โรค IPD

IPD โรคติดเชื้อ สาเหตุการตายอันดับ 1 ในเด็ก

Alternative Textaccount_circle
event
โรค IPD
โรค IPD

อาการของโรคไอพีดี

1.การติดเชื้อในระบบประสาท ได้แก่ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เด็กจะมีไข้สูง ซึม อาเจียน คอแข็ง เด็กทารกจะมีไข้สูง ซึม ร้องกวน กระหม่อมโป่งตึง และชัก ถ้ารักษาไม่ทันท่วงทีอาจเสียชีวิต การวินิจฉัยโรคต้องมีการตรวจเพาะเชื้อจากการเจาะกรวดน้ำไขสันหลัง

2.การติดเชื้อในกระแสเลือด เด็กจะมีอาการไข้สูง ร้องกวน เชื้อสามารถกระจายไปสู่อวัยวะอื่นได้ เช่น ปอดอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ การติดเชื้อในกระแสเลือด อาจเกิดการช็อก และเสียชีวิตได้

3.การติดเชื้อที่ทางเดินหายใจส่วนล่าง คือ ปอดอักเสบ เด็กมีไข้ ไอ หอบ ถ้ารุนแรงมากอาจจำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ เนื่องจากภาวการณ์หายใจล้มเหลว

4.การติดเชื้อที่ทางเดินหายใจส่วนบน คือ คออักเสบ หูน้ำหนวก (หรือหูชั้นกลางอักเสบ) และไซนัสอักเสบ ถ้ารักษาไม่ถูกต้องเชื้ออาจลุกลามไปอวัยวะข้างเคียงและสมองได้

ลูกใกล้คนสูบบุหรี่ ยิ่งอาการรุนแรง

เด็กที่ได้รับควันบุหรี่จากคนรอบข้าง จะทำให้ติดเชื้อไอพีดีรุนแรง ลุกลาม และแพร่กระจายมากขึ้น ทำให้ติดเชื้อในกระแสเลือด ติดเชื้อที่เยื่อหุ้มสมอง และติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่าง โดยเฉพาะโรคปอดอักเสบ สาเหตุที่ทำให้ลูกพิการ หรือเสียชีวิตนั้น อาจเป็นเพราะพ่อแม่ไม่ทราบว่าลูกติดเชื้อไอพีดี เพราะเชื้อชนิดนี้แสดงออกมาเหมือนโรคทั่วไป จึงคิดว่าลูกน้อยเป็นไข้หวัดธรรมดา จึงปล่อยทิ้งไว้ไม่รีบรักษา ซึ่งทำให้เด็กเสียชีวิตภายในเวลาอันรวดเร็ว หรือเกิดพิการ ปัญญาอ่อนได้

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

การรักษาโรคไอพีดี

สามารถรักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะ ถ้าเป็นการติดเชื้อที่ไม่รุนแรง เช่น คออักเสบ น้ำหนวก หรือไซนัสอักเสบ สามารถรับประทานยาได้ แต่ถ้าติดเชื้อรุนแรง ต้องรักษาตัวที่โรงพยาบาล และให้ยาปฏิชีวนะทางเส้นเลือด พร้อมทั้งรักษาตามอาการ เช่น การหายใจ ยากันชัก เป็นต้น

การรักษาอาการรุนแรง จำเป็นต้องรักษาให้ทันท่วงที เช่น การติดเชื้อที่เยื่อหุ้มสมอง อาจทำให้เด็กชัก เกิดความพิการทางสมอง ปัญญาอ่อนได้ หรืออาจเกิดการดื้อยา ทำให้ยากต่อการรักษา ทำให้เกิดความพิการ และเสียชีวิตได้

เด็กที่เป็นกลุ่มเสี่ยงโรคไอพีดี

1.เด็กที่มีสุขภาพดีอายุน้อยกว่า 2 ปี

2.เด็กที่เป็นโรคหัวใจ โรคปอด โรคตับเรื้อรัง

3.เด็กที่ไม่มีม้าม หรือม้ามทำงานไม่ดี

4.เด็กที่อยู่สถานเลี้ยงเด็กกลางวัน

5.เด็กที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง

6.เด็กที่มีน้ำไขสันหลังรั่ว

IPDการป้องกันโรคไอพีดี

1.สอนให้ลูกน้อยมีสุขภาพอนามัยที่ดี ล้างมือบ่อยๆ และปิดปาก ปิดจมูกทุกครั้งเมื่อไอ หรือจาม

2.หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับคนที่ป่วย หรือเป็นไข้หวัด และให้ลูกกินนมแม่สร้างภูมิคุ้มกันได้ดีที่สุด

3.ควรฉีดวัคซีนป้องกันตั้งแต่ยังเล็ก โดยแบ่งช่วงระยะในการฉีดวัคซีนตามช่วงอายุ คือ 2, 4 , 6 และ 12-15 เดือน สำหรับเด็กที่ไม่เคยฉีดวัคซีนป้องกันโรคไอพีดีมากกว่า 2 ขวบ ขึ้นไป ควรได้รับการฉีด 1 ครั้ง ซึ่งนอกจากจะช่วยป้องกันโรคปอดอักเสบแล้ว ยังช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อไอพีดีที่อาจจะเกิดขึ้นภายหลัง

เครดิต: สยามรัฐ, ผู้จัดการออนไลน์, ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ

อ่านเพิ่มเติม คลิก!!

ตารางวัคซีน 2564 ปีนี้มีปรับรายละเอียด? ลูกต้องฉีดอะไร ตอนไหนบ้าง เช็กเลย!

รู้จักไอพีดี ภัยในเด็ก กับการป้องกันดีกว่าการรักษา

ไอพีดี… ภัยร้ายในเด็ก

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Save

Save

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up