ลูกกินน้ำผึ้ง เสียชีวิต

เด็กชายญี่ปุ่นวัย 6 เดือน เสียชีวิตด้วยโรคโบทูลิซึมในทารก เพราะน้ำผึ้งเป็นเหตุ!

event
ลูกกินน้ำผึ้ง เสียชีวิต
ลูกกินน้ำผึ้ง เสียชีวิต

โรคโบทูลิซึมในทารก (Infant botulism)

เกิด จากการสร้างโคโลนีของเชื้อในทางเดินอาหารของทารก มักเกิดในเด็กอายุต่ำกว่า 12 เดือน ส่วนใหญ่ พบในเด็กทารกอายุระหว่าง 6 สัปดาห์ – 6 เดือน อาการที่พบในเด็กทารกเริ่มด้วยท้องผูก เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ดูดกลืนลำบาก ร้องไห้เสียงเบา และ คออ่อนพับลูกกินน้ำผึ้ง เสียชีวิต

ซึ่งนับตั้งแต่ปี 1986 ที่ประเทศญี่ปุ่นได้เริ่มทำสถิติเป็นต้นมา พบว่ามีการรายงานผู้ป่วยโรคโบทูลิซึมในทารกทั่วประเทศเพียง 36 ราย รวมกรณีเสียชีวิตของเด็กชายในครั้งนี้ด้วย ซึ่งกรณีเด็กชายวัย 6 เดือน เป็นการเสียชีวิตจากโรคโบทูลิซึมในทารก ครั้งแรกของประเทศญี่ปุ่น

สำหรับโรคโบทูลิซึมในทารกนี้ จะมีความเสี่ยงเกิดขึ้นเฉพาะกับเด็กทารกเท่านั้น และสัดส่วนความเป็นไปได้ที่จะพบเชื้อชนิดนี้ภายในน้ำผึ้งตามท้องตลาดนั้นก็มีเพียง 5% เท่านั้น ซึ่งถือว่าน้อยมาก

ซึ่งถ้าพูดถึงโรคโบทูลิซึมในทารกนี้ คนไทยอาจไม่คุ้นเคย แต่จริง ๆ แล้ว เชื้อนี้เป็นชนิดเดียวกับที่เคยมีรายงานการระบาดเป็นครั้งแรกที่ จ.น่าน ในปีพ.ศ.2541 ซึ่งมีสาเหตุมาจากการรับประทานหน่อไม้อัดปี๊บที่ไม่ได้ต้ม และมีการปนเปื้อนของสารพิษจากเชื้อชนิดนี้นั่นเอง

ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก (anngle.org)

เชื้อโรค Clostridium botulinum คือ?

เป็นเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่พบมากในดิน เชื้อนี้เจริญเติบโตได้ดีในสภาวะแวดล้อมที่มีออกซิเจนน้อยเช่นในกระป๋องบรรจุอาหาร  ในขวดที่ปิดสนิท  หรือในปี๊บ ซึ่งหากอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมแก่การเจริญเชื้อนี้จะหลบอยู่ในสภาพสปอร์ซึ่งคงทนในสภาพแวดล้อมได้ดีมาก และรอจนกว่าจะพบสภาพที่เหมาะสมจึงเจริญเติบโตและสร้างสารพิษในสภาวะที่มีการเจริญเติบโตนั้น

เชื้อ Clostridium botulinum

เชื้อโรค Clostridium botulinum และ สารพิษโบทูลิซึมเกี่ยวข้องกับอาหารได้อย่างไร?

การปนเปื้อนอาหารเกิดจากการปนเปื้อนสปอร์ของเชื้อ Clostridium botulinum ในอาหาร เมื่ออาหารถูกเก็บในสภาพที่มีออกซิเจนน้อยเช่นในกระป๋องบรรจุอาหารในขวดที่ปิดสนิท หรือในปี๊บเชื้อก็จะเจริญและสร้างสารพิษ อาหารที่ได้รับการปนเปื้อนสารพิษอาจไม่ปรากฏความผิดปรกติใดๆทั้งลักษณะภายนอก สี กลิ่น และ รส

อย่างไรก็ตามก็ไม่ได้หมายความว่าอาหารที่บรรจุในภาชนะเหล่านี้จะต้องมีเชื้อและสารพิษนี้อยู่ เพราะว่าการถนอมอาหารเหล่านี้อย่างถูกวิธีเช่น การปรุงด้วยความร้อนที่นานพอ หรือการปรับค่าความเป็นกรดที่เหมาะสมในอาหารจะทำลายหรือยับยั้งไม่ให้สปอร์ของเชื้อเจริญและสร้างสารพิษได้ นอกจากนี้การปรุงอาหารที่บรรจุภาชนะเหล่านี้อย่างเหมาะสมก่อนการบริโภคจะสามารถทำลายสารพิษที่ปนเปื้อนกับอาหารได้

ซึ่งอาหารบางประเภทที่อาจถูกปนเปื้อนด้วยดิน เช่น หน่อไม้ อาจมีความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนสปอร์ของเชื้อมากกว่าอาหารอื่นๆ อาหารเหล่านี้จึงจำเป็นต้องได้รับการถนอมอย่างถูกต้องและเคร่งครัดก่อนการบรรจุภาชนะปิดสนิทเพื่อการถนอมอาหาร

นอกเหนือจากภาวะโบทูลิสมในเด็กทารก มีโบทูลิซึมแบบอื่นอีก คือ ภาวะโบทูลิซึมจากแผล (wound botulism) ซึ่งเกิดจากการเจริญของเชื้อ Clostridium botulinum และการสร้างสารพิษโบทูลิสมในบาดแผลที่มีการปนเปื้อนสปอร์จากดินการป้องกันภาวะนี้ทำได้โดยการล้างแผลให้สะอาด ปราศจากการปนเปื้อนของฝุ่นดิน

อ่านต่อ >> การรักษาโรคโบทูลิซึม” คลิกหน้า 3

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up