เร่งคลอดแบบธรรมชาติ

6 อาหาร ช่วยแม่ท้อง เร่งคลอดแบบธรรมชาติ

event
เร่งคลอดแบบธรรมชาติ
เร่งคลอดแบบธรรมชาติ
เร่งคลอดธรรมชาติ
วิธีเร่งคลอดธรรมชาติ สำหรับคุณแม่ใกล้คลอด

วิธี เร่งคลอดแบบธรรมชาติ : ดื่มน้ำมากๆ

คุณแม่ท้อง ควรดื่ม หรือกินอะไรก็ได้ ที่จะเป็นผลให้คุณปวดปัสสาวะเข้าห้องน้ำบ่อยๆ เพราะการถ่ายปัสสาวะบ่อยๆ จะทำให้เกิดแรงบีบที่มดลูก จึงทำให้คลอดง่ายขึ้น

และยังมีอีกหนึ่งเรื่องง่ายๆ ที่จะช่วยคุณแม่เร่งคลอดได้ นั้นคือการ ฝึกหายใจเบ่งคลอด เพราะจังหวะการหายใจที่ถูกต้องจะช่วยได้มากในเรื่องของแรงเบ่ง คุณแม่บางคนตั้งสติไม่ได้ร้องโวยวาย ก็ยิ่งทำให้ลมเบ่งหมดเร็วและไม่ทันได้เก็บลมเบ่งไว้ถูกที่ถูกเวลา ซึ่งวิธีการฝึกลมหายใจที่ถูกนี้คุณแม่ควรหาข้อมูลและฝึกการหายใจบ่อยๆ เมื่อถึงเวลาคลอดก็จะสามารถปฏิบัติได้โดยอัตโนมัติค่ะ >> คลิกอ่าน วิธีเบ่งคลอดลูกที่ถูกต้อง สำหรับคุณแม่เตรียมคลอดลูก

ส่วนอีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่สุดที่คุณแม่พึงระลึกถึงเสมอเมื่ออยู่ในห้องคลอด  คือ  การประคองสติของตัวเองให้รู้ตัวอยู่เสมอจะได้ไม่ทำอะไรผิดพลาดเพราะขาดสติจากความเจ็บปวดและตื่นกลัวค่ะ

กรณีที่ควรเร่งคลอด

  • คุณแม่ตั้งครรภ์เกิน 40 สัปดาห์ (Postterm pregnancy) เป็นกรณีที่พบได้บ่อยที่สุด เพราะถ้าปล่อยไว้จะรกเสื่อมจนไม่สามารถนำอาหารและออกซิเจนมาเลี้ยงทารกในครรภ์ได้อีกต่อไป จึงอาจทำให้ขาดออกซิเจนและอาหารได้
  • คุณแม่อยู่ห่างไกลจากโรงพยาบาลมาก เพราะถ้ารอให้เจ็บครรภ์คลอดก่อนแล้วค่อยเดินทางมาโรงพยาบาลเกรงว่าอาจจะไม่ทันกาล ซึ่งอาจทำให้มีการคลอดระหว่างทางได้
  • ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บครรภ์คลอด (Premature rupture of membranes) หรือก่อนที่อายุครรภ์จะครบ 37 สัปดาห์ เพราะถ้าปล่อยให้ตั้งท้องไปนาน ๆ อาจทำให้เกิดการติดเชื้อหรือเด็กมีความพิการแต่กำเนิดได้
  • ทารกในครรภ์เติบโตช้าหรือมีน้ำหนักตัวน้อย (Severe fetal growth restriction) เนื่องจากคุณแม่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเลือด โรคติดเชื้อต่าง ๆ หรือสภาพมดลูกไม่สมบูรณ์, คุณแม่ที่สูบบุหรี่จัด และคุณแม่รับประทานอาหารที่ไม่เพียงพอและเหมาะสมในขณะตั้งครรภ์ ในกรณีเหล่านี้คุณหมออาจตัดสินใจเร่งคลอดเพื่อนำเด็กออกมาเลี้ยงข้างนอกจะปลอดภัยกว่า
  • ความดันโลหิตสูง (Gestational hypertension) หรือ ครรภ์เป็นพิษ (Preeclampsia, Eclampsia) เป็นภาวะที่ทำให้เส้นเลือดทั่วร่างกายหดรัดตัว ทำให้ปริมาณของเลือดที่ส่งไปเลี้ยงจึงลดน้อยลง ถ้าปล่อยไว้อาจทำให้ทารกในครรภ์เสียชีวิตได้ เพราะเนื้อเยื่อรกบางส่วนขาดเลือดไปหล่อเลี้ยง
  • คุณแม่เกิดการอักเสบติดเชื้อในถุงน้ำคร่ำ (Chorioamnionitis)
  • ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด (Abruptio placenta)
  • ภาวะน้ำคร่ำน้อย (Oligohydramnios)
  • การตั้งครรภ์แฝดที่มีภาวะแทรกซ้อน ที่อาจทำให้ทารกในครรภ์ไม่แข็งแรง หรือเสี่ยงต่อชีวิตของคุณแม่และทารก
  • ทารกเสียชีวิตในครรภ์ (Fetal death) หากปล่อยให้ทารกที่เสียชีวิตแล้วยังอยู่ในครรภ์และยังไม่หลุดออกมาเองนานเกินไป จะทำให้คุณแม่เกิดภาวะลิ่มเลือดไม่แข็งตัวได้ เพราะอาจมีส่วนเสื่อมสลายของลูกหลุดเข้าไปในกระแสเลือดได้
Must read การเร่งคลอด คืออะไร ทำไมถึงต้องเร่งคลอด?

ในกรณีที่คุณแม่อายุครรภ์ยังไม่ถึง 37 สัปดาห์ แต่มีความจำเป็นต้องเร่งคลอด คุณหมอจะดูว่าอันตรายแค่ไหน ถ้าสามารถรอได้ก็จะให้รอจนกว่าจะครบกำหนดคลอดหรือใกล้เคียงกับกำหนดคลอดมากที่สุด แต่ถ้ารอไม่ได้ เช่น ในกรณีที่ครรภ์เป็นพิษ หมอจึงจำเป็นต้องรีบเร่งคลอดเพื่อความปลอดภัยของคุณแม่และทารกในครรภ์ให้เร็วที่สุด

แม้ครรภ์คุณแม่เกินกำหนด แต่ลูกน้อยใกล้จะออกมาดูโลกในไม่ช้านี้แล้ว ขอให้คุณแม่ทำใจให้สบาย เรื่องนี้ไม่ควรใจร้อนเร่งธรรมชาติมากเกินไปนัก

อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก!


ขอบคุณข้อมูลจาก : www.mumbabe.com

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up