พ่อแม่ปล่อยลูกเล็กดู การ์ตูนฮีโร่-แฟนตาซี บั่นทอนทักษะชีวิต

account_circle
event

ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น ?

ในวัย 0-6 ขวบ เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์เดิม เช่น เขาเคยรับรู้ว่า คนหายใจทางจมูก คนอยู่บนบกได้ แต่อยู่ในน้ำไม่ได้ถ้าขาดออกซิเจน สิ่งนี้เกิดจากการทำหน้าที่ของสมองในการ “ค้นหาความผิดพลาด” เพื่อต่อยอดจากสิ่งที่เรียนรู้มาอย่างเป็นลำดับขั้น 1 2 3 4 แต่ถ้าการ์ตูนฮีโร่-แฟนตาซี มีตัวละครที่หายใจ และใช้ชีวิตใต้ทะเลได้ทั้ง ๆ ที่ไม่ใช่สัตว์น้ำ เด็กจะเกิดความสับสนทันทีว่า สิ่งไหนคือเรื่องจริง ส่งผลให้สมองเกี่ยวกับ EF ทำงานหนักเกินไปจนล้า ซึ่งส่งผลกระทบต่อการพัฒนาทักษะชีวิต

นอกจากนี้ สมองมีระบบสมาธิ (attentional system) คือส่วนบน (ทำหน้าที่ควบคุมสมาธิ) และส่วนล่าง (ทำหน้าที่กระตุ้นให้ประสาทตื่นตัว) โดยปกติสมองจะควบคุมสมาธิจากส่วนบนลงล่าง เพื่อตัดสิ่งเร้าออกไป และเพ่งสมาธิไปยังสิ่งสำคัญ แต่การดู การ์ตูนฮีโร่ -แฟนตาซี มีภาพเสียงเปลี่ยนไปมารวดเร็ว เป็นการกระตุ้นสมาธิจากด้านล่างขึ้นบน ทำให้เด็กต้องหันไปสนใจเสียงหรือสิ่งเร้ารอบตัว หากปล่อยให้ลูกดูเป็นประจำ เด็กจะควบคุมสมาธิได้น้อยลง  วอกแวกง่าย กระทบต่อการ “จดจำ ควบคุม และยืดหยุ่น” อย่างสิ้นเชิง

การ์ตูนฮีโร่

การ์ตูนแบบไหนลูกดูได้ พ่อแม่ต้องทำอย่างไรดี

แม้การไม่ให้ลูกดูการ์ตูนอยู่หน้าจอจะเป็นวิธีแก้ไขที่ดี่ที่สุด แต่สำหรับเด็กยุคนี้ที่พ่อแม่มีเวลาจำกัด การทำกิจกรรมนอกบ้านนานๆ เป็นเรื่องยาก การห้ามดูการ์ตูนอย่างเด็ดขาดคงกลายเป็นเรื่องในอุดมคติที่พ่อแม่หลายคนคิดว่า “เป็นไปไม่ได้” ถ้าเช่นนั้นจะมีแนวทางใดบ้างที่พ่อแม่ยังให้ลูกดูการ์ตูนได้โดยไม่บั่นทอน EF

“จริงๆ แล้ว เด็กวัย 0 – 2 ขวบ ควรหลีกเลี่ยงการอยู่หน้าจอทุกชนิด เพราะเป็นวัยที่ต้องการเรียนรู้จากประสบการณ์จากพ่อแม่ หากปล่อยให้เด็กวัย 6 – 18 เดือน ดูหน้าจอจะมีความเสี่ยงต่อพฤติกรรมดื้อ ต่อต้าน และพฤติกรรมคล้ายออทิสติก ทักษะทางภาษาล่าช้า

ส่วนเด็กวัย 2- 5 ขวบ จำกัดการดูหน้าจอไม่เกินวันละ 1 ชั่วโมง และควรเป็นช่วงเวลาที่พ่อแม่นั่งดูด้วยเท่านั้น หรือเลือกการ์ตูนที่เหมาะสมกับวัย ไม่แฟนตาซีเกินจริงมากเกินไป คุณพ่อคุณแม่สามารถตรวจสอบการ์ตูนที่เหมาะสมกับลูกแต่ละวัยได้จากเว็บไซต์ www.commonsensemedia.org เพียงใส่ชื่อการ์ตูนลงไป ก็จะทราบทันทีว่าการ์ตูนเรื่องนั้นเหมาะกับเด็กวัยไหน

สิ่งนี้ต้องทำควบคู่ไปกับ การฝึก EF ให้ลูกตั้งแต่ยังเล็กผ่านกิจวัตรประจำง่ายๆ และการเล่นตามวัย ทั้งช่วยเหลือตัวเอง มีวินัย  สอนให้รู้จักอารมณ์ตัวเอง เพื่อให้ลูกค่อยๆ พัฒนาทักษะด้านนี้ไปจนโต

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

9 ผลเสียที่จะเกิดเมื่อลูกขาด ทักษะ EF 

ป้องกันลูกติดมือถือ สไตล์คุณพ่อลูกสอง เต๋า สมชาย

9 ผลเสียของการให้ลูกเล่นโทรศัพท์ ก่อน 2 ขวบ


ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือ “ผลของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านจอต่อเด็กและวัยรุ่น”  และ “เลี้ยงลูกอย่างไรให้ได้ EF” สำนักพิมพ์แพรวเพื่อนเด็ก

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up