต่าง

บุคลิกภาพของลูกคนกลาง

มักมีบุคลิกภาพ เป็นคนไม่เคร่งเครียด ไม่เอาจริงเอาจังเท่าไรนัก มีนิสัยรักสนุก ไม่ค่อยสนใจที่จะเป็นผู้นำหรือรับผิดชอบสักเท่าไร แต่เมื่อลูกคนรองมีน้อง ความรู้สึกการแข่งขันจะเกิดขึ้นทันที ถ้าในครอบครัวมีสัมพันธภาพไม่ดีอาจทำให้ลูกคนกลางมีความรู้สึกว่าพ่อแม่ลำเอียง และเกิดปัญหาในที่สุด

ดูแล ลูกคนกลาง อย่างไรดี ??

คำแนะนำในการเลี้ยงดู ลูกคนกลาง

ลูกคนกลางที่จะมีปมทางใจ มักเกิดจากการที่พ่อแม่มักมองข้ามลูกคนกลางอย่างเขาเสมอ ทำให้เขารู้สึกไม่มีตัวตนในสายตาพ่อแม่ หรือ คนในครอบครัว ลูกคนกลางอย่างเขาจึงต้องพยายามทำตัวแตกต่างเพื่อให้ทุกคนสนใจ แต่ลูกคนกลางบางคนก็เลือกที่จะอยู่เงียบ ๆ เพราะเหนื่อยที่จะพยายามทำให้ทุกคนสนใจเขา เมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ลูกคนกลางจึงรู้สึกว่า เสียงของตัวเองนั้นไม่สำคัญ ไม่ว่าเขาจะพูดอะไร คงไม่มีใครใส่ใจเขา เพราะขนาดพ่อแม่ยังให้ความสำคัญกับ พี่และน้องของเขามากกว่า เรามาดูคำแนะนำกันว่า พ่อแม่จะเตรียมตัวอย่างไรไม่ให้ลูกคนกลางเกิดปัญหา Wednesday Child ดังนี้

  1. ความห่างของแต่ละท้องก็มีผล มีโอกาสพบมากขึ้นถ้าพี่น้องอายุใกล้กัน
  2. โดยทั่วไปถ้ามีลูก 2 คน คนที่ 2 ควรห่างจากคนแรกอย่างน้อย 3 ปี และถ้าต้องการมี 3 คนคนที่ 3 ควรห่างจากคนที่ 2 อย่างน้อย 5 ปี (ลูกคนแรกเป็นหัวปลี คนที่ 2 เป็นสุดท้อง และคนที่ 3 เป็นหัวปลีใหม่) เป็นการหลีกเลี่ยงลูกคนกลาง หรือ Wednesday chid เพื่อไม่ไห้พี่รู้สึกว่าน้องแย่งความสนใจจากพ่อแม่ไปจากตัวเอง
  3. เมื่อมีน้องใหม่ พี่ที่เคยทำอะไรได้แล้วจะถดถอยเหมือนน้อง พฤติกรรมที่อาจพบได้ เช่นเลิกขวดนมได้แล้วก็กลับมาดูดขวดนม เคยบอกฉี่ได้ก็กลับมาเป็นฉี่ไม่บอกแบบน้อง พ่อแม่ต้องไม่ตำหนิ เข้าใจ และอธิบายจนเขาพร้อมยอมรับ
ที่มา : บทความ ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

ลูกคนเล็ก กับบุคลิกภาพ

โดยทั่วไปแล้ว การเลี้ยงดูของพ่อแม่ต่อน้องคนสุดท้องนั้น จะไม่ค่อยเคร่งเครียด ลูกคนเล็กจึงชอบผจญภัย และเป็นอิสระมากกว่า การศึกษาของมหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม ที่ทำ กับเด็ก 17,000 คนที่เกิดในปี 1970 พบว่า “ลูกคนเล็กที่เกิดในครอบครัวที่ไม่ได้ประกอบอาชีพอิสระ เกือบ 50% มีแนวโน้มที่จะเสี่ยงที่จะทำธุรกิจ ตัวเลขนี้เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 65 สำหรับเด็กที่เกิดในครอบครัวที่มีกิจการอยู่แล้ว”

จากการวิจัยของ YouGov พบว่า ลูกคนเล็กมักมีอารมณ์ขัน รักสนุก โดยเด็กที่อายุน้อยที่สุดในครอบครัวมีแนวโน้มที่จะตลกมากกว่า 46% เทียบกับ 36% ของ พี่น้อง คนโต

ลูกคนเล็ก กับการเป็นลูกที่พ่อแม่ และทุกคนในบ้านตามใจ คอยให้ความช่วยเหลืออยู่เสมอ ทำให้ลูกคนสุดท้องกลายเป็นเด็กค่อนข้างเอาแต่ใจ และมักทำตัวเป็นเด็กไม่รู้จักโต แต่ในขณะเดียวกันหากพ่อแม่มอบหมายหน้าที่ให้กับน้องคนเล็กอย่างเขา เช่นเดียวกับพี่ๆ เขาจะสามารถพัฒนาศักยภาพได้ดี เพราะมีพี่ๆ เป็นตัวอย่าง จึงมีแนวโน้มทางพัฒนาการในด้านต่างๆ อย่างรวดเร็ว เพราะเขาเลียนแบบเด็กวัยใกล้เคียงอย่างพี่ของเขา และพ่อแม่อาจจะมีประสบการณ์มาพอสมควรจากการเลี้ยงลูกคนแรกไปแล้ว จึงสามารถรับมือกับลูกคนต่อ ๆ ไปง่ายขึ้น

พี่น้อง กับลูกคนใหม่
พี่น้อง กับลูกคนใหม่

ความคาดหวัง กดดันลูกคนเล็ก

เนื่องจากเป็นลูกคนสุดท้อง ทำให้มีพ่อเเม่ พี่น้องมีความคิดว่าลูกคนเล็กไม่เก่งพอ ทำอะไรก็ไม่ค่อยได้ เมื่อเทียบกับพี่คนโต พี่คนกลาง ทำให้คนในครอบครัวมักจะโอ๋ลูกคนเล็กมากเกินกว่าเหตุ (เช่น ลูกคนโต ลูกคนกลาง ต้องช่วยพ่อเเม่ทำกับข้าว เเต่ลูกคนเล็กไม่ต้องทำเพราะอายุน้อยอยู่) และลูกคนเล็กอาจจะใช้จุด ๆ นี้ในการเรียกร้องเอาความสนใจจากคนรอบข้าง ทำให้ลูกคนเล็กถูกตามใจจนเกิดนิสัยเอาแต่ใจได้  แต่ในทางกลับกัน ลูกคนเล็กอาจจะถูกเปรียบเทียบกับลูกคนโต ลูกคนกลาง ที่แม้ว่าจะเป็นตัวอย่างที่เอาไว้เลียนแบบที่ดี แต่อาจจะทำให้ลูกคนเล็กรู้สึกกดดัน เพราะพ่อแม่จะคาดหวังว่า น้องจะต้องเจริญรอยตามพี่ มีความสำเร็จของพี่ ๆ เป็นบรรทัดฐาน ยกตัวอย่างเช่น หากพี่น้องเรียนโรงเรียนเดียวกัน แล้วคนพี่เรียนเก่งมาก คนรอบข้างมักจะคาดหวังว่าน้อง ๆ จะต้องเรียนเก่งอย่างคนพี่แน่ ๆ หรือเมื่อคนพี่ทำสิ่งใดได้ดี พ่อแม่มักจะคาดหวังว่า คนน้องย่อมทำได้ดีด้วยเช่นกัน เป็นต้น จึงเกิดเป็นความกดดัน และเกิดอาการเอาจริงเอาจังกับผลลัพธ์ และผลแพ้ชนะเสมอ

หากจะกล่าวกันตามความเป็นจริง ส่วนใหญ่พ่อแม่ย่อมรักลูกเท่ากันเสมอ ความรักที่มีแต่ลูกแต่ละคนย่อมแตกต่างกันไป ความห่วงใย ดูแลก็ย่อมแตกต่างไปตามช่วงเวลาที่ลูกแต่ละคนเกิด แม้จะอยู่ในครอบครัวเดียวกันก็ตาม แต่สภาพแวดล้อมในครอบครัว แต่ละช่วงเวลาแตกต่างกัน ทำให้พ่อแม่อาจมีความพร้อม ความเข้าใจในการเลี้ยงลูกแตกต่างไป ทำให้เราถึงได้เห็นบุคลิกภาพที่แตกต่างกันออกไปของ พี่น้อง เช่น ในขณะที่มีลูกคนโต พ่อแม่อาจมีความพร้อมในทุกด้าน แต่ประสบปัญหาการเงินขณะมีลูกคนกลาง และสามารถกอบกู้สถานการณ์ได้เมื่อมีลูกคนเล็ก สิ่งเรานี้ก็ส่งผลต่อการเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่มีผลต่อเนื่องมายังบุคลิกภาพของลูกแต่ละคนได้เช่นกัน นี่เองจึงอาจเป็นคำตอบของคำถามที่ว่า ทำไมพี่น้องคลานตามกันมา เลี้ยงเหมือนๆ กัน จึงมีบุคลิกภาพต่างกัน

ข้อมูลอ้างอิงจาก https://www.wongnai.com/เพจตามใจนักจิตวิทยา /https://www.slice.ca

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

ชี้ทางพ่อแม่ 2 เทคนิคดีและง่าย เลี้ยงลูกให้ “พี่น้องรักกัน”

ลูกชอบสั่งชอบกรี๊ด ทำอย่างไรดี?

วิธีจัดการเวลา “ลูกทะเลาะกัน”

ไอเดีย ชื่อเล่นเก๋ๆ แปลกแหวกไม่ซ้ำ ความหมายมงคล

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up