วัคซีน HPV

ใหม่! วัคซีน HPV กันมะเร็งได้ 9 สายพันธุ์ ฉีดได้ถึง 45 ปี

Alternative Textaccount_circle
event
วัคซีน HPV
วัคซีน HPV

ผลข้างเคียงจากการฉีด วัคซีน HPV

การฉีดวัคซีนทั้ง Cervarix, Gardasil และ Gardasil 9 มักจะไม่ได้รับผลข้างเคียงใด ๆ บางคนอาจจะมีผลข้างเคียงเล็กน้อยได้ เช่น ปวดแขนจากการฉีดยา เป็นไข้ คลื่นไส้ ปวดกล้ามเนื้อหรือข้อ ปวดหัว อ่อนเพลีย ในบางกรณีอาจทำให้เกิดอาการแพ้สารที่อยู่ภายในวัคซีนอย่างรุนแรงได้แต่พบได้น้อยมาก

ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคยังระบุเพิ่มเติมว่าการฉีดวัคซีนอาจทำให้หน้ามืด แขนกระตุก หรืออาการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้เช่นเดียวกับหัตถการทางการแพทย์อื่นๆ

สรุปสิ่งที่น่ารู้เกี่ยวกับ วัคซีน HPV

  1. วัคซีนจะมีประสิทธิภาพสูงสูดเมื่อฉีดตอนอายุน้อย
  2. การฉีดวัคซีนก่อนการติดเชื้อจะมีประโยชน์มากกว่าการฉีดหลังจากได้รับเชื้อไปแล้ว แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเคยติดเชื้อแล้วจะฉีดไม่ได้
  3. HPV ติดต่อกันทางเพศสัมพันธ์เป็นหลัก
  4. มะเร็งปากมดลูก ยังสัมพันธ์กับเชื้อไวรัส HPV อีกหลายสายพันธุ์ แต่หลัก ๆ สายพันธุ์ 16 และ 18 เป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูกถึง 70%
  5. วัคซีนที่ครอบคลุมสายพันธุ์มากกว่าจะสามารถป้องกันการติดเชื้อได้มากกว่า แต่เป็นเพียงการป้องกันการติดเชื้อเท่านั้น ยังไม่มีข้อมูลว่าจะเกิดมะเร็งน้อยกว่าหรือไม่ และสามารถเกิดภูมิข้ามสายพันธุ์ได้บ้าง แต่ไม่ชัดเจนเหมือนวัคซีนสายตรง
  6. ดังนั้น CDC แนะนำว่า ถ้าใครเคยฉีดแบบ 2 หรือ 4 สายพันธุ์ครบแล้วไม่แนะนำให้ไปฉีดแบบ 9 สายพันธุ์เพิ่มเติมอีก แต่ถ้ากำลังฉีดอยู่ยังไม่ครบสามเข็มสามารถเปลี่ยนที่เหลือเป็น 9 สายพันธุ์ได้ มีข้อมูลออกมาบ้างว่าในคนที่เคยได้รับแบบ 4 สายพันธุ์มาแล้วมาฉีดแบบ 9 สายพันธุ์ ก็ปกป้องการติดเชื้อสายพันธุ์อื่น ๆ ได้ดีขึ้น
  7. ไม่มีการป้องกัน 100% ในวัคซีน ต้องใช้มาตรการอื่นร่วมด้วยเสมอ
มะเร็งปากมดลูก
ถึงแม้จะได้รับการฉีดวัคซีน HPV แล้ว ก็ควรเข้ารับการตรวจภายในเป็นประจำ

อย่างไรก็ตาม เมื่อฉีด วัคซีน HPV หรือวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกแล้ว ไม่ได้หมายความว่าจะไม่เป็นมะเร็งปากมดลูกอีกแล้ว เพราะนอกเหนือจากสายพันธุ์ 16 และ 18 ยังไม่ไวรัสเอชพีวีสายพันธุ์อื่นที่สามารถก่อโรคมะเร็งปากมดลูกได้อีก (แต่มีการวิจัยพบว่า วัคซีน HPV ที่ใช้อยู่ขณะนี้  สามารถป้องกันการติดเชื้อข้ามสายพันธุ์ได้ (Cross protection) จึงทำให้ประสิทธิภาพของวัคซีนเพิ่มขึ้นกว่า 90%) และสำหรับผู้ที่ฉีดวัคซีนแล้ว ก็ยังจำเป็นต้องมาตรวจภายในและตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก เนื่องจากยังมีความเสี่ยงติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์อื่นที่วัคซีนไม่ครอบคลุมอีกด้วย

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

กรมอนามัยเผย! กินไขมันมากไป เสี่ยงโรค “เป็นสาวก่อนวัย”

ถุงน้ำรังไข่ หรือ เดอร์มอยด์ซีสต์ อีกหนึ่งโรคใกล้ตัวที่ผู้หญิงต้องระวัง!

วัคซีนเอชพีวี ปี 2560 ฉีดให้เด็กหญิงชั้น ป.5 ทั่วประเทศป้องกันมะเร็งปากมดลูก

 

ข้อมูลอ้างอิงจาก : เพจอายุรศาสตร์ ง่ายนิดเดียว, สมาคมมะเร็งนรีเวชไทย, ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, honestdocs, โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาการุณย์

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up