ลำไส้กลืนกัน

ลำไส้กลืนกัน ความเจ็บปวดของลูกน้อยที่บอกไม่ได้

Alternative Textaccount_circle
event
ลำไส้กลืนกัน
ลำไส้กลืนกัน

อันตรายของลำไส้กลืนกัน

รศ.นพ. รวิศ เรืองตระกูล ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้ให้ข้อมูลไว้ว่า อาการลำไส้กลืนกัน จะมีอาการปวดท้อง กลับมาสงบอยู่ชั่วขณะ และปวดท้องขึ้นมาอีก พร้อมกับอาการอาเจียน ในระยะหลังจะมีสีน้ำดีปน เนื่องจากมีการอุดตันของลำไส้ อาการปวดท้องจะเกิดขึ้นเป็นพักๆ เมื่อลำไส้กลืนกันมากขึ้น จะเริ่มขาดเลือด ทำให้ถ่ายเป็นเลือด มีลักษณะสีคล้ำปนมูก และมีไข้ พร้อมทั้งมีอาการซึม

ลำไส้กลืนกัน

วิธีวินิจฉัยโรคมี 2 วิธี คือ อัลตร้าซาวด์ และสวนลำไส้ใหญ่ด้วยสารทึบรังสี โรคนี้เป็นโรคที่พบค่อนข้างบ่อย อันตรายถึงแก่ชีวิต เนื่องจากเมื่อลำไส้กลืนกันนานๆ ก็จะเกิดลำไส้ขาดเลือด จนมีการเน่าตายของลำไส้ จึงต้องรักษาอย่างเร่งด่วน

banner300x250

การรักษาลำไส้กลืนกัน

1.การดันลำไส้ ส่วนที่เคลื่อนตัวเข้าไปให้ออกมา โดยใช้แรงดันผ่านทวารหนัก อาจใช้การสวนลำไส้ใหญ่ด้วยสารทึบรังสี หรือก๊าซเป็นตัวดัน ถ้าทำสำเร็จก็ไม่จำเป็นต้องผ่าตัด สามารถรับประทานอาหารได้ภายใน 1-2 วัน หลังจากสวนลำไส้ และกลับบ้านได้ภายใน 2-3 วัน โดยไม่มีอาการลำไส้กลืนกันอีก

ลำไส้กลืนกัน

2.การผ่าตัด ศัลยแพทย์จะใช้มือบีบดัดลำไส้ส่วนที่กลืนให้คลายตัวออกจากกัน มีผู้ป่วยส่วนน้อยที่มีการเน่าตาย หรือแตกทะลุลำไส้ จำเป็นต้องผ่าตัดลำไส้ที่เน่าออก และต่อลำไส้ส่วนที่ดีเข้าหากัน

โรคลำไส้กลืนกัน เป็นโรคร้ายแรง และเฉียบพลัน ปัญหาที่พบบ่อยคือ คุณพ่อ คุณแม่ ไม่ทราบว่าลูกป่วยเป็นโรคนี้ เมื่อเห็นลูกปวดท้อง อาเจียน มีไข้ ก็นึกว่าเป็นลำไส้ใหญ่อักเสบ ติดเชื้อ หรือโรคบิด ไปซื้อยามารับประทานเอง จนลำไส้เริ่มขาดเลือด ถ่ายเป็นมูกเลือด จึงพามาหาคุณหมอ ทำให้ได้รับการรักษาช้าเกินไป ดังนั้นถ้าลูกมีอาการเหล่านี้แล้ว รับพาไปหาคุณหมอเพื่อทำการรักษาให้ทันท่วงทีนะคะ

เครดิต: Bee Favre, รศ.นพ. รวิศ เรืองตระกูล ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล, http://dynamic.psu.ac.th

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up