นมแม่ ลูกฉลาด บำรุงสมอง

ผลวิจัยเผย “นมแม่” ช่วยชีวิตทารก-ลูกฉลาด-พัฒนาเศรษฐกิจไทย

Alternative Textaccount_circle
event
นมแม่ ลูกฉลาด บำรุงสมอง
นมแม่ ลูกฉลาด บำรุงสมอง

สถานการณ์ “นมแม่” ของไทยในปัจจุบัน

  • มีทารกเพียงร้อยละ 46 ที่ได้รับนมแม่ตั้งแต่ชั่วโมงแรกของชีวิต
  • ทารกเพียงร้อยละ 12 ได้รับนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน
  • เด็กเพียงร้อยละ 18 ได้รับนมแม่จนอายุ 2 ปี

การปฏิบัติทั้งสามอย่างข้างต้นนี้เป็นคำแนะนำขององค์การอนามัยโลกและองค์การยูนิเซฟ ซึ่งเป้าหมายสากลนั้น ตั้งไว้ว่า อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ล้วน 6 เดือน อยู่ที่ร้อยละ 50

อุปสรรคต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

ที่พบได้เสมอ คือ

  • การไม่ได้รับการสนับสนุนอย่างเพียงพอจากบุคลากรสาธารณสุข
  • การขาดข้อมูลที่ถูกต้อง
  • การทำงานในสถานประกอบการที่ไม่เอื้อต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
  • การส่งเสริมการตลาดที่ดุเดือดของอุตสาหกรรมนมผง

ขณะนี้ ประเทศไทยกำลังอยู่ระหว่างกระบวนการเสนอกฎหมายเพื่อควบคุมการส่งเสริมการตลาดนมผง เพื่อให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์สากล นอกจากนี้ ควรมีการมุ่งเน้นเพื่อให้เกิดการปกป้องสิทธิของแม่ในสถานที่ทำงานมากขึ้น เช่น การมีมุมนมแม่ และการอนุญาตให้พักบีบเก็บน้ำนมได้

“หลักฐานทางวิทยาศาสตร์และทางเศรษฐศาสตร์เกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้นชัดเจนมาก” นางนีมัท ฮาจีบอย ผู้ประพันธ์รายงานอีกท่านหนึ่งกล่าว “สิ่งที่ต้องการคือความตระหนักว่า การสร้างวัฒนธรรมนมแม่เป็นสิ่งที่จำเป็นเร่งด่วน เพื่อให้แม่และครอบครัวสามารถเลือกสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับลูกได้

นายโธมัส ดาวิน ผู้แทนองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย กล่าวทิ้งท้ายว่า “ในประเทศไทย มีทารกเพียง 1 ใน 8 เท่านั้นที่ได้กินนมแม่อย่างเดียวในช่วงหกเดือนแรก ซึ่งถือเป็นอัตราที่ต่ำมากทั้งๆ ที่นมแม่เป็นของขวัญที่ดีที่สุดที่แม่จะมอบให้แก่ลูกได้ในช่วงหกเดือนแรกของชีวิตแรก การพลาดโอกาสในช่วงนี้ไปอาจไม่สามารถเรียกสิ่งที่สูญเสียไปกลับคืนมาได้” 

ข้อมูลเกี่ยวกับ The Lancet Breastfeeding Series  www.thelancet.com/series/breastfeeding

สถิติที่น่าสนใจหากเลี้ยงลูกด้วย “นมแม่” อย่างเหมาะสม

  • ช่วยให้เด็กมีชีวิตรอดจากโรคอุจจาระร่วงและปอดบวม ปีละ 262 คน ส่งผลให้ลดอัตราการเสียชีวิตของเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี
  • ช่วยให้แม่รอดชีวิตจากโรงมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้น 406 รายต่อปี
  • ประหยัดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเด็กที่ป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วงและปอดบวมถึง 7.6 ล้านเหรียญสหรัฐ (269.8 ล้านบาท)
  • ป้องกันการสูญเสียรายได้ถึง 192.6 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี (6,837.3 ล้านบาท) จากความสามารถของสมองที่เพิ่มขึ้น จากการศึกษา ประมาณการได้ว่า ไอคิวที่มีค่าเพิ่มขึ้น 1 จุด จะสามารถเพิ่มรายได้ในอนาคตได้ถึง 16%
  • ลดค่าใช้จ่ายในครอบครัวที่เกี่ยวเนื่องจากการพาลูกไปรักษาโรคอุจจาระร่วงและปอดบวม เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าเดินทาง ค่าเสียโอกาสในการทำงานของพ่อแม่และผู้ปกครอง
  • ลดค่าใช้จ่ายรายเดือนของครอบครัวได้มากถึง 25.2% เนื่องจากไม่ต้องซื้อนมผง

อมรินทร์เบบี้แอนด์คิดส์หวังเป็นอย่างยิ่งว่าทุกภาคส่วนของประเทศไทย ตั้งแต่ รัฐบาล สังคม ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม รวมถึงครอบครัว จะเห็นความสำคัญของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มาเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้ลูกตั้งแต่ชั่วโมงแรกของชีวิตลูกกันเถอะค่ะ

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up