วัคซีนไข้หวัดใหญ่

วัคซีนไข้หวัดใหญ่ กับเรื่องที่คุณพ่อ คุณแม่ควรรู้

Alternative Textaccount_circle
event
วัคซีนไข้หวัดใหญ่
วัคซีนไข้หวัดใหญ่

5. วัคซีนไข้หวัดใหญ่ มีสายพันธุ์อะไรบ้าง?

วัคซีนไข้หวัดใหญ่วัคซีนไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลจะประกอบด้วย 3 สายพันธุ์ย่อยของเชื้อไข้หวัดใหญ่ คือ สายพันธุ์ A 2 subtypes (H1N1 และ H3N2) และสายพันธุ์ B 1 สายพันธุ์ย่อย โดยองค์การอนามัยโลกจะคัดเลือกสายพันธุ์ย่อยของเชื้อไข้หวัดใหญ่ที่พบการ ระบาดหลายแห่งทั่วโลกและมีแนวโน้มว่าจะเป็นเชื้อต้นเหตุในปีถัดไปของซีกโลก เหนือ และซีกโลกใต้ เพื่อเป็นข้อกำหนดให้ใช้ในการผลิตวัคซีนสำหรับปีถัดไป ในปัจจุบันพบว่ามีการผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่ทั้งชนิดที่มี 3 สายพันธุ์ย่อย (Trivalent Vaccine; TIV) และ 4 สายพันธุ์ย่อย (Quadrivalent Vaccine; QIV) ของ influenza virus ซึ่งคำแนะนำขององค์การอนามัยโลกสำหรับปี พ.ศ. 2558-2559 มีดังนี้ สำหรับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ชนิดที่มี 3 สายพันธุ์ย่อย (Trivalent Vaccine; TIV) ควรประกอบด้วย

  • Influenza A/California/7/2009 (H1N1)pdm09-like virus;
  • Influenza A/Switzerland/9715293/2013 (H3N2)-like virus;
  • Influenza B/Phuket/3073/2013-like virus.

banner300x250สำหรับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ชนิดที่มี 4 สายพันธุ์ย่อย (Quadrivalent Vaccine; QIV) ควรประกอบด้วย 3 สายพันธุ์ย่อยข้างต้นร่วมกับ influenza B/Brisbane/60/2008-like virus โดยการให้วัคซีนไข้หวัดใหญ่ชนิดที่มี 4 สายพันธุ์ย่อย (Quadrivalent Vaccine; QIV) อาจมีประโยชน์ในกรณีที่มีการระบาดของเชื้อ Influenza B ชนิดที่เพิ่มขึ้นในวัคซีนนี้ และเหมาะสำหรับกลุ่มผู้ป่วยเฉพาะ เช่น ผู้ป่วยเด็ก ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ Influenza B และสามารถเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้

6. วัคซีนไข้หวัดใหญ่ กับผลข้างเคียง

การฉีดวัคซีนอาจมีผลข้างเคียงบ้างเล็กน้อย เช่น มีอาการบวม แดง คันบริเวณที่ฉีด มีไข้ ปวดเมื่อย ซึ่งจะหายไปเองใน 2-3   วัน สำหรับอาการแพ้ส่วนประกอบของวัคซีน เช่น เป็นลมพิษ ปากบวม หรือเป็นหอบหืด ซึ่งเกิดขึ้นน้อยมาก ถ้าเกิดขึ้นแล้วให้ดูแลด้วยการประคบน้ำเย็นบริเวณที่ปวด บวม หรือรับประทานยาแก้ไข้ วัคซีนไข้หวัดใหญ่มีประสิทธิภาพในการกระตุ้นให้เกิดการสร้างภูมิคุ้มกัน และก่อให้เกิดผลข้างเคียงน้อยกว่าชนิดอื่น แต่เนื่องจากวัคซีนใหญ่หวัดใหญ่ ผลิตจากไข่ไก่ฟัก สำหรับผู้ที่แพ้ไข่ไก่แบบรุนแรง ไม่ควรฉีดวัคซีนนี้ และผู้ที่มีไข้สูงเฉียบพลัน ควรรอให้ไข้ลดลงก่อน จึงจะฉีดวัคซีน

เครดิต: อาจารย์ จันทนา ห่วงสายทอง ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, นพ.ชนเมธ เตชะแสนศิริ หัวหน้าหน่วยโรคติดเชื้อ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

อ่านเพิ่มเติม คลิก!

ป้องกันไข้หวัดใหญ่ และปอดบวมให้ลูกน้อยช่วงหน้าฝน

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up