ถึงโตแล้ว ก็ยังงุ่มง่ามอยู่

Alternative Textaccount_circle
event

เด็กส่วนใหญ่มักเลิกซุ่มซ่ามไปเองเมื่ออยู่ในวัยประมาณ 8 หรือ 9 ขวบ

 
ในบางกรณี  การทำของหล่นหรือการวิ่งชนของอาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงปัญหาทางด้านร่างกายหรือระบบประสาท ถ้าอยู่ดีๆ  ลูกก็มีอาการซุ่มซ่ามทั้งๆ ที่ไม่เคยเป็นมาก่อนหรือเริ่มมีปัญหาที่โรงเรียน  คุณต้องพาเขาไปพบคุณหมอเพื่อการตรวจและวินิจฉัยที่ถูกต้อง

 
อย่างไรก็ตาม  เด็กส่วนใหญ่มักต้องการเวลาและโอกาสในการฝึกฝนเพิ่มขึ้นอีกสักนิด  เพื่อพัฒนาการใช้กล้ามเนื้อต่างๆ ให้ประสานกันได้ดียิ่งขึ้น  คุณอาจช่วยให้ลูกผ่านพ้นช่วงนี้ไปได้โดยไม่เจ็บตัวมากนักโดย

 
– เข้าใจว่าอาการแบบนี้ทำให้ลูกหงุดหงิดมากเพียงใด  เพราะการเป็นเด็กที่สะดุดเท้าตัวเองล้มเป็นประจำไม่ใช่เรื่องสนุกอะไรเลย  และการเอาความซุ่มซ่ามของลูกมาเล่าเป็นเรื่องสนุกหรือการตำหนิลูก  คงไม่ได้ทำให้สถานการณ์ดีขึ้น

 
– ช่วยเสริมสร้างทักษะให้ลูก  คาราเต้และศิลปะป้องกันตัวอื่นๆ  จะช่วยพัฒนาการใช้กล้ามเนื้อให้ประสานกันได้ดียิ่งขึ้น ทั้งยังไม่ใช่กีฬาแบบเป็นทีม  จึงไม่ค่อยสร้างแรงกดดันให้เด็กสักเท่าไร  ตอนอยู่บ้าน  คุณอาจเปิดเพลงให้ลูกเต้นตามจังหวะหรือให้เขาหัดเต้นตามดีวีดี  เพราะการเคลื่อนไหวร่างกายตามจังหวะที่ได้ยิน  จะทำให้เขาได้ฝึกฝนเรื่องการเคลื่อนไหวให้สอดคล้องกับการสั่งการของสมอง

 
– แบ่งการฝึกเป็นขั้นตอนแบบง่ายๆ  ถ้ามีทักษะบางอย่างที่ลูกยังทำได้ไม่ดีนัก  คุณก็ควรหาวิธีช่วยลดความยากในการฝึกทักษะนั้น  โดยแบ่งเป็นขั้นตอนแบบง่ายๆ และทำให้เขาดูเป็นตัวอย่าง

 
– ให้ลูกทำอะไรๆ ช้าลงบ้าง  บางครั้งการทำจานแตกก็เกิดขึ้นเพราะความรีบร้อนที่จะไปโน่นมานี่ของตัวเด็กๆ เอง  เตือนลูกให้ทำอะไรๆ ช้าลงสักนิด  หรือคอยเช็คดูว่าเขาผูกเชือกรองเท้าเรียบร้อยดีแล้วหรือยัง

 
– เป็นกำลังใจให้ลูกพยายามต่อไปให้สำเร็จ  การฝึกฝนจะทำให้เขาทำอะไรได้ดีขึ้น  เช่น  อาจให้เขาฝึกยกเสื้อผ้ากองที่ซักเรียบร้อยแล้วไปเก็บในห้องโดยไม่ทำหล่นเลยสักชิ้น  หรือฝึกรับ – ส่งลูกบอลจนกว่าจะรับได้ในที่สุด

 

 

บทความโดย: กองบรรณาธิการนิตยสารเรียลพาเรนติ้ง

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up