ลักษณะนิสัยทารก

“8 ลักษณะนิสัยทารก” ลูกเป็นเด็กแบบไหน? ต้องเลี้ยงให้ถูกทาง!

Alternative Textaccount_circle
event
ลักษณะนิสัยทารก
ลักษณะนิสัยทารก

8 ลักษณะนิสัยทารก ที่คุณยังไม่เคยรู้มาก่อน !! 

1. ไวต่อสิ่งเร้า หรือ ทนต่อสิ่งเร้า

สังเกตอย่างไร ลูกที่ไวต่อสิ่งเร้ามักจะงอแงอย่างรวดเร็ว เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนไป ตั้งแต่เสียงดัง คนเยอะ ผ้าอ้อมแฉะ ร้อนไป หรือหนาวไป หรือเขาเป็นเด็กที่ทนกับสิ่งเร้าได้มาก ผ้าอ้อมเปียกก็ไม่โยเย ร้อนไปนิด เย็นไปหน่อยก็อยู่ได้

ควรเลี้ยงอย่างไร สำหรับลูกที่อ่อนไหวต่อสิ่งแวดล้อม วิธีรับมือที่เหมาะคือทำกิจกรรมอย่างค่อยเป็นค่อยไป ไม่กระตุ้นหรือเร้าจนเกินไป เช่น พาเขาไปอยู่ในที่ค่อนข้างสงบ แสงไฟไม้จ้าหรือสว่างเกินไป ยามจะนอน ฯลฯ

สำหรับลูกน้อยจอมอึด ต้องขอแรงคุณพ่อคุณแม่ขยันสอดส่องดูแลความเรียบร้อยของลูก เช่น ผ้าอ้อมแฉะไหม ลูกถูกยุงกัดหรือมดกัดบ้างไหม เพราะเขาอาจจะอึดจนไม่ได้ร้องงอแงออกมาให้เรารู้ก็ได้

2. มาดนิ่ง หรือ ซุกซน

สังเกตอย่างไร ลูกชอบนั่งเล่นอยู่บนเก้าอี้เด็ก พลางสังเกตสิ่งรอบตัวแบบเงียบๆ เปลี่ยนผ้าอ้อม อาบน้ำก็อยู่นิ่งได้ หยอกล้อคุยกันไปจนเสร็จภารกิจ หรือว่าเป็นแบบไม่ค่อยจะยอมอยู่นิ่งๆ เอาซะเลย อลเวงกันทุกทีที่เปลี่ยนผ้าอ้อม (หรือทุกภารกิจ)

ควรเลี้ยงอย่างไร ถ้าลูกชอบอยู่นิ่งๆ ช่วยกระตุ้นให้สนุกกับการเคลื่อนไหวมากขึ้น จะได้ใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่-มัดเล็กมากขึ้น เช่น พาลูกสนุกกับการขยับแขนขาออกกำลังกาย หรือใช้ผ้าขนหนูม้วนวางไว้ด้านหลังตัวลูกแล้วสอดผ่านรักแร้ดึงปลายผ้าขนหนูสองข้างขยับตัวลูกขึ้นลง หรือง่ายกว่านั้นจับเจ้าตัวน้อยกลิ้งตัวไปมาบนลูกบอล

ส่วนลูกที่เคลื่อนไหวมากจนเกินไปข้อดีคือ ลูกอาจจะเดินได้เร็ว แต่แบบนี้ต้องระวังเรื่องอุบัติเหตุเจ็บเนื้อเจ็บตัว หรืออันตรายจากข้าวของรอบตัว ต้องป้องกันด้วยการเก็บของชิ้นเล็กชิ้นน้อยที่อยู่รายรอบให้พ้นตา พ้นมือ ตลอดจนจำกัดอาณาเขตความซนของลูก

3. ความเป๊ะ: เป็นเวลาหรือเอาแน่ไม่ได้

สังเกตอย่างไร ลูกมักจะกิน นอน ขับถ่ายอย่างเป็นเวลา หรือเขาเปลี่ยนเวลาได้ตลอด

ควรเลี้ยงอย่างไร ลูกที่ทำอะไรเป็นเวลา เป็นเรื่องดีอยู่แล้ว ทำให้พ่อแม่วางแผนทำอะไรได้ง่ายขึ้น เมื่อลูกโตขึ้นก็จะค่อยๆยืดหยุ่นตัวเองได้มากขึ้น เช่น อาจจะผิดเวลานอนกลางวันไปบ้าง สำหรับลูกที่ทำอะไรไม่เป็นเวลา ก็ไม่เป็นไร พ่อแม่เพียงค่อยๆสร้างเสริมกิจวัตรที่คุ้นเคยให้กับลูก เช่น นั่งกล่อมเขาบนเก้าอี้โยกตัวเดิม ปลอบประโลมด้วยวิธีที่เขาชอบ และพยายามพาเขาเข้านอนเป็นเวลา สิ่งสำคัญไม่ใช่การสร้างตารางเวลาใหม่ให้ลูก แต่ช่วยให้เขา “คุ้นชิน” กับกิจวัตรของเขา ซึ่งจะช่วยให้ลูกรู้สึกสบายใจและสงบมากขึ้น

4. ขี้เล่น หรือ ขี้ระแวง

สังเกตอย่างไร ลูกมักจะร่าเริง หัวเราะอืออาได้เวลาที่คนไม่คุ้นเคยเข้ามาหาหรืออุ้ม หรือต่อให้ตรงรี่เข้ามาทักทายหรือจู่โจมเข้ามาอุ้มก็ยังยิ้มร่า ชอบใจได้ หรือลูกมักจะระแวง ยิ้มไม่ออก แถมเบะใส่เวลาเจอคนแปลกหน้า หรือแม้จะเป็นคุณปู่คุณย่าคุณตาคุณยายที่ใจดีก็ตาม

ควรเลี้ยงอย่างไร ถ้าลูกสนุกกับผู้คน ควรสนับสนุนเรื่องการมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นๆ เช่น ไปเล่นกับเด็กแถวบ้านถ้าคุณมีเวลาจะไปเพลย์กรุ๊ปบ้าง หรือพาลูกออกไปทำธุระนอกบ้านด้วยกัน

สำหรับลูกที่ออกจะขี้ระแวง อย่าผลักไสหรือบังคับเขาให้ต้องกล้ากับคนแปลกหน้า ในสถานการณ์หรือสิ่งแวดล้อมที่ไม่คุ้นเคย ค่อยๆให้ลูกปรับตัวจนมีท่าทีที่ผ่อนคลาย เช่น เริ่มอยากลงจากตักแม่ หรืออืออาทักทายคนที่พบเจอเสียก่อน อย่างไรก็ดี แม้แต่เด็กที่ไม่กลัวคนก็ยังมีช่วงเวลาติดแม่ และกลัวคนแปลกหน้า ซึ่งมักจะเริ่มเป็นตอนอายุราว 9 เดือน และค่อยๆ ปรับตัวได้ดีขึ้นจนอายุราว 1 ขวบ 6 เดือน

อ่านต่อ >> “8 บุคลิกลักษณะ ในเด็กทารก” คลิกหน้า 3 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up