BPA free สำคัญต่อลูกน้อยอย่างไร?

Alternative Textaccount_circle
event

ตารางเปรียบเทียบคุณสมบัติวัสดุที่นำมาผลิตขวดนมในปัจจุบัน

cats

ชนิดของพลาสติกและการนำไปใช้

  • PET (PETE) หรือ Polyethylene Terephthalate พลาสติก PET เป็นขวดใสใช้บรรจุน้ำดื่ม น้ำอัดลมขนาด 2 ลิตร ขวดน้ำมันพืช และกระปุกเนยถั่ว
  • HDPE หรือ High Density Polyethylene เป็นขวดสีขาว ทึบแสง หรือสีทึบอื่น ๆ มักใช้บรรจุน้ำดื่ม นม ยาเม็ด ผงซักล้าง น้ำยาล้างห้องน้ำ แป้งฝุ่น
  • PVC หรือ Polyvinyl Chloride พลาสติกพีวีซีมักใช้เป็นท่อประปา เฟอร์นิเจอร์ ขวดน้ำ แผ่นฟิล์มถนอมอาหาร ภาชนะบรรจุน้ำสลัดและน้ำยาซักล้าง
  • LDPE หรือ Low Density Polyethylene มักใช้เป็นถุงซักแห้ง ภาชนะเก็บอาหาร สารเคลือบกระป๋อง
  • PP หรือ Polypropylene มักใช้เป็นภาชนะบรรจุอาหาร อาหารทารก ฝาขวด หลอดดูดน้ำ
  • PS หรือ Polystyrene มักถูกนำมาใช้ผลิตถ้วย ชาม ถาดอาหาร ภาชนะบรรจุอาหารกลับบ้าน
  • Other หมายถึงพลาสติกชนิดอื่น ๆ นอกเหนือจากชนิดที่ 1-6 มักเป็นพวก Polycarbonate ซึ่งใช้เป็นภาชนะบรรจุอาหาร ทัพเพอร์แวร์ แกลลอนน้ำดื่ม และขวดนัลจีน (nalgene) รวมทั้งใช้ในการเคลือบด้านในของกระป๋องบรรจุอาหาร (metal can linings)

ในปัจจุบันผลิตภัณฑ์บรรจุอาหารต่างๆ โดยเฉพาะอาหารหรือขวดนมสำหรับทารกนั้น จะพบสัญลักษณ์หรือเครื่องหมาย BPA free ติดอยู่ที่บรรจุภัณฑ์อย่างชัดเจน เปรียบเหมือนส่วนหนึ่งของป้ายโฆษณาเครื่องหมายการค้าที่ขาดไม่ได้ เพิ่อให้ผู้บริโภคได้รู้เท่าทันเกี่ยวกับพลาสติกที่ใช้ในชีวิตประจำวัน

นอกจากภาชนะบรรจุอาหารสำหรับทารกแล้ว BPA free ยังนำไปใช้กับของเล่นพัฒนาการเด็กที่สามารถทนกับการกัดเล่น หรืออมเข้าปากของเด็กอีกด้วย รวมถึง เครื่องมือการแพทย์ เครื่องสำอาง ให้มากขึ้น เพื่อความปลอดภัยในชีวิตประจำวันของผู้บริโภค  ดังนั้น ในการแนะนำการเลือกใช้ของพลาสติกให้ปลอดภัยอาจให้สังเกตจากสัญลักษณ์ BPA free หรือกลุ่มสัญลักษณ์ประเภทของพลาสติกก็จะช่วยให้ผู้บริโภคใช้ของเครื่องใช้พลาสติกได้อย่างปลอดภัยยิ่งขึ้น

ส่วนประเทศไทยก็มีความพยายามที่จะยกเลิกการใช้สาร BPA ในการผลิตพลาสติก โดยเฉพาะขวดนมทารก แต่ก็ดูเหมือนยังต้องใช้เวลาระยะหนึ่ง โดยสาร BPA ถูกห้ามใช้แค่สินค้าเครื่องสำอาง แต่ยังมีข่าวว่า มีขวดนมที่ผลิตจาก Polycarbonate วางจำหน่ายในท้องตลาดมากกว่า 80% และการสุ่มตรวจก็มักพบว่า มีสาร BPA ปนเปื้อนในน้ำนมที่ใช้ขวดนมอีกด้วย !!!

อย่างไรก็ดี คุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นพลิกดูสัญลักษณ์สักนิด ให้อุ่นใจ ก่อนให้ลูกน้อยดื่มกิน ดีกว่านะคะ ด้วยความปรารถนาดีจาก Amarin Baby & Kids


อ้างอิงจาก : www.greenshopcafe.com , www.wongkarnpat.com , www.mom2kids.com , www.babyfirst.co.th

ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก : daily.rabbit.co.th

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up