ช็อกโกแลตซีสต์

7 อาการเสี่ยง ช็อกโกแลตซีสต์ เป็นแล้วมีลูกได้ไหม ท้องยากจริงหรือ?

Alternative Textaccount_circle
event
ช็อกโกแลตซีสต์
ช็อกโกแลตซีสต์

วิธีรักษาเมื่อตรวจพบช็อคโกแลตซีสต์

  • การใช้ยา ยาทุกตัวที่ใช้ในการรักษาซีสต์ที่รังไข่จะเป็นยาที่มีฤทธิ์คุมกำเนิดทั้งหมด การรักษาโรคด้วยวิธีนี้ทำให้ไม่สามารถมีบุตรได้ เนื่องจากโรคนี้อาศัยฮอร์โมนเพศหญิงที่สร้างจากรังไข่ในแต่ละเดือนทำให้มันโตขึ้น จึงต้องใช้ยาเพื่อยังยั้งไม่ให้ไข่เจริญเติบโตโรคจึงจะสงบลงได้ ดังนั้นวิธีนี้ไม่เหมาะสำหรับคนที่ต้องการจะมีลูก
  • การส่องกล้องผ่าตัดเข้าไปเพื่อลอกซีสต์ออกมา ซึ่งประโยชน์ของการส่องกล่องผ่านั้นทำให้สามารถตรวจรู้ว่าผลของการตรวจชิ้นเนื้อนี้เป็นซีสต์ธรรมดาหรือเป็นมะเร็ง และจัดการกับซีสต์ได้อย่างตรงจุด ถ้าส่องกล้องเข้าไปแล้วพบรอยโรคอื่นๆ ก็สามารถทำลายรอยโรคเหล่านั้นได้ ทำให้มดลูก รังไข่ และอวัยวะต่าง ๆ ที่แวดล้อมอยู่ข้างในปลอดโรคไปได้ระยะหนึ่ง หากตรวจพบว่าท่อรังไข่อุดตันก็สามารถวางแผนการรักษาหรือผ่าตัดเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการมีบุตรในอนาคตได้ วิธีนี้ทำให้ว่าที่คุณแม่ สามารถมีบุตรได้ตามธรรมชาติได้ง่ายขึ้น ซึ่งการผ่าตัดแบบนี้จะฟื้นตัวได้ไวและมีแผลขนาดเล็ก
  • การรักษาร่วม คือการรักษาโดยการผ่าตัด ร่วมกับการใช้ยา โดยอาจพิจารณาให้ยาในช่วงก่อนการผ่าตัด เช่น GnRH analog  เป็นยายับยั้งการหลั่งฮอร์โมนเอสโตรเจนจากต่อมใต้สมอง ทำให้เหมือนเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนชั่วคราว ซึ่งเป็นการใช้ยาในช่วงสั้น ๆ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการผ่าตัด โดยการวิจัยพบว่าสามารถลดขนาดของก้อนช็อกโกแลตซีสต์ลงได้ ทำให้การผ่าตัดทำได้ง่ายขึ้นและเสียเลือดขณะผ่าตัดน้อยลง หรือการใช้ยาในช่วงหลังผ่าตัด เพื่อช่วยควบคุมการกลับเป็นซ้ำของตัวโรค

ทั้งนี้การผ่าตัดก็มีผลข้างเคียงและความเสี่ยงจากการผ่าตัดด้วยเช่นกัน เช่น การดมยาสลบ การสอดกล้องในหน้าท้องที่มีพังผืดเยอะซึ่งเกิดจากเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ อาจจะไปโดนอวัยวะต่าง ๆ ข้างในได้ การลอกซีสต์ออกจากรังไข่อาจทำให้เนื้อที่ดีของรังไข่ที่ติดกับผนังซีสต์ออกไปด้วย เมื่อผนังรังไข่หายไปส่วนหนึ่ง จะทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานของรังไข่ ปริมาณฟองไข่ และการโตของไข่ก็อาจจะลดลงตามไปด้วย ถ้าซีสต์มีขนาดเล็กอาจจะลอกง่ายและไม่มีผลกับผนังรังไข่มาก แต่ถ้าซีสต์มีขนาดใหญ่มาก ต้องลอกเนื้อรังไข่ออกไปมากก็อาจจะทำให้รังไข่ผลิตไข่ได้น้อยลงหรือผลิตไม่ได้เลยก็เป็นได้ ซึ่งก็จะส่งผลต่อการมีลูกยากได้

อย่างไรก็ตามวิธีการรักษาซีสต์ที่เหมาะกับแต่ละคนนั้นจะแตกต่างกันไปตามลักษณะของโรคและความต้องการในการรักษา สำหรับครอบครัวที่ต้องการจะมีลูก คุณหมอก็จะหาวิธีช่วยให้ปลอดโรคและวางแผนสำหรับการมีบุตรต่อไปในอนาคต ทั้งนี้เมื่อตั้งครรภ์ได้อาการของโรคนี้จะดีขึ้น โดยในช่วง 1-2 ปี หลังการผ่าตัด พบว่าเป็นช่วงเวลาทอง (Golden period) ของการมีบุตร ที่ผู้ป่วยจะมีโอกาสประสบความสำเร็จในการตั้งครรภ์สูงขึ้น เนื่องจากในช่วงตั้งครรภ์จะไม่มีประจำเดือนเกิดขึ้นจนถึงหลังคลอดและช่วงให้นมแม่ที่จะทำให้ประจำเดือนมาช้าออกไปอีก โอกาสเกิดประจำเดือนไหลย้อนก็จะน้อยลง

Chocolate Cyst
Chocolate Cyst

ขณะตั้งครรภ์เป็นช็อกโกแลตซีสต์ ควรทำอย่างไร?

สำหรับแม่ท้องที่ตรวจพบว่ามีช็อกโกแลตซีสต์ตอนตั้งครรภ์ คุณหมอก็จะติดตามอาการและขนาดของก้อนถุงน้ำจากการตรวจอัลตร้าซาวด์เป็นระยะ โดยถ้าก้อนขนาดเท่าเดิมหรือเล็กลงก็จะติดตามขนาดของก้อนถุงน้ำต่อไปเรื่อยๆ  ซึ่งส่วนใหญ่มักพบว่าก้อนยุบลงหรือหายไป เนื่องจากตลอดการตั้งครรภ์จะมีฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนสูง ซึ่งจะไปต้านการทำงานของฮอร์โมนเอสโตรเจน ทำให้ช็อกโกแลตซีสต์ฝ่อเล็กลงหรือหายไปในระหว่างตั้งครรภ์ แต่ถ้าก้อนมีขนาดใหญ่ขึ้นหรือโตเร็ว ก็อาจพิจารณาเรื่องของการผ่าตัดเป็นราย ๆ ไป เพื่อป้องกันการแตกของก้อนกรณีที่ก้อนมีขนาดใหญ่มากกว่า 5 เซนติเมตร หรือสงสัยว่าเป็นเนื้องอกชนิดลุกลามในกรณีที่พบว่าก้อนโตเร็ว ซึ่งจะพบได้น้อยมาก

ถึงแม้ว่าโรคช็อกโกแลตซีสต์นั้นแม้จะเป็นโรคเนื้องอกถุงน้ำที่ไม่ใช่เนื้อร้าย ไม่ใช่โรคร้ายที่อันตรายถึงชีวิต แต่ก็นับว่าเป็นโรคของผู้หญิงที่พบได้บ่อยขึ้นในปัจจุบัน ถ้าหากมีอาการแล้วไม่ได้รับการรักษาหรือปล่อยทิ้งไว้ให้มีอาการมาก ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มีลูกยากได้ หรือถ้าเป็นแล้วได้รับการรักษาก็สามารถมีลูกได้ค่ะ ดังนั้นสำหรับคุณผู้หญิงที่ต้องการจะเป็นคุณแม่ควรที่จะวางแผนก่อนมีบุตร และตื่นตัวที่จะมารับการตรวจมากขึ้น เพื่อให้เกิดความสบายใจหายกังวลนะคะ.

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : www.paolohospital.comwww.phyathai.comwww.haijai.com

อ่านต่อบทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

4 โรคของผู้หญิง ที่ไม่ควรมองข้าม อย่าอายที่จะไปตรวจ!

9 คาถากันโรคภัยไข้เจ็บ สวดได้ทุกวันทั้งครอบครัว

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up