4 วิธีช่วยลูกโตยามมีปัญหากับเพื่อนรัก

Alternative Textaccount_circle
event

หากลูกสาววัย 9 ขวบ เล่นสนุกเฮฮากับสองพี่น้องที่อยู่ซอยเดียวกันมาตั้งนาน จนกระทั่งมีเพื่อนใหม่ที่น่าสนใจกว่าย้ายมาอยู่ข้างบ้าน ลูกเลิกสนใจเด็กสองคนนั้น แล้วหันไปสนิทสนมกับเพื่อนใหม่ทันทีจนคุณแม่ประหลาดใจมาก แต่พอผ่านไปได้สัก 3 สัปดาห์ สาวน้อยก็ต้องเป็นฝ่ายงงบ้าง เมื่อถูกเพื่อนใหม่เมินใส่แบบไม่มีเหตุผล

มิตรภาพเป็นสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับเด็กวัยนี้ แต่รูปแบบความสัมพันธ์ของพวกเขากลับไม่มั่นคงเหมือนพวกผู้ใหญ่ ทั้งนี้เพราะเด็กๆ ยังไม่เข้าใจถึงบทบาทและความรับผิดชอบต่อความสัมพันธ์ดีนัก

หากลูกของคุณกำลังเจอสถานการณ์เพื่อนรักเพื่อนร้างอยู่ ลองช่วยเหลือด้วยวิธีเหล่านี้

1. ให้ความเห็นใจ

สิ่งสำคัญที่สุดก็คือ อย่าดูถูกความเศร้าของลูกว่าเป็นเรื่องเด็กๆ หรือพยายามขจัดมันออกไปโดยที่เขาไม่ยินยอม ทำตัวเป็นแบ็กอัพที่คอยรับฟังและให้กำลังใจ คุณอาจแชร์ประสบการณ์สมัยเด็กกับลูกเพื่อให้เขารู้สึกดีขึ้นว่า อย่างน้อยเขาก็ไม่ได้เป็นคนเดียวที่ถูกเพื่อนทิ้ง

2. อย่าวิจารณ์คู่กรณี

คุณอาจโกรธแทนลูกได้ แต่อย่าต่อว่าเพื่อนของเขา ปล่อยให้เด็กๆ จัดการเรื่องระหว่างกันเองจะดีกว่า เดี๋ยวเขาเกิดกลับมาคืนดีกัน คุณแม่จะกลืนน้ำลายตัวเองเสียเปล่าๆ

3. หาต้นตอ

บางครั้งหนูก็ไม่รู้หรอกว่าตัวเองไปเผลอทำลายความรู้สึกดีๆ ของเพื่อนเข้าตอนไหน ลองถามว่า ก่อนหน้านี้ลูกกับเพื่อนทะเลาะกัน หรือมีเรื่องโกรธเคืองกันหรือเปล่า มิตรภาพที่ขาดหายอาจถูกสานต่อใหม่ได้

4. เข้าใจ ”มิตรภาพ”Ž อย่างถูกต้อง

ถ้าลูกไม่ได้ทำผิดอะไร แต่กลับถูกเพื่อนหมางเมินอย่างไร้เหตุผล ก็บอกเขาว่าไม่เป็นไร และสนับสนุนให้เขามองหาเพื่อนใหม่ (ที่น่าสนใจกว่าและมั่นคงกว่า)

 

บทความโดย: กองบรรณาธิการนิตยสารเรียลพาเรนติ้ง

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up