Kid safety – ช่วงให้นม ใช้ยาอย่างไร แม่และเบบี๋ปลอดภัย

Alternative Textaccount_circle
event

2. ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด

ต้องปรึกษาแพทย์เรื่องข้อดี-ข้อเสียของยาเหล่านี้ก่อนเริ่มใช้ ยารักษาภาวะซึมเศร้าที่แพทย์มักแนะนำว่าใช้ได้คือเซอร์ทราลีน และพารอกซีทีน แต่ยาฟลูออกซีทีนอาจสัมพันธ์กับการเกิดโคลิกในทารกที่กินนมแม่ได้ ทารกจะร้องไห้ทีละนานๆ อาเจียน นอนได้น้อยลงและถ่ายเหลว โดยเฉพาะแม่ที่มีลูกวัยต่ำกว่า 4 เดือนไม่ควรใช้

ทางเลือกอื่นๆ จำกัดปริมาณยาในนมแม่โดยให้แพทย์กำหนดขนาดยาต่ำสุดที่ยังได้ผลดี และกินยาตอนให้นมเสร็จ บรรเทาอาการซึมเศร้าหลังคลอดด้วยวิธีอื่น เช่น การเข้ากลุ่มคุณแม่มือใหม่ (ที่จะคอยช่วยเหลือและให้กำลังใจซึ่งกันและกัน) หรือการเข้าคลาสออกกำลังกายสำหรับแม่และลูกน้อยshutterstock_47117014

3. เต้านมอักเสบ

หากเต้านมอักเสบเพราะติดเชื้อ คุณหมอมักแนะนำให้กินยาปฏิชีวนะอย่างไดคลอกซาซิลลิน คลอกซาซิลลิน เซฟาเลกซิน หรืออะมอกซีซิลลิน+คลาวูลาเนต เป็นระยะเวลา 7-14 วัน ยาปฏิชีวนะมักจะออกฤทธิ์เร็ว หลังเริ่มใช้ 24-48 ชั่วโมงน่าจะรู้สึกว่าอาการดีขึ้น แต่ต้องกินยาให้ครบตามที่แพทย์สั่ง จะได้ไม่กลับมาเป็นอีก

ทางเลือกอื่นๆ แม่อาจคิดจะเลิกให้นมไปเลยเพราะความเจ็บขณะมีการติดเชื้อ แต่ถ้าระบายน้ำนมในเต้านมข้างที่มีการติดเชื้อได้มากพอ (ผ่านการปั๊มนมหรือการให้นมลูก) จะป้องกันไม่ให้มีแบคทีเรียสะสมในเต้านมมากขึ้นอีกและอาจช่วยย่นระยะเวลาในการติดเชื้อได้ ที่สำคัญ คุณสมบัติด้านการต้านแบคทีเรียของนมแม่จะช่วยป้องกันไม่ให้มีการส่งต่อเชื้อโรคไปยังลูก จึงไม่ต้องเป็นห่วงลูกเลยค่ะ

อ่านต่อ “ช่วงให้นม ใช้ยาอย่างไร แม่และเบบี๋ปลอดภัย” หน้า 3

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up