อยากให้ลูกสูง ทำไง

อยากให้ลูกสูง ทำไง กรมอนามัยแนะดื่มนมเพิ่มความสูง

Alternative Textaccount_circle
event
อยากให้ลูกสูง ทำไง
อยากให้ลูกสูง ทำไง

อยากให้ลูกสูง ทำไง กรมอนามัยแนะดื่มนมเพิ่มความสูง

พ่อแม่ทุกคนหวังอยากเห็นลูกน้อยเจริญเติบโตสมวัยทั้งทางกายและทางจิตใจ ในทางกายนั้นเราทราบกันดีว่าการที่ลูกได้รับสารอาหารครบถ้วนตามที่ต้องการจะช่วยให้เด็กเจริญเติบโตได้ดี แต่หากพ่อแม่มุ่งหวัง อยากให้ลูกสูง ทำไง ให้ลูกสูงขึ้นอย่างที่ควรจะเป็น กรมอนามัยแนะนำให้ดื่มนมเพิ่ม และเรามีวิธีการเสริมมาบอกค่ะ

กรมอนามัยแนะนำ อยากให้ลูกสูง ทำไง

นายแพทย์สราวุฒิ บุญสุข รองอธิบดีกรมอนามัย ร่วมประกาศเจตจำนง “กรมอนามัยส่งเสริมให้คนไทยทุกกลุ่มวัยสุขภาพดี ด้วยการกินอาหารครบส่วน ร่วมกับดื่มนมจืด 2 แก้ว ออกกำลังกาย นอนหลับอย่างเพียงพอทุกวัน” ในงานวันดื่มนมโลก ประจำปี 2565 (World Milk Day 2022) ณ อาคารจักรพันธ์เพ็ญศิริ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน กรุงเทพมหานคร

ในงานนี้ภาคีเครือข่ายร่วมงาน อาทิ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ FAO สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ชุมนุมสหกรณ์โคนมแห่งประเทศไทย เครือข่ายนมดี ทุกวัยดื่มได้ทุกวัน กรมส่งเสริมสหกรณ์ สมาคมอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อาหารนมไทย สมาคมอุตสาหกรรมนมและอาหาร สมาคมสัตวบาลแห่งประเทศไทย สสส.  Milk Board และผู้ประกอบการฟาร์มโคนม นมควาย นมแพะ ผู้ประกอบการนมและผลิตภัณฑ์นม

ควรมีนมติดบ้าน เพิ่มการบริโภค เพิ่มความสูง

กรมอนามัยร่วมกับภาคีเครือข่าย ขอความร่วมมือผู้ปกครองช่วยเตรียมนมไว้ที่บ้านสำหรับเด็ก เนื่องจากผลการสำรวจของกรมอนามัยกับสวนดุสิตโพล พบว่า เด็กและวัยรุ่น จะดื่มนมมากขึ้น ถ้ามีนมติดบ้าน เพื่อส่งเสริมโภชนาการให้เด็กไทยไม่อ้วน ผอม เตี้ย พร้อมทั้งกำหนดข้อปฏิบัติ ในการบริโภคอาหาร เพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทย โดยหนึ่งในข้อปฏิบัติ คือ การดื่มนมให้เหมาะสมตามวัย

อยากให้ลูกสูง ทำไง
กรมอนามัยแนะดื่มนมเพิ่มความสูง

นมช่วยให้สูงได้อย่างไร

ดร.สายพิณ โชติวิเชียร ผู้อำนวยการสำนักโภชนาการ กล่าวว่า นมเป็นแหล่งโปรตีนคุณภาพดี แคลเซียมในนมมีปริมาณมาก ดูดซึมได้ดีที่สุด มีความสำคัญมาก ต่อมวลกระดูก และการขยายตัวของกระดูก โดยเฉพาะในวัยเด็กที่กำลังเจริญเติบโต และมีความสำคัญมากขึ้นในช่วงวัยรุ่นที่เริ่มมีช่วงโตเร็ว จะมีการสะสมมวลกระดูกเพิ่มขึ้นมาก หากออกกำลังกายเพิ่มขึ้น ออกมารับวิตามินดีจากแสงแดดที่ช่วยส่งเสริมการดูดซึมแคลเซียมจากนม รับประทานอาหารรบ 5 หมู่ และนอนเพียงพอ ก็จะเติบโตสมวัย

ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสูง

ความสูงที่ไม่เท่ากัน เป็นผลมาจากปัจจัยหลาย ๆ ด้าน ดังนี้

  • พันธุกรรม คิดเป็น 60-80 เปอร์เซ็นต์ ส่วนอีก 20-40 เปอร์เซ็นต์ เป็นผลมาจากปัจจัยอื่น ๆ
  • เพศ ชายและหญิงมีช่วงที่เจริญเติบโตอย่างรวดเร็วแตกต่างกัน ในเพศชาย ช่วงนี้มักเริ่มต้นเมื่ออายุประมาณ 11 ปี และมีอัตราการเจริญเติบโตเร็วสุดที่อายุประมาณ 13 ปี สูงขึ้นโดยเฉลี่ย 4 นิ้วต่อปี ส่วนเพศหญิงมักเริ่มต้นเมื่ออายุประมาณ 9-10 ปี และมีอัตราการเจริญเติบโตเร็วสุดที่อายุประมาณ 11-12 ปี สูงขึ้นโดยเฉลี่ย 3 นิ้วต่อปี
  • โภชนาการ อาหารมีความสำคัญอย่างมากต่อการเจริญเติบโต โดยเฉพาะในช่วงวัยเด็ก การได้รับอาหารที่ไม่เหมาะสมหรือไม่เพียงพอ อาจทำให้ลูกตัวเตี้ยกว่าเด็กที่มีโภชนาการดี

อยากให้ลูกสูง ทำไง

นอกจากดื่มนมแล้ว การสร้างพฤติกรรมและทำกิจกรรมที่ช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโต สูงขึ้นได้ ทำได้ดังนี้

  • รับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ โดยเฉพาะผักและผลไม้สด อาหารจำพวกธัญพืช โปรตีน และนม หลีกเลี่ยงการรับประทานน้ำตาลและไขมัน ทั้งนี้ ผู้สูงอายุหรือผู้มีปัญหาสุขภาพบางชนิดที่ส่งผลต่อความหนาแน่นของมวลกระดูก จนทำให้ความสูงลดลง ควรเพิ่มการรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยแคลเซียม เพื่อเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง เช่น ปลา นม ผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากนม พืชตระกูลถั่ว เป็นต้น นอกจากนี้ อาหารที่ให้วิตามินดี เช่น ปลาทูน่า ไข่แดง ก็มีส่วนช่วยสร้างความแข็งแรงของกระดูกได้เช่นกัน
  • หมั่นออกกำลังกาย การออกกำลังกายมีส่วนช่วยเสริมสร้างกระดูก และกล้ามเนื้อให้แข็งแรง ทั้งยังช่วยเร่งการผลิตโกรทฮอร์โมนที่ร่างกายต้องใช้ในการเจริญเติบโต เด็ก ๆ ควรออกกำลังกายทุกวัน วันละอย่างน้อย 1 ชั่วโมง ส่วนผู้ที่ร่างกายหยุดสูงแล้ว การออกกำลังกายจะช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุน ซึ่งเกิดจากการสูญเสียความหนาแน่นของมวลกระดูกและอาจทำให้ความสูงลดลงได้
  • นอนหลับให้เพียงพอ ในวัยเด็กที่ร่างกายยังเจริญเติบโตอยู่นั้น ควรนอนอย่างน้อย 9-11 ชั่วโมง เนื่องจากร่างกายผลิตโกรทฮอร์โมนขึ้นขณะนอนหลับ หากนอนไม่เพียงพอ อาจส่งผลให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนชนิดนี้ และฮอร์โมนชนิดอื่น ๆ น้อยลง ทำให้ร่างกายเจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่
  • จัดระเบียบท่าทางให้ถูกต้อง การยืน เดิน นั่ง นอน หรือทำกิจกรรมต่าง ๆ ในท่าทางที่ไม่ถูกต้อง อาจกระทบต่อส่วนสูงด้วย เช่น การงอหลังตลอดเวลาอาจทำให้กระดูกสันหลังผิดรูป รู้สึกปวดคอ ปวดหลัง และดูเตี้ยกว่าปกติ เด็กที่มีปัญหาด้านนี้ แพทย์อาจแนะนำให้ปรับลักษณะท่าทาง หรืออาจใช้อุปกรณ์เสริมเพื่อช่วยจัดระเบียบร่างกายให้อยู่ในท่าทางที่ถูกต้อง

 

ขอบคุณข้อมูลจาก

กรมอนามัย, pobpad

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

รีวิว..“นม UHT” 6 แบรนด์ดังของลูกวัยดื่ม “นมกล่อง” ไหน ? ดื่มแล้วได้สารอาหารสมองดีที่สุด

ชวนเปิดกล่อง ไมโล นมถั่วเหลือง อร่อยไม่เปลี่ยน แพ้นมวัวก็ดื่มได้

นมแพะ ดื่มดีมีประโยชน์ต่อเด็ก จริงหรือ?

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up