6 สิ่งที่สกัดกั้นการพัฒนา ความคิดสร้างสรรค์ ของลูก

event

ความคิดสร้างสรรค์

อันที่จริงแล้วความคิดสร้างสรรค์เป็นทักษะที่สามารถฝึกฝน ส่งเสริมและพัฒนาได้ในเด็กทุกคน พ่อแม่ถือเป็นบุคคลสำคัญที่จะช่วยพัฒนาทักษะด้านนี้ให้กับลูก โดยการดูแลและสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เพื่อให้ความคิดสร้างสรรค์ของลูกได้รับการพัฒนา ขัดเกลา อย่างสมบูรณ์ ทั้งนี้แนวทางในการสร้างเสริมทักษะความคิดสร้างสรรค์ให้แก่ลูกมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

1. ปลูกฝังทัศนคติแห่งการคิดสร้างสรรค์

ทักษะการคิดสร้างสรรค์เป็นทักษะที่มีความเกี่ยวข้อง เชื่อมโยงกับทัศนคติและบุคลิกภาพของบุคคลนั้นๆเป็นอย่างมาก ซึ่งทัศนคติและบุคลิกภาพที่เอื้อต่อการคิดสร้างสรรค์ที่พ่อแม่ควรสร้างให้เกิดกับลูก ได้แก่

  • เปิดกว้างทางความคิด
  • ทัศนคติเชิงบวกต่อสถานการณ์ต่างๆ
  • มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์

2. กระตุ้นให้คิดสร้างสรรค์

การคิดสร้างมีลักษณะเป็นกระบวนการ เป็นทักษะที่ต้องอาศัยการฝึกฝนให้เกิดความเคยชินจนเป็นนิสัย พ่อแม่จึงจำเป็นต้องกระตุ้นให้ลูกได้ฝึกการคิดสร้างสรรค์อยู่เสมอผ่านเหตุการณ์ต่างๆ ในชีวิตประจำวัน โดยมีขั้นตอนสำคัญได้แก่

  • กำหนดเป้าหมายของการคิด
  • แสวงหาแนวคิดใหม่
  • ประเมินและคัดเลือกแนวทาง

3. สนับสนุนวัตถุดิบแห่งการคิดสร้างสรรค์

การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์คือ การพยายามแหวกไปจากความเคยชินเดิมๆ เพื่อค้นหาสิ่งใหม่ พ่อแม่จึงเป็นบุคคลสำคัญที่จะนำลูกไปสู่ความแปลกใหม่ ได้เรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้สะสมประสบการณ์ความรู้เพื่อนำวัตถุดิบเหล่านั้นไปต่อยอด สร้างสรรค์สิ่งใหม่ต่อไป ยิ่งมีวัตถุดิบหลากหลายมากเท่าไรก็ยิ่งสร้างสรรค์ต่อยอดได้มากขึ้นไปมากเท่านั้น ตัวอย่างวัตถุดิบในการคิดสร้างสรรค์ที่พ่อแม่ควรจัดเตรียมให้กับลูก เช่น จัดหาหนังสือ ตำรา พจนานุกรม การหาความรู้ทางอินเทอร์เน็ต พาลูกไปทัศนศึกษา ท่องเที่ยวในสถานที่ต่างๆ ให้ลูกได้รู้จักพูดคุยกับคนหลากหลายประเภท จัดหาวัสดุอุปกรณ์การประดิษฐ์ การเล่นของลูกที่ไม่ใช่เป็นของเล่นสำเร็จรูป แต่อาจเป็นของเล่นพื้น ๆ ที่หาได้ในบ้าน หรือของเหลือใช้ต่างๆ เพื่อฝึกให้ลูกได้สร้างสรรค์จินตนาการกับสิ่งที่มีอยู่แทนการซื้อของเล่นสำเร็จรูป

การพัฒนาทักษะการคิดสร้างสรรค์ให้งอกงามแก่ลูกๆ นั้น ไม่ใช่เรื่องยากเนื่องจากเด็กทุกคนมีเมล็ดพันธ์ุนี้อยู่แล้ว พ่อแม่เพียงแต่เป็นผู้สร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมให้เมล็ดพันธุ์ได้เติบใหญ่พร้อมเฝ้ามองการเติบโตของดอกผลแห่งความคิดสร้างสรรค์นั้นที่ได้ดูแลมาเป็นอย่างดี

การให้การสนับสนุนและกำลังใจเด็ก เมื่อเด็กๆ แสดงความสามารถหรือความถนัดต่างๆ เช่น ความสามารถที่จะตั้งคำถามหลายคำถาม มีความจำที่ดี มีทักษะในการเริ่มต้นอ่าน มีทักษะทางด้านศิลปะ หรือความสามารถพิเศษอื่นๆ ผู้ใหญ่ควรสนับสนุนให้เด็กเพิ่มพูนทักษะต่อไป การแสดงความคิดเห็นอย่างจริงใจ และตรงกับความเป็นจริงก็เป็นการให้กำลังใจเด็กเช่นกัน โดยการพูดถึงสิ่งที่เด็กทำอย่างเป็นรูปธรรม ส่งเสริมให้เด็กประเมินผลงานของตนเอง ช่วยเสริมสร้างทักษะต่างๆให้เด็กทางอ้อม เป็นต้น

ที่สำคัญคือต้องทำให้เด็กรู้สึกดีเกี่ยวกับความสามารถของตนเอง และพอใจภูมิใจในผลงานที่ตนทำเสมอ พ่อแม่ควรจัดสิ่งแวดล้อมและกิจกรรมที่เด็กไม่รู้สึกว่ามีคำตอบเพียงคำตอบเดียวสำหรับปัญหาทุกปัญหา แต่ผู้ใหญ่ควรส่งเสริมให้เด็กได้เห็นว่ามีวิธีแก้ปัญหาได้หลายวิธี และสนับสนุนให้เด็กใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหาอยู่เสมอด้วยนะคะ

อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก!


ขอบคุณข้อมูลจาก : childhoodboooc.blogspot.com , www.preschool.or.th , www.manager.co.th , www.womanlearns.com

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up