วิธีลงโทษลูก หยุดทำร้ายเด็ก

วิธีลงโทษลูก ไม่ได้มีแค่การตี ผลักดันแก้กฎหมายหยุดความรุนแรงต่อเด็ก!!

Alternative Textaccount_circle
event
วิธีลงโทษลูก หยุดทำร้ายเด็ก
วิธีลงโทษลูก หยุดทำร้ายเด็ก

วิธีลงโทษลูก ด้วยความรุนแรงจะสั่งสอนเด็กได้จริงหรือ รักวัวให้ผูกรักลูกให้ตี ต้องมีขอบเขตแค่ไหนกัน สถิติการละเมิดเด็กมักมาจากบุคคลในครอบครัวจะแก้กันอย่างไร

วิธีลงโทษลูก ไม่ได้มีแค่การตี ผลักดันแก้กฎหมายหยุดความรุนแรงต่อเด็ก!!

หลายๆคนคงเคยได้ยินคำว่า รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี ซึ่งเป็นความเชื่อของคนสมัยก่อนว่า ในการอบรมสั่งสอนลูกให้โตมาเป็นเด็กดี เป็นคนดีของสังคมได้นั้นต้องมี วิธีลงโทษลูก ด้วยการตีเมื่อทำผิด แต่เมื่อยุคสมัยผ่านไป เริ่มมีแนวความคิด และผลการวิจัยที่แสดงให้เห็นว่า การลงโทษลูกด้วยการตี หรือวิธีรุนแรงนั้นส่งผลเสียต่อเด็กมากกว่าผลดี

จากการศึกษาจากมหาวิทยาลัยมิซิแกน(UM)ของสหรัฐฯ บ่งชี้หลักฐานว่าวิธีลงโทษอย่างการตีและการมีประสบการณ์เลวร้ายในวัยเด็ก ส่งผลกระทบต่อปัญหาพฤติกรรมการแสดงออกที่ก้าวร้าวขาดการควบคุม ในเด็กอายุไม่เกิน 6 ปี ซึ่งการมีประสบการณ์เลวร้ายในวัยเด็กครอบคลุมการทำร้ายทางร่างกายและจิดใจ การเพิกเฉย ละเลย การใช้ความรุนแรงในคู่รัก ปัญหากรณีพ่อแม่ต้องโทษจำคุก และกรณีพ่อแม่เสียชีวิต

การศึกษาในครั้งนี้คณะนักวิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลจาก 2,380 ครอบครัวของการศึกษาครอบครัวเปราะบางและความเป็นอยู่ที่ดีของเด็ก โดยกลุ่มคุณแม่รายงานปัญหาพฤติกรรมก้าวร้าวและพฤติกรรมเก็บกดในเด็กอายุ 5 ปี และการมีประสบการณ์เลวร้ายและการถูกตีในเด็กอายุ 3 ปี การศึกษาพบว่าเด็กอายุ 3 ปี ที่มีประสบการณ์เลวร้ายและถูกลงโทษด้วยการตี สุ่มเสี่ยงจะมีปัญหาพฤติกรรมการแสดงออกที่ก้าวร้าวขาดการควบคุมเพิ่มขึ้นเมื่ออายุ 5 ปี โดยผลการศึกษานี้สนับสนุนข้อเรียกร้องพิจารณาการลงโทษทางร่างกายเป็นหนึ่งในการมีประสบการณ์เลวร้ายในวัยเด็ก และสรุปได้ว่าการโดนตีและการมีประสบการณ์เลวร้ายในวัยเด็กมีแนวโน้มเชิงลบที่เป็นอันตรายเมื่อเด็กโตขึ้นนั่นเอง
ที่มา : https://neurobalanceasia.com

การลงโทษลูกด้วยความสมเหตุสมผล ไม่ใช้ความรุนแรงยังช่วยเป็นการปลูกฝัง และสร้างความมั่นคงทางจิตใจให้แก่ลูกน้อย ทำให้เขามีความฉลาดทางอารมณ์ (EQ : Emotional Quotient) เมื่อโตขึ้นอีกด้วย

วิธีลงโทษลูก ด้วยความรุนแรงดีจริงหรือ
วิธีลงโทษลูก ด้วยความรุนแรงดีจริงหรือ

ผลเสียเมื่อพ่อแม่ใช้ วิธีลงโทษลูก ด้วยการตี

  1. สภาพจิตใจย่ำแย่ แน่นอนว่าไม่ว่าใครถูกตี ถูกกระทำรุนแรง นอกจากบาดแผลทางกายแล้ว บาดแผลทางใจก็ได้รับไม่ต่างกัน
  2. ทำให้เด็กมีอารมณ์ก้าวร้าว เจ้าอารมณ์
  3. เด็กจะมีการเลียนแบบพฤติกรรมรุนแรงนั้น ไปโดยอัตโนมัติ แม้ว่าในใจเด็กจะไม่ชอบก็ตาม แต่เมื่อโตขึ้นมักพบว่าเขาจะเลือกใช้วิธีความรุนแรงในการแก้ปัญหา
  4. ไม่เชื่อฟัง เมื่อ วิธีการลงโทษ ของพ่อแม่เป็นวิธีการที่รุนแรง หรือการตี เมื่อใช้บ่อย ๆ เข้า เด็กจะเกิดการต่อต้าน และความกลัวจะหายไป จนทำให้ต้องเพิ่มความรุนแรงในการลงโทษนั้นมากขึ้นไปเรื่อย ๆ
  5. กระทบต่อความสัมพันธ์ในครอบครัว เด็กจะไม่ได้รับความรู้สึกว่า “ถูกรัก” ทำให้ความสัมพันธ์ของพ่อแม่ต่อลูกเป็นไปในเชิงลบ ซึ่งเป็นเรื่องน่าเสียดายที่ความหวังดีของพ่อแม่กลับส่งไปไม่ถึงลูก
  6. ทำให้ลูกมีประสบการณ์ไม่ดีในวัยเด็ก บาดแผลใจในวัยเด็กส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมของเด็กได้มากกว่าที่คิด การที่เด็กมีประสบการณ์ไม่ดีมาก่อน จะหล่อหลอมบุคลิกภาพของเขาขึ้นมาอย่างผิดเพี้ยน เช่น เป็นคนกลัวความผิดหวัง ไม่กล้าตัดสินใจ มีบุคลิกภาพหลบหนีสังคม เป็นต้น

ลงโทษ ไม่จำเป็นต้อง “ตี”

วิธีลงโทษลูก ในแบบอื่น ๆ มีมากมาย โดยที่อาจจะไม่ต้องใช้วิธีการตีลูกก็ได้ ซึ่งแพทย์หญิงสุธีราหรือป้าหมอ กุมารแพทย์ชื่อดัง ได้เคยให้คำแนะนำกับคุณพ่อคุณแม่ไว้ว่า ในปัจจุบันมี วิธีลงโทษลูก โดยไม่ตีแต่ยังได้ผลดีอีกด้วย ที่อยากให้ลองนำไปปรับใช้กัน 

โดยป้าหมอแนะนำว่า  

กรณีเด็กเล็ก “เวลาที่เด็กทารกตีหน้าแม่ ทำให้เจ็บ เด็กจะถูกวางลงที่พื้นทันที เป็นการลงโทษด้วยการถูกแยกจากแม่ พ่อแม่ที่ใช้วิธีนี้เมื่อเกิดพฤติกรรมคุกคาม จะช่วยให้ทารกควบคุมตัวเองได้ ที่จริงแล้วเด็กทำพฤติกรรมเหล่านี้เพื่อเรียกร้องความสนใจ ดังนั้นหากพ่อแม่ตอบสนองโดยการไม่สนใจลูกทันทีที่เขาทำสิ่งไม่ดี เป็นเวลา 2-3 นาที จะช่วยให้เขาเรียนรู้ว่าพฤติกรรมนี้ไม่ควรทำอีก”

กรณีเด็กโต เด็กที่อยู่ในวัย 2-3 ขวบ โตขึ้นมาอีกนิด  “อีกวิธีหนึ่งของการลงโทษโดยไม่ตี ที่ใช้ได้ผลสำหรับเด็กวัย 2 – 3 ขวบ ก็คือ time-out เป็นการแยกเด็กเข้าคอก หรือมุมเพื่อสงบสติอารมณ์ เช่น ถ้าเด็กพยายามจะเล่นปลั๊กไฟ และไม่นำพาต่อคำห้าม เมื่อพยายามเบี่ยงเบนให้เล่นของเล่นอื่นแล้ว ก็ไม่สนใจ จะพุ่งไปที่ปลั๊กไปตลอดเวลา คล้ายกับจะเล่นเกมส์กันว่าใครจะไปถึงปลั๊กไฟก่อนกัน พ่อแม่สามารถหยุดเขาโดยเอาไปไว้ในคอก แล้วพูดด้วยเสียงธรรมดาว่า time out” ให้เขาอยู่ในคอกนานประมาณ 2-3 นาที เด็กจะร้องไห้แน่นอน แต่วิธีนี้เป็นการสอนว่า คำห้ามมีความหมายอย่างนั้นจริงๆ”

time out วิธีลงโทษลูก แบบไม่รุนแรง
time out วิธีลงโทษลูก แบบไม่รุนแรง
time out 
เวลา time out คือ 1 นาทีต่ออายุ 1 ขวบ ถ้าเวลานานเกินไป เด็กเล็กๆจะลืมว่า ทำไมถึงถูก time out ถ้าลูกลุกก่อนถึงเวลา จะต้องเริ่มต้นใหม่ พ่อแม่อาจเลือกบริเวณในการทำ time out เป็นส่วนที่แยกจากบริเวณที่มีการทำกิจกรรม ไม่ได้เป็นจุดศูนย์กลาง แต่เป็นมุมห้องที่คุณยังสามารถเห็นว่าลูกกำลังทำอะไร และลูกจะต้องนั่งบนเก้าอี้จนกว่า คุณจะบอกว่าหมดเวลาแล้ว
ป้าหมอ ยังเผยต่ออีกว่า “สำหรับพ่อแม่บางคนอาจใช้วิธีให้ลูกเข้าไปอยู่ในห้องนอน (โดยที่ห้องนอนต้องไม่มีโทรทัศน์ เครื่องเล่นเกมส์ คอมพิวเตอร์) แล้วบอกว่า เขาจะออกมาได้เมื่อลูกพร้อมที่จะให้ความร่วมมือกับพ่อแม่ ซึ่งพบว่าได้ผลดี เพราะเป็นการสอนให้เด็กรู้ว่าการได้อยู่ร่วมกลุ่มกับคนอื่นๆเป็นอะไรที่วิเศษ แต่หากรู้สึกโกรธหรือหัวเสีย การได้อยู่ในห้องคนเดียวเพื่อสงบสติอารมณ์ นั่งคิดทบทวนการกระทำของตัวเอง ก็เป็นวิธีการที่ดีกว่าการอาละวาดใส่ผู้อื่น แต่ข้อเสียของวิธีนี้คือ อาจทำให้ห้องนอนเป็นห้องที่เด็กไม่ชอบ เพราะเป็นเหมือนที่กักขัง”

วิธีการลงโทษ โดยไม่ใช้ความรุนแรง

เด็กที่อยู่ในช่วงวัยแห่งการเรียนรู้นั้น แน่นอนย่อมไม่มีใครไม่เคยทำผิด ดังนั้นการลงโทษจึงเป็นสิ่งที่ช่วยปรับพฤติกรรมอันไม่พึงประสงค์ให้กลับเข้าที่เข้าทาง สามารถเข้าสังคมได้ การลงโทษจึงไม่ใช่ผู้ร้ายเสมอไป แต่วิธีการลงโทษที่เลือกใช้ความรุนแรงต่างหากที่ก่อให้เกิดปัญหา ดังนั้นหากเรายังจำเป็นต้องลงโทษเด็กเมื่อทำผิด มาลองวิธีการลงโทษที่ไม่ใช้ความรุนแรงกันดู เพื่อนำไปปรับใช้กันได้

  1. สบตา แสดงความจริงจัง และอธิบายเปรียบเทียบให้ลูกเห็นภาพ เช่น หากลูกโยนของเล่นลงพื้นแล้วของเสียหาย จะเกิดอะไรขึ้น… เป็นต้น
  2. ตักเตือน 1-3 ครั้ง เราควรให้โอกาสเมื่อลูกทำผิดในครั้งแรก ๆ สอนและสังเกตว่าเขาสามารถทำตามได้หรือไม่ ตกลงกันว่าหากมีเหตุการณ์แบบนี้อีก จะมีการลงโทษ ทำให้ลูกยอมรับไม่ง่ายกว่า
  3. งดทำกิจกรรมที่ลูกชอบ เราตีลูก เพราะหวังว่าเด็กจะได้รู้จักจำว่าไม่ควรทำแบบนี้ แต่การงดไม่ให้เขาได้รับในสิ่งที่ชอบ ก็นับว่าเป็นการลงโทษอย่างหนึ่ง และแน่นอนเขาก็จะจดจำได้เช่นกัน เช่น ถ้าทำการบ้านไม่เสร็จ ก็จะอดเล่นของเล่น หรืออดทำกิจกรรมที่ชอบ ซึ่งสามารถใช้ได้กับเด็ก 6 ขวบขึ้นไป เพราะเริ่มเข้าใจเงื่อนไขง่ายๆ ได้แล้ว
  4. จับแยกให้อยู่ตามลำพัง หรือ Time out
  5. รับผิดชอบในสิ่งที่ทำลงไป ไม่ลงไปแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการที่ลูกทำผิดให้เขาทั้งหมด เด็กจะต้องได้มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหานั้น เป็นการสอนให้เขารู้จักความรับผิดชอบในสิ่งที่ตนเองได้ทำ และจะเพิ่มความระมัดระวังในครั้งต่อไปได้ดีกว่า เช่น เมื่อทำลายข้าวของต้องรู้จักที่จะเก็บกวาด ทำความสะอาด หรือถ้าทำร้ายคนอื่นต้องรู้จักขอโทษและสำนึกผิดจริงๆ พ่อแม่ควรสอนลูกในเรื่องความผิดชอบชั่วดีแบบง่าย ๆได้ เช่น แม่รักลูกเพราะหนูใจดีกับน้อง ให้รางวัลลูกเมื่อลูกทำความดี รวมถึงใช้เหตุผลกับลูกมากกว่าที่จะใช้อารมณ์
ความรุนแรงในเด็ก ก่อให้เกิดปัญหาสังคมตามมา
ความรุนแรงในเด็ก ก่อให้เกิดปัญหาสังคมตามมา

 

♦♦♦ การลงโทษลูก หากพ่อแม่อยากให้ได้ผลดีนั้น ต้องทำการลงโทษทันทีหลังทำผิด ตัวอย่างเช่น หากลูกไม่เก็บของเล่นหลังจากเล่นเสร็จ โดยที่บอกแล้ว ยังไม่ทำ ให้พ่อแม่เก็บของเล่นไปไว้ในที่ๆ เขาหยิบเองไม่ได้ เพื่อไม่ให้เล่นนาน 2-3 วัน เขาจะได้ไม่กล้าทำอีก หรือ หากลูกที่เริ่มโตขึ้นมาอีกหน่อย ไม่นำเสื้อผ้าที่ใช้แล้วใส่ไว้ในที่เตรียมซัก เขาก็จะไม่มีเสื้อสะอาดใส่ไปโรงเรียน หรือ หากกลับบ้านดึกโดยไม่โทรบอกก่อน จะไม่ได้อนุญาตให้ออกไปเที่ยวกับเพื่อนอีก จนกว่าเขาจะแสดงให้เห็นว่าเป็นคนมีความรับผิดชอบมากขึ้น

แต่ละวิธีที่ได้แนะนำกันไปคุณแม่ๆก็อย่าลืมลองนำไปใช้กันได้เลยนะคะ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการเลือกใช้วิธีทำโทษลูกในแบบต่างๆ ก็ควรเลือกให้เหมาะสมกับเด็กแต่ละช่วงวัย หรือเหมาะสมกับลูกของเราด้วยนะคะ เชื่อว่า อาจจะไม่ใช่เรื่องง่ายเลยสำหรับคุณแม่บางคน แต่ถ้าคุณแม่อดทน ยอมใจแข็งในการทำโทษลูก ลูกน้อยก็จะเติบโตมาเป็นเด็กที่ดีแน่นอน

ขอบคุณข้อมูลจาก FB : สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ

 

อ่านต่อ>> ก้าวไกล ผลักดันแก้กฎหมายห้ามผู้ปกครองเฆี่ยนตีหรือลงโทษด้อยค่าลูก คลิกหน้า 2

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up