คัมภีร์แม่ท้องแบบง่ายๆ (ไตรมาส 2)

Alternative Textaccount_circle
event

มาถึงไตรมาส 2 กันแล้วนะคะ เราจึงรวมหลากเรื่องที่แม่มือใหม่ในไตรมาสที่ 2 ควรรู้ในแบบอ่านง่ายๆ มาฝากกันค่ะ

Highlights

  • ขนาดท้องใหญ่ขึ้นเห็นได้ชัดเจน
  • เริ่มรู้สึกว่าลูกเริ่มดิ้นแล้ว และรู้ว่าลูกเป็นเด็กชายหรือเด็กหญิง
  • อาการแพ้ท้องค่อยๆหายไป
  • เริ่มมีอาการปวดหลัง กรดไหลย้อน วิงเวียนศีรษะ
  • น้ำนมเหลืองเริ่มไหล
  • น้ำหนักเพิ่มขึ้นสัปดาห์ละ 5 กิโลกรัม

อาการแบบนี้ต้องหาหมอ

  • เลือดออกทางช่องคลอด ตกขาวผิดปกติ คือ มีกลิ่นเหม็น เป็นมูก มีเลือดปน
  • ปวดช่องท้องหรือมีการบีบตัวของมดลูกมากกว่า 4 ครั้งใน 1 ชั่วโมง
  • ปวดหน่วงๆที่อุ้งเชิงกรานหรือรู้สึกถึงแรงกดเพิ่มมากขึ้น
  • ปวดหลังส่วนล่างทั้งๆที่ไม่เคยปวดมาก่อน
  • ปวดหัวรุนแรงและต่อเนื่อง
  • ปวดท้องรุนแรง ท้องแข็งตึงอย่างต่อเนื่อง
  • มองเห็นไม่ชัด เห็นภาพซ้อน หรือเห็นจุดดำลอยไปมา
  • หน้าบวม ตาบวม มือบวม จู่ๆเท้ากับข้อก็บวมอย่างกระทันหัน ขาข้างใดข้างหนึ่งบวมผิดปกติ
  • น้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
  • ขาเป็นตะคริวไม่หาย และเจ็บน่อง
  • แสบและปวดขณะปัสสาวะ
  • อาเจียนรุนแรงร่วมกับมีไข้
  • มีไข้เท่ากับหรือมากกว่า 38 องศาเซลเซียส
  • วิงเวียน หน้ามืด ใจสั่น หัวใจเต้นแรง หายใจลำบาก
  • มีผื่นคันขึ้นทั่วร่างกาย
  • ลูกดิ้นน้อยลง

Must do

พบแพทย์เพื่อตรวจร่างกาย เช่น การชั่งน้ำหนัก ตรวจปัสสาวะและความดันโลหิต ฟังเสียงหัวใจของลูก ตรวจขนาดหน้าท้องและมดลูก และตรวจวินิจฉัยก่อนคลอด ได้แก่ การตรวจเลือดเพื่อตรวจหาความผิดปกติของทารก การเจาะน้ำคร่ำ (สำหรับคุณแม่ที่มีความเสี่ยง เช่น อายุมากกว่า 35 ปี) การอัลตราซาวด์ การตรวจคัดกรองเบาหวาน

อาหารการกิน

สำหรับไตรมาสนี้มีสารอาหาร 3 ชนิดที่แม่ท้องต้องให้ความสำคัญมากเป็นพิเศษ ได้แก่

1. โปรตีน เพราะจำเป็นมากต่อการเจริญเติบโตของลูก

2. ธาตุเหล็ก เนื่องจากคนตั้งครรภ์ต้องการธาตุเหล็กมากกว่าคนปกติ เพื่อเสริมสร้างส่วนของทารกและส่วนของแม่ ซึ่งแม่ท้องต้องการธาตุเหล็กตลอดการตั้งครรภ์จำนวน 1,000 มิลลิกรัม โดยจำนวน 300 มิลลิกรัม ไปสร้างส่วนที่เป็นรกและทารก จำนวน 500 มิลลิกรัม ไปเพิ่มส่วนที่เป็นโลหิตของแม่ และจำนวน 200 มิลลิกรัม ถูกขับออกทางอุจจาระ ปัสสาวะ และเหงื่อ

3. แคลเซียม จำเป็นมากสำหรับการสร้างกระดูกและฟันของลูก และบำรุงกระดูกของแม่ให้แข็งแรง สำหรับคุณแม่ที่ดื่มนมไม่ได้ คุณแม่สามารถกินแคลเซียมจากแหล่งอื่นได้ เช่น คะน้า ปลาตัวเล็ก ถั่วเหลือง เต้าหู้ ข้าวโอ๊ต งา เป็นต้น

การออกกำลังกาย

ขนาดท้องที่ใหญ่ขึ้นทำให้คุณแม่ทรงตัวลำบาก หกล้มได้ง่าย ดังนั้นควรเลือกประเภทของการออกกำลังกายที่ไม่เคลื่อนไหวเร็วเกินไป เช่น ว่ายน้ำ โยคะ เดิน เป็นต้น

Tip

การฝึกขมิบเป็นการบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานให้แข็งแรง ช่วยให้คลอดง่าย ใช้เวลาคลอดน้อยลง

Do You Know?

อัตราเสี่ยงแท้งจากการเจาะน้ำคร่ำมี 0.5% จากการติดเชื้อ ดังนั้นหลังจากได้รับการตรวจแล้วควรพักผ่อนให้เพียงพอ งดยกของหนัก และงดการมีเพศสัมพันธ์ในช่วง 1-2 วันแรกหลังจากการตรวจ

 

อ่านเพิ่มเติม

  1. คัมภีร์แม่ท้องแบบง่ายๆ (ไตรมาส 1)
  2. คัมภีร์แม่ท้องแบบง่ายๆ (ไตรมาส 3)

 

บทความโดย : กองบรรณาธิการนิตยสารเรียลพาเรนติ้ง

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up