นมข้นหวาน อันตรายใกล้ทารกแรกเกิด – 1 ขวบ

Alternative Textaccount_circle
event

โรคขาดสารอาหารจากนมข้นหวาน

นมข้นหวานโรคขาดโปรตีน พลังงาน แคลอรี่ เป็นโรคขาดสารอาหารชนิดหนึ่ง เพราะร่างกายได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ พบบ่อยในเด็กอายุต่ำกว่า 6 ขวบ มี 2 แบบคือ

1.ควาชิออร์กอร์ (Kwashiorkor) เป็นโรคขาดโปรตีน และพลังงานอย่างมาก เด็กจะมีอาการบวม เส้นผมเปราะ หลุดง่าย ผิวหนังลอกหลุดง่าย ตับโต ซึม และเศร้า ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม คือแย่ทั้งร่างกาย และจิตใจ สาเหตุเพราะอาหารที่ได้รับไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย

2.มาราสมัส (Merasmus) เป็นโรคขาดโปรตีนอีกแบบหนึ่ง เด็กจะแขนขาลีบ ไขมัน และกล้ามเนื้อถูกเผาผลาญมาเป็นพลังงานเพื่อความอยู่รอด เหมือนหนังหุ้มกระดูก ผิวหนังเหี่ยวย่นเหมือนคนแก่ พบในเด็กต่ำกว่า 1 ขวบ ที่หย่านมแม่ไว และเลี้ยงด้วยโภชนาการที่ไม่ถูกต้อง

โรคขาดโปรตีนทั้ง 2 แบบนี้ เกิดจากการรับอาหารที่ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการ เช่น นมข้นหวานที่ผสมเจือจาง และเด็กบางคนสามารถเป็นโรคทั้ง 2 แบบได้ในเวลาเดียวกัน

banner300x250นมข้นหวาน กับคำเตือนจาก อย.

รศ.ดร.แก้ว กังสตาลอำไพ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล เล่าว่า ในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา มีเพียงนมสดพาสเจอร์ไรซ์เท่านั้น เพราะนมข้นหวาน เป็นนมที่ประเทศด้อยพัฒนานิยมนำไปเลี้ยงทารก และที่ข้างกระป๋องก็เขียนอยู่แล้วว่า อย่าใช้เลี้ยงทารก แต่คนไทยบางคนก็ยังนำนมข้นหวานมาใช้เลี้ยงทารกอยู่ดี

เพราะคุณพ่อ คุณแม่ที่มีฐานะยากจนคิดว่าสะดวก และราคาถูก จนเด็กทารกในบางหมู่บ้านกลายเป็นโรคขาดวิตามินเอ และทำให้ตาบอด ทางกองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณะสุข จึงขอให้ อย.ประกาศให้นมข้นหวานมีวิตามินเอ วิตามินดี และวิตามินบีลงไปด้วย ปริมาณที่เติมสูงบ้าง ต่ำบ้าง แต่บางยี่ห้อก็ไม่มี เพื่อให้นมข้นหวาน มีคุณค่าทางโภชนาการเพิ่มมากขึ้น ทำให้คุณแม่ที่อยู่ทางภาคใต้ส่วนใหญ่ เข้าใจผิด นำไปเลี้ยงทารก ทั้งๆ ที่มีข้อความเตือนเอาไว้

ถึงแม้ว่านมข้นหวานจะเพิ่มวิตามินเอสูงขึ้นแล้วก็ตาม การให้ลูกน้อยกินนมข้นหวาน จะได้เพียงความหวานมันเป็นหลัก ไม่มีโปรตีน การนำไปชงกับน้ำ โปรตีนยิ่งลดลง จึงไม่พอต่อการทำงานร่วมกับวิตามินเอ และทำให้เป็นโรคตาบอดในเด็กได้

นมข้นหวานทุกชนิด เป็นนมแปลงไขมัน ใช้น้ำมันปาล์มใส่ลงไปแทนไขมันเนย ดังนั้น นมข้นหวาน จึงมีป้ายชัดเจนว่า “อย่าใช้เลี้ยงเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี เพราะจะทำให้ขาดสารอาหาร อาจทำให้ตาบอด”

นมข้นหวานเครดิต: รศ.ดร.แก้ว กังสตาลอำไพ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล, true ปลูกปัญญา, สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณะสุข, สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน, BTSstation.com, สาระอัพเดต 24 ชั่วโมง

Save

Save

Save

Save

Save

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up