สื่อออนไลน์

สื่อออนไลน์ กับ 3 อันตรายที่พ่อแม่ต้องป้องกัน

Alternative Textaccount_circle
event
สื่อออนไลน์
สื่อออนไลน์

3.อย่าโพสต์หรือแชร์เนื้อหาที่ไม่เหมาะสม

องค์กรปกป้องสิทธิเด็ก ห่วงคุณพ่อ คุณแม่ในยุคออนไลน์ เรื่องการถ่ายคลิป ถ่ายภาพเด็กๆ แล้วโพสต์แชร์ลงไปบนโลกออนไลน์ เพราะทำให้เกิดความเสี่ยงที่ไม่ปลอดภัยให้กับลูกน้อย เพราะกำลังกลายเป็นดาบสองคม เพิ่มความเสี่ยง จากคลิปวิดีโอที่คุณพ่อ คุณแม่หลายคนคงเคยเห็น

เช่น คุณพ่อแกล้งกินหนอนทอดยั่วยวนให้ลูกน้อยขยะแขยง จนลูกน้อยอาเจียนออกมา หรือคลิปที่คุณแม่เอาตะปูปลอมเสียบนิ้วตัวเอง ดึงเข้าดึงออก เพื่อพิสูจน์ว่าลูกเป็นห่วงตัวเองหรือไม่ หรือคลิปคุณครูให้เด็กนักเรียนกราบที่หน้าเสาธง ฯลฯ พฤติกรรมเหล่านี้ ถือเป็นการทารุณกรรมเด็กโดยตรง เป็นการทำร้ายจิตใจ ทำให้เด็กหวาดกลัว แล้วยิ่งมีการนำคลิปไปเผยแพร่ ยิ่งเป็นการตอกย้ำตราบาปให้เด็ก

คุณพ่อ คุณแม่จึงไม่ควรมองการโพสต์ หรือแชร์คลิปตลกๆ ของลูก เป็นเรื่องขำขัน หรือสนุกสนาน แต่ควรมองถึงจิตใจ และความรู้สึกของลูก อย่าใช้ความเดือดร้อนของลูกมาเป็นเครื่องมือในการผ่อนคลายความเครียด

สื่อออนไลน์นอกจากนี้ ยังมีหลายครั้งที่การถ่ายรูปลูกหลาน แล้วนำมาแชร์ให้คนอื่นเชยชมความน่ารักบนโลกออนไลน์ที่เป็นสาธารณะ กลายเป็นความเสี่ยงที่คนร้ายจะจดจำใบหน้า หรือข้อมูลบางส่วนในภาพ หรือนำภาพไปตัดต่อขอรับบริจาค ขอทาน หรือถึงขั้นลักพาตัว

ธาม เชื้อสถาปณศิริ นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อออนไลน์ เผยว่า ไม่ควรโพสต์ชื่อลูก หรือชื่อโรงเรียน

“เดี๋ยวนี้ พ่อแม่มักทำให้ลูกเป็นเหมือนดารา ลูกน่ารักอัพวิดีโอคลิป ซึ่งไม่ควรเลย นอกจากจะผิดกฎหมายแล้ว ยังละเมิดสิทธิ์เด็กด้วย อันที่จริง เด็กอายุต่ำกว่า 13 ปี ไม่ควรเข้าเล่นโซเชียลมีเดียด้วยซ้ำ แต่กลายเป็นว่าทุกวันนี้ เด็กโกงอายุ โกงวันเดือนปีเกิด เพื่อสมัครใช้งานสื่อโซเชียลมีเดีย สุดท้ายก็ถูกล่อลวงได้ง่าย”

ข้อห้ามที่คุณพ่อ คุณแม่ควรจำ เพื่อป้องกันอันตรายกับลูกน้อย ได้แก่ ห้ามโพสต์รูปเปลือยของลูก ห้ามเปิดเผยข้อมูลของลูก ห้ามเปิด location ห้ามโพสต์รูปที่อาจทำให้คนเข้าใจผิด ห้ามเผยแพร่ข้อมูลที่ทำให้ลูกอับอาย และ ห้ามโพสต์รูปลูกที่อาจไม่อยากให้คนอื่นเห็นเมื่อโตขึ้น

การโพสต์รูปลูก ยิ่งมิจฉาชีพมีข้อมูลมากเท่าไหร่ ลูกก็จะเสี่ยงภัยเท่านั้น การโพสต์รูปลูกว่าอยู่ที่ไหน ทำอะไร ยิ่งเสี่ยงเป็น 2 เท่า แม้กระทั่งการถ่ายภาพลูกกับของเล่น อาจทำให้มิจฉาชีพรู้วิธีหลอกล่อว่าลูกของเราชอบอะไรเป็นพิเศษ คุณพ่อ คุณแม่จึงควรระมัดระวัง

ชมคลิปเพื่อสอนลูกน้อย

เครดิต: มูลนิธิแพธทูเฮลท์, ไทยรัฐออนไลน์, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส)

อ่านเพิ่มเติม คลิก!!

ภัยออนไลน์ใกล้ตัวลูกน้อย ที่พ่อแม่ต้องระวัง!

อุทาหรณ์! ลูกติดจอรุนแรงระงับอารมณ์ไม่ได้

หรือ….ลูกกำลังถูกคุกคามทางอินเทอร์เน็ต

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Save

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up