เลือดกำเดาไหล

เลือดกำเดาไหล แบบนี้…? อันตรายกับลูกแน่นอน!

event
เลือดกำเดาไหล
เลือดกำเดาไหล

เลือดกำเดาไหล

ภาวะเลือกกำเดาไหลในเด็ก

โดยปกติร่างกายของเราจะมีเกล็ดเลือด ซึ่งเป็นส่วนประกอบของเลือดชนิดหนึ่ง ทำหน้าที่ในการป้องกันเลือดออกและช่วยในการหยุดของเลือดหากเกิดบาดแผล อาการเลือดกำเดาไหลจึงอาจเป็นอาการแสดงของโรคเลือดที่ทำให้เกล็ดเลือดลดจำนวนลงหรือทำงานผิดปกติ จึงทำให้มีเลือดออกง่ายจากเยื่อบุต่าง ๆ ซึ่งมีทั้งโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม หรือโรคที่เกิดขึ้นภายหลัง

– โรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ซึ่งทำให้เกล็ดเลือดทำงานผิดปกติ เช่น โรควอนวิลล์แบรนด์ (von Willebrand disease – VWD) ซึ่งอาจมีประวัติเลือดออกง่ายหยุดยากในครอบครัว ร่วมด้วย

– โรคที่เกิดขึ้นภายหลังซึ่งทำให้เกล็ดเลือดมีปริมาณต่ำลง เช่น โรคเกล็ดเลือดต่ำจากภูมิต้าน ทานตนเอง (immune thrombocytopenia – ITP) ซึ่งเป็นภาวะเกล็ดเลือดต่ำที่พบบ่อยในเด็กภายหลังโรคติดเชื้อประมาณ 1-3 สัปดาห์ หรือหลังได้รับการฉีดวัคซีน โรคไขกระดูกฝ่อทำให้ร่างกายไม่สามารถสร้างเม็ดเลือดทุกชนิดได้อย่างพอเพียง ทำให้มีโลหิตจาง ติดเชื้อง่ายเนื่องจากมีเกล็ดเลือดขาวต่ำลง และเกล็ดเลือดต่ำทำให้เลือดออกง่าย หรือโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวที่มีเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวแทรกซึมอยู่ในไขกระดูก ทำให้สร้างเม็ดเลือดที่ปกติได้ลดลง

นอกจากนี้ในรายที่มีเลือดกำเดาไหลบ่อย ๆ และเป็นเวลานาน อาจทำให้เด็กเกิดภาวะซีดจากการสูญเสียเลือดเรื้อรัง จนเกิดภาวะซีดจากการขาดธาตุเหล็ก สังเกตอาการง่าย ๆ หากเด็กมีอาการเวียนศีรษะ เป็นลมง่าย หรือ เหนื่อยง่าย ให้คุณพ่อคุณแม่รีบพาลูกน้อยไปพบแพทย์เพื่อตรวจเลือด และรับยาธาตุเหล็กไปรับประทาน

ทำไมเลือดกำเดาไหลบ่อย ?

เลือดกำเดาไหลบ่อย เกิดขึ้นได้หลายกรณี เราสามารถแบ่งชนิดที่มาจากสาเหตุที่รุนแรงและชนิดไม่รุนแรง สามารถหายได้เอง ที่พบได้ทั่วไปคือ

1. อาการระคายเคืองหรืออาการบาดเจ็บที่โพงจมูก หากผู้ป่วยมีพฤติกรรมชอบแคะจมูกแรงๆ บ่อยๆ ก็จะทำให้เลือดกำเดาไหลบ่อย มักพบในคนที่มีน้ำมูกเรื้อรัง แห้งเกรอะอยู่ด้านใน

  • เมื่อแคะก็จะเกิดแผลถลอก จนมีเลือดไหลออกมาด้วย บางรายเป็นแผลเรื้อรังอยู่ที่ส่วนหน้าในรูจมูก
  • เมื่อแคะบ่อยๆ ก็ทำให้เลือดออกมาได้ง่าย การได้รับการกระแทกทำให้กระดูกจมูกแตกหัก
  • หรือเส้นเลือดฝอยแตก การผ่าตัดเนื้อเยื่อบุจมูก การผ่าตัดผนังกั้นจมูก การผ่าตัดโพรงไซนัส
  • การใส่ท่อช่วยหายใจ การเปลี่ยนแปลงความกดอากาศอย่างรวดเร็ว การสั่งน้ำมูกแรงๆ ฯลฯ

อาการเหล่านี้มักไม่ค่อยเป็นอันตราย จะมีเลือดกำเดาไหลออกช่วงสั้น ๆ และหาไปได้เอง แต่หากมีพฤติกรรมการแคะจมูกที่รุนแรง หรือทำให้จมูกเกิดบาดแผล ก็จำทำให้มีเลือดกำเดาไหลบ่อยตามมาได้ง่าย

2. เลือดกำเดาออกในปริมาณมากภายหลังจากการได้รับแรงกระแทกอย่างรุนแรงจากอุบัติเหตุ ปริมาณเลือดจะมีมากในช่วงแรก แต่จะค่อยๆ หายไปได้เอง ทว่าหากสังเกตพบการบาดเจ็บของจมูกเป็นเวลานาน มีเลือดกำเดาไหลนานเป็นสัปดาห์ สาเหตุอาจมาจากการที่เส้นเลือดภายในโพรงจมูกโปร่งพองจากอุบัติเหตุ

3. อาการหนาวและแห้ง อาการหนาวและแห้ง จะเป็นสาเหตุทำให้เลือดกำเดาไหลบ่อยได้ เนื่องจากเยื่อบุจมูกมีความแห้ง เกิดการระคายเคือง ตามมาด้วยเลือดออกได้ง่ายขึ้น

4. ภาวะอักเสบภายในโพรงจมูก มักมาจากการติดเชื้อไวรัส, ภูมิแพ้, ไซนัสอักเสบ, การสัมผัสกับสิ่งระคายเคือง, มีสิ่งแปลกปลอมในจมูก, การใช้เครื่องอัดอากาศช่วยหายใจ และการรักษาโรคหยุดหายใจขณะหลับ เป็นต้น เป็นสาเหตุที่เสี่ยงทำให้เกิดการอักเสบภายในโพรงจมูก มีเลือดคั่งภายใน เส้นเลือดฝอยแตกง่าส่วนมากสังเกตได้ว่าจะมีเลือดปนออกมาพร้อมกับน้ำมูก อาการรุนแรงแตกต่างกันไปในกลุ่มผู้ป่วย ขึ้นอยู่กับปริมาณเลือดที่ออกมาในแต่ละครั้งด้วย

อาการของเลือดกำเดาไหล มีลักษณะดังต่อไปนี้ ได้แก่

  • เมื่อเลือดกำเดาไหลไม่หยุดนานเกิน 30 นาที ทั้งที่ใช้วิธีห้ามเลือดเบื้องต้นโดยการบีบจมูกแต่เลือดไม่หยุดไหล
  • เมื่อมีเลือดกำเดาไหลนาน ร่วมกับที่ผิวหนังมีรอยเลือดออก เช่น มีพรายย้ำ จ้ำเขียว หรือ มีจุดแดงหรือจุดเลือดออกตามตัวร่วมด้วย
  • เมื่อมีเลือดออกตามไรฟัน หรือลิ้นร่วมด้วย
  • มีปัสสาวะสีน้ำล้างเนื้อ หรืออุจจาระสีดำคล้ายยางมะตอยหรือปนเลือดร่วมด้วย
  • เมื่อเด็กมีไข้สูงร่วมด้วย
  • เมื่อเด็กมีอาการเวียนศีรษะ เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย ไม่กระฉับกระเฉง หรือซีดลง

อาการเลือดกำเดาไหลที่ควรระวัง

ระดับความรุนแรงของอาการเลือดกำเดาไหลที่ไม่ควรมองข้าม เสี่ยงที่จะทำให้เลือดกำเดาไหลออกมาในปริมาณมาก จนทำให้ผู้ป่วยช็อกจนหมดสติได้ นั่นคือภาวะที่ถูกจัดอยู่ในระดับรุนแรง มีเลือดออกมาก จนทำให้น้ำในหลอดเลือดต่ำ ชีพจรเต้นเร็ว ความดันเลือดลดต่ำลง หน้ามืด รู้สึกเหมือนจะเป็นลมเวลาเปลี่ยนอิริยาบถ จะทำให้ผู้ป่วยเสียเลือดมาก ควรรีบเข้ารับการรักษาเพื่อหยุดการไหลของเลือดอย่างเร่งด่วน มิเช่นนั้นอาจจะทำให้เกิดภาวะช็อกจนเสียชีวิตตามมาได้เลยทีเดียว แม้จะใช้การห้ามเลือดด้วยวิธีต่างๆ แล้วก็ตาม

อ่านต่อ >> วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นที่ถูกต้อง! หากลูกน้อยมีเลือดกำเดาไหล” คลิกหน้า 3

อ่านต่อ “บทความดีๆ น่าสนใจ” คลิก!

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up