หัดลูกกินข้าวเอง

5 เทคนิค หัดลูกกินข้าวเอง สำเร็จได้ก่อน 1 ขวบ

event
หัดลูกกินข้าวเอง
หัดลูกกินข้าวเอง

2. โอกาสได้รับการฝึก = ถ้าฝึกบ่อยจะกินเองได้เร็ว การฝึกควรเริ่มต้นโดยให้ลูกถือช้อนคันหนึ่งไว้ตักอาหาร ขณะที่ผู้ใหญ่ป้อนอีกช้อนหนึ่ง หากลูกกินเองได้ดีแล้ว ไม่ควรช่วยป้อน แต่ยังต้องอยู่ใกล้ๆ เพื่อช่วยเหลือเช่น หั่นอาหารที่ชิ้นใหญ่เกินไป ถ้ากลัวเลอะบ้าน แก้ไขโดยการปูกระดาษหนังสือพิมพ์ไว้รอบๆ หากกลัวเลอะตัวหรือเสื้อผ้าให้กินอาหารก่อนอาบน้ำ ใส่พลาสติกหรือผ้ากันเปื้อน ที่สำคัญไม่ควรดุเมื่อลูกทำเลอะเพราะจะทำให้ลูกหมดกำลังใจ

3. อารมณ์ของเด็ก = ถ้าหงุดหงิด ถูกบังคับถูกตำหนิ ถูกเร่ง เด็กจะไม่อยากกิน ถ้าได้มีส่วนร่วมในการเตรียมโต๊ะอาหาร เมนูอาหารน่าสนใจ บรรยากาศดีๆ ได้เห็นผู้ใหญ่นั่งกินอยู่ด้วย จะชอบกว่า

4. หน้าที่ของผู้ใหญ่ = คือเตรียมอาหารที่ดีต่อสุขภาพ แล้วปล่อยให้ลูกตัดสินใจเองว่าจะกินหรือไม่กิน ไม่ควรเตรียมอาหารให้มากเกินไป เพราะลูกเห็นแล้วอาจหมดกำลังใจควรยุติการกินเมื่อถึงเวลา 30 นาที หรือถ้าลูกเริ่มเล่นอาหารก็ให้ยุติการกินเช่นกัน แต่ไม่ต้องทำเป็นเรื่องตื่นเต้น เพราะจะทำให้ลูกรู้สึกสนุกมากขึ้นที่จะทำอีกในครั้งต่อไป

5. อย่าลืมว่า >> สิ่งสำคัญไม่ใช่ปริมาณอาหารที่ลูกกิน แต่เป็นคุณภาพของอาหาร ลูกมีสุขภาพดี แข็งแรง ไม่มีปัญหาโรคอ้วนเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจพ่อแม่ควรเตรียมอาหารที่ปราศจากไขมันเกลือ และน้ำตาลที่มากเกินไป

หัดลูกกินข้าวเอง
ฝึกลูกกินข้าวเอง  เป็นการฝึกทักษะการเรียนรู้วิธีการหนึ่งที่ทำให้ลูกฉลาด สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้

แต่อย่างไรก็ดี  เมื่อคุณพ่อคุณแม่ หัดลูกกินข้าวเอง ได้สำเร็จแล้ว อีกหนึ่งสิ่งที่ควรสอนควบคู่ไปพร้อมๆ กันคือเรื่อง วินัยการกิน เพราะมีเด็กไม่กี่คนหรอกที่จะกินอาหารตามอย่างที่พ่อแม่ต้องการ ไม่น้อยเกินไป ก็มากเกินไป (โดยเฉพาะอาหารที่ไม่ค่อยมีประโยชน์) ปัญหาก็คือ ลูกจะติดนิสัยนี้ไปจนโต หากคุณพ่อคุณแม่ไม่เริ่มสร้างวินัยการกินตั้งแต่เด็ก ซึ่งสามารถทำได้ ดังนี้

  • สังเกตอาการ พ่อแม่ควรสังเกตให้แน่ใจว่าลูกกำลังหิวจริงๆ ไม่ได้เป็นเพียงความเบื่อ เหนื่อย กลัว หรือเครียด อย่าให้ลูกกินถ้าเขาไม่หิวหรือยังกินอาหารตรงหน้าไม่หมด
  • อย่าใช้อาหารเป็นเครื่องมือ พยายามอย่าใช้ของกินเป็นรางวัล  และอย่าใช้วิธีการริบของกินเป็นวิธีลงโทษด้วย รวมไปถึงหลีกเลี่ยงการใช้วิธีหลอกล่อ เช่น ให้ลูกกินขนมขณะกำลังช็อปปิ้ง เวลาที่คุณพยายามจะคาดเข็มขัดนิรภัยให้ลูก หรือเมื่ออยากให้ลูกกลับบ้าน โดยใช้สิ่งของอย่างอื่นแทน เช่น ของเล่น หรือชวนลูกคุยเรื่องสนุกๆ
  • ไม่ถูกรบกวน ควรจัดให้ช่วงเวลามื้ออาหารของลูกเป็นช่วงที่สงบ ไม่มีสิ่งต่างๆ รอบตัวรบกวน เพราะยิ่งลูกกินน้อยในมื้อหลัก เขาก็จะยิ่งหิวระหว่างมื้อมากขึ้น

สุดท้ายเป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่ลูก เพราะคุณแม่บางคนอาจไม่รู้ตัวว่าชอบหยิบหาอะไรกินเมื่อตัวเองรู้สึกเบื่อ เหนื่อย หรือเครียด ซึ่งทำให้ลูกจำและทำตาม สิ่งสำคัญในการสร้างวินัยการกินที่ดี คือคุณพ่อคุณแม่ควรมีช่วงเวลากินที่แน่นอนและกินบนโต๊ะอาหารเท่านั้นจะเป็นการดีที่สุด

อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ :


บทความโดย: กองบรรณาธิการ Amarin Baby & Kids

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up