เชื้อไมโคพลาสมา

พาลูกน้อยไปที่ชุมชนเมื่อใด ระวังภัยโรคติดเชื้อไมโคพลาสมา

Alternative Textaccount_circle
event
เชื้อไมโคพลาสมา
เชื้อไมโคพลาสมา

อันตรายจากภาวะแทรกซ้อน

ภาวะแทรกซ้อนจากเชื้อไมโคพลาสมา ได้แก่

  • ปอดอักเสบติดเชื้อรุนแรง ส่งผลทำให้ระบบหายใจล้มเหลว ลูกน้อยจะมีอาการหายใจหอบเหนื่อยมากขึ้น ต้องได้รับออกซิเจนเพิ่มเติม
  • กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบเฉียบพลัน หรือ เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ แม้จะพบน้อยมากแต่ทำให้เกิดอาการแน่นหน้าอก เจ็บหน้าอก หรือมีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะได้
  • เม็ดเลือดแดงแตกตัว หรือ ภาวะการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ เป็นอาการที่พบได้น้อย ทำให้ลูกน้อยมีอาการอ่อนเพลีย ผิวหนัง ปาก ลิ้นซีด ปัสสาวะสีเข้ม เลือดออกแล้วหยุดยาก
  • สมองอักเสบ หรือ เส้นประสาทอักเสบ พบได้น้อยมากแต่จะทำให้มีอาการแขนหรือขาอ่อนแรง มีอาการชักเกร็ง ซึม

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

ไมโคพลาสมา

เลี่ยงสถานที่ชุมชน แออัด แหล่งเพาะเชื้อโรคร้ายให้ลูกน้อย

เนื่องจากเชื้อโรคไมโคพลาสมา สามารถแพร่กระจายได้ง่าย เพียงแค่การไอ จาม สัมผัส เพียงคนใกล้ชิดในบ้านจไอ จาม สัมผัสลูกน้อย เมื่อลูกน้อยมาเล่นคลาน สัมผัส ถูกอุ้ม หยิบของมาเล่น ก็ติดเชื้อโรคได้แล้ว นอกจากนี้หากคุณพ่อคุณแม่พาลูกไปเที่ยวสถานที่ที่มีคนพลุกพล่าน เช่น ห้างสรรพสินค้า พาลูกไปเล่นของเล่นต่างๆ ที่ไม่ได้มีการทำความสะอาดฆ่าเชื้อโรค ลูกน้อยก็จะติดเชื้อโรคและเจ็บป่วยได้ทันที

วิธีป้องกันไมโคพลาสมาเพื่อลูกน้อย

ปัจจุบันโรคติดเชื้อไมโคพลาสมา ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน วิธีการป้องกันที่ดีที่สุด เพื่อไม่ให้ลูกรักต้องมาเจ็บป่วยจากเชื้อโรคนี้ คือ

1) คุณพ่อคุณแม่และคนในครอบครัวต้องหมั่นล้างมือบ่อยๆ อย่างน้อยควรล้างมือหลังไอหรือจาม ก่อนสัมผัสหรืออุ้มลูกน้อย เนื่องจากเชื้อโรคพบได้ในอากาศ น้ำมูกและในเสมหะ ซึ่งหากเชื้อโรคที่มือของผู้ที่ติดเชื้อไปจับสิ่งของหรือวัตถุที่ใช้หยิบจับทั่วไป เช่น ลูกบิดประตู โต๊ะเก้าอี้ และของใช้รอบตัวลูกน้อย ก็จะทำให้ลูกน้อยติดเชื้อโรคไปด้วยได้แล้ว

บทความแนะนำ ลูกติดเชื้อในกระแสเลือด เพราะแม่ล้างมือไม่สะอาด

2) หลีกเลี่ยงการพาลูกน้อยไปในสถานที่ที่มีกลุ่มคน ชุมชน สถานที่แออัดที่มีคนอยู่ร่วมกันมากๆ  และอยู่ให้ห่างจากคนในครอบครัวที่เจ็บป่วยไม่สบาย

3) กรณีที่มีเด็กหรือผู้ใหญ่ในบ้านป่วยไม่สบาย ควรต้องป้องกันการติดเชื้อมาสู่เด็กเล็ก ด้วยการสวมหน้ากากอนามัย เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรค ใช้ผ้าปิดจมูกและปากขณะไอหรือจามแยกของใช้ส่วนตัวไม่ให้มาปะปนกับผู้อื่น และใช้ช้อนกลางในการรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น เพราะหากมีคนในบ้านป่วย คุณพ่อคุณแม่หรือคนที่ดูแลลูกน้อยอย่างใกล้ชิดก็อาจจะป่วยและนำพาเชื้อโรคมาสู่ลูกน้อยที่ยังเป็นทารก ซึ่งยังไม่มีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงพอจะปกป้องโรคติดเชื้ออันตรายนี้ได้

อ่านต่อบทความน่าสนใจ คลิก

5 โรคเด็กยอดฮิต ที่เป็นกันมากในปี 2016

5 อันดับยอดฮิต…โรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจในเด็กเล็ก


บทความโดย นพ.นราธิป  สมบูรณ์กุล  กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบบทางเดินหายใจ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช แคมปัสศรีนครินทร์ นิตยสาร Amarin Baby & Kids

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up