พี่ไม่รักน้อง

พี่อิจฉาน้อง ปัญหาใหญ่ แก้ได้ด้วยสติและความรักจากพ่อแม่

event
พี่ไม่รักน้อง
พี่ไม่รักน้อง

พี่อิจฉาน้อง

5. มอบหมายหน้าที่ให้เขาช่วยดูแลน้อง

หาวิธีดีๆ ให้ลูกมีส่วนร่วมในการช่วยเลี้ยงน้อง ในฐานะที่เป็นพี่ต้องคอยดูแลปกป้องน้องจากอันตราย อย่าให้ใครมาจับน้องแรงๆ การมอบหมายหน้าที่ช่วยเลี้ยงน้องแบบง่ายๆ ที่เขาทำได้ตามวัย นอกจากจะช่วยให้ลูกรู้สึกว่าเขาเป็นคนสำคัญแล้ว ยังปลูกฝังความรู้สึกภูมิใจในการเป็นพี่ให้เขาด้วย ซึ่ง มี 3 ขั้นตอนที่สำคัญ ได้แก่

  1. ทำลิสต์งานง่ายๆเป็นงานที่ลูกเล็กสามารถทำให้น้องได้ เช่น การจัดเก็บผ้าอ้อมสะอาดเข้าตู้ การเตรียมผ้าอ้อมผืนใหม่หลังอาบน้ำ การเก็บผ้าอ้อมของน้องที่ใช้แล้วลงตะกร้า เป็นต้น
  2. แบ่งหน้าที่ร่วมกันโดยการอ่านลิสต์งานให้ลูกฟัง แล้วให้เขาตัดสินใจเลือก ว่าเขาอยากจะทำงานอะไรและลิสต์งานที่ลูกไม่ได้เลือกจะแบ่งให้เป็นหน้าที่ของคุณพ่อและคุณแม่ด้วยเช่นกัน
  3. ขอบคุณลูกทุกครั้งหลังจากที่ลูกช่วยทำงานที่ได้รับมอบหมายจนเสร็จแล้ว

สำหรับเด็กแล้ว การมีโอกาสได้เลือก และมีส่วนร่วมทำกิจกรรมกับคุณพ่อ คุณแม่ ถือเป็นรางวัลอันทรงเกียรติที่ทำให้เขารู้สึกมีตัวตน ได้รับการยอมรับ ให้ความสำคัญกับความต้องการ และเคารพการตัดสินใจ ซึ่งเทคนิคนี้นอกจากจะช่วยตอบสนองความต้องการพื้นฐานทางจิตใจอย่างเต็มที่แล้ว ยังช่วยปลูกฝังทักษะงาน และความรับผิดชอบให้ลูกอีกด้วย ส่งผลให้ลูกเปิดใจรับน้องแบ่งปันความรักและความอบอุ่นนี้ให้น้องได้ง่ายขึ้น

DON’Ts คำพูดต้องห้าม ทำลูกคิดติดลบ

  • อย่าจับน้องแรงนะ!
  • ไปเล่นห่างๆ น้องเลย!
  • เป็นพี่ต้องดูแลน้องสิ!

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

6. สร้างเวลาคุณภาพ 20/7

คือการใช้เวลาคุณภาพอยู่ตามลำพังกับลูก 20 นาทีทุกวัน โดยที่ไม่มีน้องเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรม มีขั้นตอนสำคัญ ดังนี้

  • จัดตารางกิจวัตรประจำวันสำหรับเวลาแห่งคุณภาพ 20 นาที ไม่จำเป็นต้องกำหนดเป็นเวลาแน่นอน แต่กำหนดเป็นช่วงเวลาที่สามารถคาดการณ์ได้ เช่น หลังลูกตื่นนอนตอนเช้า ขณะที่น้องของลูกนอนกลางวัน หรือก่อนลูกเข้านอน เป็นต้น
  • ให้ลูกคิดกิจกรรม โดยเริ่มจากการอธิบายว่าลูกและเราจะมีเวลาคุณภาพ 20 นาทีทุกวันในช่วงเวลาตามที่กำหนดไว้ และช่วงเวลานี้จะมีแค่เรา 2 คน (พ่อหรือแม่และลูก) หรือ 3 คน (พ่อแม่ลูก) เราจะทำอะไรด้วยกันก็ได้ตามที่ลูกต้องการ ขอให้ลูกคิดไว้เลยว่า เมื่อถึงเวลาคุณภาพแล้ว เราจะทำอะไรด้วยกันดี
  • ใช้เวลาคุณภาพกับลูก เป็นเวลา 20 นาที โดยทุ่มความสนใจทั้งหมดไปที่ลูกคนพี่เท่านั้น งดอุปกรณ์ติดต่อสื่อสาร และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เน้นการพูดคุย การเล่น และการมีปฏิสัมพันธ์กับลูก

เพราะลูกจะต้องการความรัก ความสนใจมากเป็นพิเศษ เมื่อมีรู้ว่ากำลังมีอีกคนมาแบ่งไป เมื่อวันหนึ่งมีการเปลี่ยนแปลง ด้วยการมีน้องเข้ามาเป็นสมาชิกใหม่ในครอบครัว คุณพ่อคุณแม่ก็ยิ่งจำเป็นจะต้องทำให้ลูกมั่นใจว่าความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตของเขาจะยังคงเดิม เทคนิคนี้จึงเป็นเครื่องรับประกันว่า เขาจะยังคงได้รับความรัก ความสนใจจากพ่อแม่อยู่ และยังเป็นเครื่องมือให้ลูกใช้ยึดเหนี่ยวจิตใจในเวลาที่ต้องรอคุณพ่อคุณแม่ให้เสร็จภารกิจจากการดูแลน้องอีกด้วย

DON’Ts คำพูดต้องห้าม ทำลูกคิดติดลบ

  • ไปเล่นที่อื่นก่อน!
  • แม่ดูแลน้องอยู่ ทำให้ไม่ได้!
  • น้องยังเด็ก หนูโตแล้วต้องหัดทำเอง!

7. อย่าด่วนตัดสินลูกด้วยอารมณ์

โดยเฉพาะอารมณ์โกรธค่ะ บางทีลูกเล่นกับน้องแรงๆ โดยไม่ได้ตั้งใจ ซึ่งทำให้น้องร้องไห้ อย่าเพิ่งดุและลงโทษเขาแรงๆ โดยตัดสินว่าเขาจงใจแกล้งน้อง เพราะจะยิ่งทำให้เขาน้อยใจและเกลียดน้อง อย่าเพิ่งโมโห ใจเย็นเอาไว้ก่อน ปลอบลูกคนเล็กให้หยุดร้องไห้ พอพายุสงบ ให้พูดกับลูกคนโตอย่างตั้งใจ โดยคุกเข่าลงให้ตัวคุณอยู่ระดับเดียวกับเขาและสบตาเขา

ทั้งนี้หากลูกเผลอทำรุนแรงกับน้อง คุณพ่อคุณแม่ควรอธิบายเหตุผลที่ไม่ควรเล่นกับน้องแรงๆ ให้เขาฟังด้วยท่าทีสงบแต่จริงจัง ข้อสำคัญ คุณแม่ต้องอดทน ลูกจะค่อยๆ เข้าใจมากขึ้นได้ตามวัยของเขาเอง

และที่สำคัญคุณพ่อคุณแม่ก็คงบังคับให้พี่น้องรักกันไม่ได้ด้วย สิ่งที่พอจะทำได้ก็แค่คอยควบคุมพฤติกรรมของเด็กๆ ให้อยู่ในขอบเขตที่เหมาะสมเท่านั้น เขาต้องเข้าใจว่า ถึงจะไม่พอใจกันสักแค่ไหนก็ต้องทน พยายามควบคุมอารมณ์และทำดีต่อกันให้ได้ ห้ามรังแกให้อีกฝ่ายเจ็บตัวหรือเจ็บใจเด็ดขาด

อ่านต่อบทความน่าสนใจ คลิก!


ขอบคุณเรื่องราวและภาพจาก : อาจู เจ้าหญิงน้อยจอมแก่น

เรื่อง: ผศ.ดร. ปนัดดา ธนเศรษฐกร  อาจารย์สาขาพัฒนาการมนุษย์  สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว  มหาวิทยาลัยมหิดล

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up