นั่งคาร์ซีท คาร์ซีท carseat

นั่งคาร์ซีท ปลอดภัยหรือสิ้นเปลือง?หยุดสถิติเด็กเสียชีวิตจากความประมาทกัน

Alternative Textaccount_circle
event
นั่งคาร์ซีท คาร์ซีท carseat
นั่งคาร์ซีท คาร์ซีท carseat

นั่งคาร์ซีท จำเป็นหรือสิ้นเปลือง มาตอบคำถามนี้ด้วย ข้อมูลรวบรวมอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจริง เปรียบเทียบชัด เด็กนั่งในรถแบบไหนปลอดภัยกว่ากัน??

นั่งคาร์ซีท ปลอดภัยหรือสิ้นเปลือง?หยุดสถิติเด็กเสียชีวิตจากความประมาทกันเถอะ!!

คาร์ซีท จำเป็นแค่ไหนกันนะ สิ้นเปลืองเปล่า ๆ ของชิ้นหนึ่งก็ไม่ใช่ถูก ๆ คำกล่าวเหล่านี้เคยเกิดขึ้นในใจของคุณพ่อคุณแม่กันบ้างหรือเปล่า ??

เชื่อว่ายังมีบางคนที่เกิดคำถามแบบนี้อยู่ในใจกันบ้าง นั่งคาร์ซีท ดีไหมนะแค่ขับรถพาลูกไปหาหมอเลยหน้าปากซอยหมู่บ้านไป 3 ซอยเอง ยุ่งยากไม่อยากให้ลูกร้องเอาลูกนั่งตักดีกว่า ทีมงาน Amarin Baby & Kids จะพาไปพบคำตอบว่าในความเป็นจริงนั้น การให้ลูกนั่งคาร์ซีทปลอดภัย หรือสิ้นเปลือง นั่งแบบไหนสามารถหยุดเหตุไม่คาดฝันได้ เพราะชีวิตลูกน้อยเอาคืนกลับไม่ได้หากเกิดเหตุเศร้า

รวบรวมข่าวอุบัติเหตุจริง ไว้เป็นอุทาหรณ์!!

ข่าวอุบัติเหตุที่เสียหาย แต่ไม่สูญเสีย เพราะ คาร์ซีท

เคยเกิดคำถามชวนสับสนกันบ้างใช่ไหมคะ เวลาที่ต้องพาลูกนั่งรถยนต์ไปด้วยจะให้ นั่งคาร์ซีท หรือ อุ้มนั่งตักก็พอแล้ว เอาเป็นว่าเรามาทำความเข้าใจกับที่นั่งพิเศษที่เรียกว่าคาร์ซีทกันซักนิด

สำหรับคาร์ซีท (Car Seat) ที่ทุกครอบครัวรู้จักกันดีนั้น คือ ที่นั่งสำหรับติดกับเบาะรถยนต์ไว้ให้เด็กนั่งได้ตั้งแต่ทารกแรกเกิด จนถึงเด็กโต(อายุ 6-12 ปี)  คาร์ซีทเป็นอุปกรณ์ที่ใช้เพื่อความปลอดภัยแก่เด็กๆ เวลาที่นั่งรถยนต์

ขึ้นชื่อว่า อุบัติเหตุ แล้วไม่มีใครอยากให้เกิด ดังนั้น จึงเป็นเหตุการณ์ที่เกิดอย่างกะทันหันไม่ทันได้ตั้งตัว การที่เรามีอุปกรณ์ป้องกันตัวเอง และคนที่คุณรัก จะดีกว่าไหม เพราะหากเกิดเหตุขึ้นมา แม้จะเสียหาย แต่เราจะไม่สูญเสียสิ่งที่มีค่าไป

เบาะรถยนต์ และเข็มขัดนิรภัยไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อเด็ก!!

แม้ว่าเป็นคำตอบที่น่าเศร้า แต่เป็นความจริงที่ว่า เบาะรถยนต์และเข็มขัดนิรภัยไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อให้เข้ากับสรีระของเด็กทารก หรือเด็กที่ยังเล็กอยู่ ซึ่งหากเกิดอุบัติเหตุมีการชน กระแทกเกิดขึ้น โอกาสที่เด็กจะหลุดออกจากตัวรถ หรือคอหัก หลังหักขณะอยู่ในรถยนต์มีความเป็นไปได้สูงมาก รวมถึงการที่ผู้ใหญ่นั่งแล้วอุ้มเด็กไว้บนตักตัวเอง ตรงนี้ก็ไม่ปลอดภัยต่อตัวเด็กเช่นเดียวกัน เพราะเมื่อรถถูกชนไม่ว่าจะด้วยความแรง หรือไม่แรงก็ตาม เด็กมีโอกาสได้รับบาดเจ็บหนักจนถึงขั้นเสียชีวิตเลยก็มี

เด็กรอดเพราะ นั่งคาร์ซีท
เด็กรอดเพราะ นั่งคาร์ซีท ภาพจาก https://www.thairath.co.th

สาวแชร์อุทาหรณ์ เก๋งถูกรถตู้ชนท้ายอย่างแรง จนรถหมุนกลับ ตัวเองเจ็บ ส่วนลูกร้องไห้จ้า แต่รอดเพราะ คาร์ซีท เผยก่อนหน้า บางคนไม่เข้าใจ พูดบั่นทอน หาว่าบังคับลูก …

ผู้ใช้เฟซบุ๊ก “พลอย นภัทร” ได้โพสต์ภาพอุบัติเหตุ รถเก๋งถูกรถตู้ชนท้าย พร้อมระบุข้อความว่า ถึงเราจะขับรถไม่ประมาท แต่ก็ใช่ว่าจะทำให้เรารอดจากอุบัติเหตุ อยากฝากเป็นอุทาหรณ์ โดยเฉพาะคนที่มีลูกทุกคน ให้ลูกนั่งคาร์ซีทเถอะ

หยุดความเชื่อ ให้เด็กนั่งตักผู้ใหญ่ขณะนั่งรถ ก็เพียงพอแล้ว !!

 

นั่งคาร์ซีท
Credit Photo : Drama-addict, kapook

 

บทความแนะนำ คลิก>> ลูกน้อยได้รับอันตราย เพราะนั่งคาร์ซีทผิดวิธี

อย่างเช่นในข่าวนี้ที่ทางเพจ Drama-addict นำมาแชร์ ถึงความอันตรายของการไม่ให้เด็กเล็กนั่งคาร์ซีท แต่อุ้มให้เด็กนั่งบนตัก และเมื่อเกิดอุบัติเหตุคนที่เจ็บหนักก็คือเด็ก แต่ต่อให้ยุคสมัยเปลี่ยนไปมากแค่ไหนก็ยังมีความเชื่อเดิมหลงเหลืออยู่ว่าการให้เด็กนั่งบนตักขณะอยู่ในรถ จะปลอดภัยกว่าการให้นั่งคาร์ซีท

ข่าวเศร้า … เมื่อต้องสูญเสียเพราะความประมาท!!

ไม่ นั่งคาร์ซีท ลูกกระเด็นออกนอกรถเสียชีวิต
ไม่ นั่งคาร์ซีท ลูกกระเด็นออกนอกรถเสียชีวิต ภาพจาก https://www.thaipbs.or.th

เปิดสถิติอุบัติเหตุ คาร์ซีท ช่วยลดการเสียชีวิตได้!!

ข้อมูลการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน  ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (ปี 2560-2564) พบว่ามีเด็กอายุแรกเกิด-6 ปี เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน 1,155 ราย ในจำนวนนี้มี 221 ราย เป็นเด็กที่เสียชีวิตขณะโดยสารรถยนต์ (เฉลี่ยปีละ 44 ราย) และจากระบบเฝ้าระวังการบาดเจ็บ กระทรวงสาธารณสุข 3 ปีที่ผ่านมา (ปี 2562-2564) พบว่ากลุ่มเด็กอายุแรกเกิด-6 ปี ที่บาดเจ็บหรือเสียชีวิต มีการใช้เบาะนิรภัยเพียงร้อยละ 3.46%

องค์การอนามัยโลก สนับสนุนการใช้ที่นั่งนิรภัยในรถยนต์สำหรับเด็ก โดยให้ข้อมูลว่า การให้เด็ก นั่งคาร์ซีท สามารถลดอัตราการเสียชีวิตได้ถึงร้อยละ 70

 

อ่านต่อ เลือกคาร์ซีทอย่างไรให้เหมาะกับลูก หน้า 2

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up