ลูกอาเจียน

ระวัง! ลูกอาเจียน เสี่ยงเป็น 7 โรคร้าย

event
ลูกอาเจียน
ลูกอาเจียน

ลูกอาเจียน หรือ ลูกอ๊วก ลูกอ้วก ปวดท้อง มีไข้ บอกให้รู้ว่าลูกไม่สบาย!! แต่อย่าคิดว่าเป็นเรื่องเล็ก เพราะอาจเป็นสาเหตุของโรคร้ายต่อลูกน้อยที่คุณคาดไม่ถึง

คุณพ่อคุณแม่หลายบ้านเคยผ่านประสบการณ์ ลูกอาเจียน มากก่อนมากน้อยแตกต่างกัน ในชุดความคิดเดิมๆที่เราเข้าใจว่า อ้วกแล้วโล่ง ลูกอ้วกแล้วจะสบายตัวขึ้น แต่ความจริงแล้วนี่อาจเป็นสัญญาณของโรคร้ายที่ซ่อนอยู่ บอกให้รู้ว่าร่างกายเกิดความผิดปกติบางอย่าง เพื่อจะได้เตือนให้รู้และหาทางป้องกัน รักษาได้ทันท่วงที

ระวัง ลูกอาเจียน ไม่ใช่เรื่องเล็ก เสี่ยงเป็น 7 โรคร้าย

อาเจียน เป็นปฏิกิริยาตอบสนองของร่างกาย สำรอกเอาสิ่งที่อยู่ในกระเพาะอาหารย้อนกลับออกมาทางปากอย่างรวดเร็ว มักเกิดคู่กับอาการคลื่นไส้ รู้สึกพะอืดพะอม อึดอัดมวนท้อง ไม่สบายตัว พบได้บ่อยทั้งในเด็กเล็กและเด็กโต ซึ่งการอาเจียนเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ทั้งเกิดจากพฤติกรรมการให้อย่าง “แหวะนม” เพราะลูกน้อยกินนมมากเกินไป (Overfeeding) หรือหลังกินนมไม่ได้จับเรอมากพอ หรือท่าดูดนมไม่ถูกต้อง เช่น ให้นอนดูดนมแทนการอุ้มทำให้มีลมในกระเพาะอาหารมากจนลูกอ๊วกออกมา

หากลูกอาเจียน 1- 2 ครั้งแล้วหยุดไม่มีอาการแทรกซ้อนอื่นๆไม่ถือว่าเป็นอันตราย อาจเกิดจากเชื้อราในช่องปากโดยมักจะพบฝ้าสีขาวด้วย  แต่ถ้าอาเจียนต่อเนื่องติดต่อกันหลายครั้ง อาจทำให้กล้ามเนื้อหลอดอาหารฉีกขาด มีเลือดออกในช่องท้อง เกิดภาวะขาดน้ำจนภาวะในร่างกายเสียสมดุลหรือหากสำลักเศษอาหารเข้าไปในหลอดลมอาจทำให้ถึงเสียชีวิตได้

กรณีที่ลูกอ้วก ลูกอาเจียนและมีอาการอื่นๆร่วมด้วย เช่น ปวดหัว ปวดท้อง ท้องเสีย มีไข้ อาจเป็นสัญญาณของโรคอันตรายหลายโรค การอาเจียนนั้นอาจเป็นเพียงอาการนำของโรคอื่นๆ ที่ไม่ใช่จากโรคของระบบทางเดินอาหารเท่านั้นคุณแม่จำเป็นต้องสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด หากพบความผิดปกติควรรีบพาไปพบแพทย์ทันที ไม่ควรนิ่งนอนใจเป็นอันขาด

ลูกอาเจียน

ลูกอ๊วกมีไข้ ปวดหัว ลูกอาเจียน แบบนี้เสี่ยงเป็นโรคอะไร

ถ้าลูกอาเจียน พร้อมกับปวดหัว อาจเกิดจากภาวะความดันสูงในสมอง ซึ่งเป็นหนึ่งในสัญญาณอันตรายของ โรคไข้สมองอักเสบ ที่พบบ่อยให้เด็กเล็กอายุต่ำกว่า 2 ปี โดยจะมาพร้อมกับอาการไข้สูง เบื่ออาหาร กระสับกระส่าย คอแข็งจนรู้สึกปวดึอ ตาไวต่อแสง และซึมลง ต้องพาไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยอย่างละเอียด เพราะยิ่งลูกอายุน้อยอาการมักไม่ชัดเจน

แม้ว่าเด็กไทยทุกคนจะได้รับวัคซีนป้องกันโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ และไม่ค่อยพบผู้ป่วยมากนัก แต่ก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้และมีค่อนข้างร้ายแรงเพราะทำให้เกิดความพิการหรือเสียชีวิตได้

นอกจากนี้อาการที่ลูกอ๊วก มีไข้สูงแต่ไม่ปวดหัวมักเกี่ยวข้องกับภาวะติดเชื้อในเด็กจากโรคที่ไม่อันตรายร้ายแรง เช่น ไข้หวัด ทอนซิลอักเสบหลอดลมอักเสบ บิด กระเพาะปัสสาวะอักเสบ หรือโรคที่อันตรายมากและต้องได้รับการรักษาทันที เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ปอดอักเสบ โลหิตเป็นพิษ เส้นเลือดในสมองแตก หรือภาวะเลือดออกในสมองจากอุบัติเหตุอีกได้ด้วย

ลูกอาเจียน

ลูกอ๊วก ปวดท้อง ท้องเสีย อาการแบบนี้เสี่ยงโรคอะไรบ้าง

อีกหนึ่งอาการที่มักพบบ่อยคือ ลูกอาเจียน พร้อมกับปวดท้อง อาจมีไข้หรือไม่มีก็ได้  ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับโรคในระบบทางเดินอาหาร สามารถเป็นได้ตั้งแต่ทารกแรกเกิดไปจนถึงเด็กโต อย่างภาวะ ลำไส้กลืนกัน พบบ่อยในทารกเพศชายอายุน้ำกว่า 6 เดือน และกระเพาะอาหารส่วนปลายตีบตั้งแต่กำเนิด ที่มีอาการในทารกแรกเกิดอายุระหว่าง 2-8 สัปดาห์

หากเกิดการอุดกั้นบริเวณลำไส้เล็กมักมีอาการปวดเกร็งเป็นระยๆ ลูกอาเจียนพุ่งรุนแรงติดกันหลายครั้ง มักมีนมหรือ น้ำดีสีเขียวๆออกมาด้วย แต่ถ้าลูกปวดท้องรุนแรงอาจเกี่ยวกับการหมุนตัวผิดปกติของลำไส้ ซึ่งพบได้น้อยและมักเป็นมาตั้งแต่กำเนิด ถ้าอาการไม่รุนแรงจะปวดๆหายๆ เป็นระยะ แต่ไม่ควรปล่อยไว้เพราะโรคนี้ต้องรักษาด้วยการผ่าตัด

สำหรับลูกโตถ้ามีอาการอาเจียนกับปวดท้อง แล้วมีไข้ด้วย ขอให้สงสัยอาการเกี่ยวกับโรคไส้ติ่งอักเสบ หรือเยื่อบุช่องท้องอักเสบ ใช้มือกดเจ็บบริเวณหน้าท้อง หรือเกิดจากภาวะเครียดจากครอบครัวโรงเรียน การบ้าน หรือกลุ่มเพื่อน ซึ่งต้องอาศัยการพูดคุยเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง

ลูกอาเจียน

ลูกอาเจียน บอกอะไร อาเจียนแบบไหนต้องไปโรงพยาบาล

เวลาลูกอาเจียนจะเกิดกระบวนการ 3 อย่างในร่างกาย คือ

  • รู้สึกคลื่นไส้ พะอืดพะอม อาจรู้สึกเวียนหัว
  • เมื่อรู้สึกอยากอาเจียน ระบบประสาทอัตโนมัติจะสั่งให้เกิดความดันลบในช่องอก จากนั้นกล่องเสียงจะปิด กล้ามเนื้อหายใจหดตัว กะบังลมลดต่ำลงมาในช่องท้อง
  • แล้วจึงอาเจียนออกมา โดยนำอาหารที่อยู่ในกระเพาะจะพุ่งออกมาจากทางเดินอาหารก่อนออกมาทางปาก ถ้ารู้สึกคลื่นไส้รุนแรง ลูกจะมีเหงื่อออก ตัวเย็น น้ำลายไหล หรือทำให้ชีพจรช้าลง ความดันเลือดต่ำได้

การอาเจียนของแต่ละโรคมีอาการไม่เหมือนกัน บางครั้งอาจอาเจียนเพียงเล็กน้อยหรือติดต่อกันเป็นชั่วโมง สิ่งที่ออกมากับอาเจียนเป็นอาหาร สิ่งแปลกปลอม หรือของเหลวในร่างกาย ซึ่งล้วนเป็นตัวบ่งชี้ของโรคภัยไข้เจ็บที่ลูกอาจเป็นได้ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่จึงควรสังเกตด้วยว่าลูกอ้วกมีลักษณะเป็นอย่างไร เพื่อปฐมพยาบาลเบื้องต้นและให้ข้อมูลคุณหมอได้ละเอียด

สังเกตสีของอาเจียน

หากลูกมี “อ้วกสีเขียวหรือสีเหลืองปนเขียว” แสดงว่ามี “น้ำดี”ปนออกมาด้วย ซึ่งเป็นหนึ่งในสัญญาณของภาวะลำไส้อุดต้น “อ้วกสีแดง” แสดงว่ามีเลือดปนด้วย ซึ่งถือว่าเป็นภาวะอันตราย แสดงว่ามีเลือดออกในทางเดินอาหาร อาจหมายถึงโรคหลอดอาหารอักเสบ กระเพาะอาหารอักเสบ ต้องรีบพาส่งโรงพยาบาลทันทีเพราะเสี่ยงจะเกิดอาการช็อก หมดสติได้

ความรุนแรงของการอาเจียน

ความถี่และความรุนแรงเป็นตัวบ่งชี้ถึงความรุนแรงของโรคได้ หากลูกอ้วกถี่ ติดต่อกันหลายครั้งจนเริ่มเหนื่อย แสดงว่ามีอาการของโรคค่อนข้างหนักต้องถึงมือคุณหมอโดยเร็ว ส่วนอาการอ้วกพุ่งแรงและไกล ถ้าเกิดกับทารกวัยก่อน 2 เดือนอาจมาจากความผิดปกติในระบบทางเดินอาหาร เสี่ยงทำให้ลูกได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ

อาการอื่นๆร่วมเมื่ออาเจียน

โดยส่วนใหญ่หากลูกป่วย ติดเชื้อหรือมีอาการถึงโรคใดโรคหนึ่ง มักมีอาการอื่นๆร่วมมากับการอาเจียนด้วย เช่น ไข้ น้ำมูก ไอ ท้องเสีย ปวดท้อง ปวดหัว ซึม หน้าซีด ภาวะขาดน้ำ หรือหอบเหนื่อย คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตและจดบันทึกอาการทั้งหมดนี้เพื่อนำไปแจ้งให้คุณหมอทราบ

สิ่งสำคัญคือแม้ลูกจะหยุดอาการ หรือมีอาการดีขึ้นบ้างแล้ว ก็ไม่ควรละเลยแต่ควรพาไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุ และวิธีรักษาที่ถูกต้อง ไม่ควรซื้อ “ยาแก้อาเจียน” มาให้ลูกกินเองเด็ดขาด เพราะหากกินเกินขนาดจะเป็นอันตรายต่อชีวิตลูกได้

 

โดยส่วนใหญ่แพทย์จะให้การวินิจฉัยเบื้องต้นจากลักษณะอาการที่เกิดขึ้น ประวัติความเจ็บป่วยในอดีต โรคประจำตัว การใช้ยาต่างๆ ร่วมกับการตรวจร่างกายอย่างละเอียด

การรักษา

  • การรักษาที่เฉพาะเจาะจงขึ้นกับสาเหตุของโรคว่าเป็นจากอะไร หากสาเหตุไม่ร้ายแรงส่วนใหญ่มักไม่เป็นปัญหาในการรักษา อย่างไรก็ตามการทีอาเจียนมากอาจจะทำให้เกิดผลแทรกซ้อนตามมา เช่น ภาวะขาดน้ำ และเสียสมดุลเกลือแร่ หรือที่เรียกว่าอิเลคโทรลัยต์ในร่างกาย ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการแก้ไขให้ทันท่วงที
  • สำหรับลูกที่อาเจียนไม่มาก โดยทั่วไปมักจะแนะนำให้กินอาหารที่ย่อยง่ายในปริมาณที่ลดน้อยลง แต่ถ้าอาเจียนมากหรือรุนแรง อาจต้องงดอาหาร และให้สารน้ำทางหลอดเลือดหรือให้น้ำเกลือแทน แต่ทั้งนี้ไม่จำเป็นต้องกระทำทุกรายไป ขึ้นกับความรุนแรงของอาการว่ามากหรือน้อย และพิจารณาสาเหตุที่ทำให้อาเจียนเป็นรายๆ ไป
  • ยาที่มีส่วนช่วยทำให้อาเจียนน้อยลง หรือที่เรียกว่ายาแก้อาเจียน มีทั้งยาที่ออกฤทธิ์ที่ทางเดินอาหาร และยาที่ออกฤทธิ์ในสมอง ยาที่ใช้บ่อยได้แก่ metoclopramide, domperodine, cisapride การใช้ยากลุ่มนี้ควรให้เพื่อป้องกัน ไม่ควรให้หลังจากที่มีอาการอาเจียนแล้ว ในผู้ป่วยที่อาเจียนอยู่ แนะนำให้กินหรือฉีดก่อนรับประทานอาหารประมาณ 20-30 นาที
  • ถ้าลูกอาเจียน ควรให้รับประทานอาหารอ่อน ย่อยง่าย โดยให้ทีละน้อย บ่อยๆ ให้น้ำเกลือแร่ ORS เพื่อทดแทนเกลือแร่ที่เสียไปกับอาเจียน โดยให้จิบทีละน้อย และบ่อยๆ และให้ยาแก้อาเจียนตามแพทย์สั่ง ควรให้รับประทาน 1/2 ชั่วโมงก่อนมื้ออาหาร
  • เมื่อมีอาเจียนมาก รับประทานอาหารหรือน้ำไม่ได้เลย ซึมลง มีอาการขาดน้ำ กระหม่อมบุ๋ม ปากแห้งมาก ตาโหล ผิวหนังเหี่ยว แพทย์จะพิจารณาให้น้ำเกลือทางเส้นเลือด และรักษาสาเหตุต่อไป

คุณพ่อคุณแม่ควรพึงระลึกไว้เสมอว่า ลูกอาเจียน เป็นอาการแต่ไม่ใช่โรค ดังนั้นการรักษามิใช่เพียงให้ยาแก้อาเจียน แต่ต้องวินิจฉัยค้นหาสาเหตุ เพราะสาเหตุบางอย่างจะมีอันตรายถึงชีวิต เช่น อาเจียนจากโรคลำไส้อุดตัน หรืออาเจียนจากภาวะความดันในสมองสูง เป็นต้น สำหรับอาการอาเจียนที่เกิดจากยารักษามะเร็งหรือเคมีบำบัดนั้น ต้องได้รับการบำบัดรักษาเป็นกรณีพิเศษ

อ่านต่อ “บทความดี ๆ น่าสนใจ” คลิก!


ขอบคุณข้อมูลจาก : www.bangkokhealth.com=  www.healthcarethai.com

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up