แม่ท้องเตรียมพร้อมบำรุงความแข็งแรงของลูกในครรภ์

Alternative Textaccount_circle
event

Pregnancy 14-27 Weeks

“ท้องได้5เดือนแล้ว ควรบำรุงครรภ์ยังไง หรือควรดื่มนมบำรุงครรภ์ยี่ห้ออะไรดีคะ?”

จากสมาชิกหมายเลข 1426884 กระทู้ pantip.com/topic/32173565

“สวัสดีคะคือมีเรื่องอยากจะถามว่าท้องได้5เดือนแล้ววันนี้เพิ่งกลับบ้านมาเยี่ยมแม่ที่ตจว. พอชาวบ้านเห็นว่าท้องเขาก็เลยถามดิชั้นว่าดื่มนมบำรุงครรภ์ของอะไร เลยตอบไปว่าไม่ได้ดื่มเขาถามกันว่าทำไมไม่ดื่ม ต้องดื่มนะ คือท้องแรกและไม่ได้อยู่กับผู้ใหญ่เลยไม่รู้ว่าต้องทำไงบ้าง ตอนไปฝากท้องหมอก็ให้แค่ยาบำรุงเลือดกับแคลเซียม จึงกินแค่นั้นและเน้นไปทางเรื่องอาหารการกินแทน ประเด็นหลักเลยอยากถามว่าจำเป็นต้องกินนมบำรุงครรภ์ไหมคะ ?ถ้าจำเป็นยี่ห้ออะไรถึงจะดีสุดคะ?”

หญิงตั้งครรภ์โดยทั่วไป ในช่วงครึ่งหลังของการตั้งครรภ์ ควรได้รับยาบำรุงเลือด(ธาตุเหล็ก) อย่างน้อยวันละ 27 มิลลิกรัมต่อวัน (ประมาณวันละหนึ่งเม็ดของยาบำรุงเลือดที่ขายโดยทั่วไปตามท้องตลาด) แต่หากมีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก หรือเป็นครรภ์แฝด ก็ควรได้รับมากกว่านี้ค่ะ

แคลเซียม โดยทั่วไปมีในอาหารอยู่แล้ว เช่น ในนมสด ปลาเล็กปลาน้อย กุ้งแห้ง เต้าหู้อ่อน ผักคะน้า ไข่แดง เป็นต้น แนะนำให้ทานเสริม อย่างน้อยวันละ 1000 มิลลิกรัมวัน (หรือประมาณวันละหนึ่งเม็ดของยาแคลเซียมที่ขายโดยทั่วไป) โดยไม่จำเป็นต้องดื่มนมผงบำรุงครรภ์สำหรับคนที่ตั้งครรภ์โดยเฉพาะ หรือดื่มนมสดมากๆ เพราะกลัวจะไม่พอต่อความต้องการของลูกอีก ทั้งนี้ การเพิ่มการดื่มนมผง หรือนมสดมากๆ ตอนช่วงที่ตั้งครรภ์ เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ทารกแพ้นมวัวหลังคลอดได้ค่ะ

 

Pregnancy 28-41 Weeks

“ระหว่าง1-9เดือน คุณแม่ต้องทำอะไรบ้างระหว่างตั้งครรภ์?”

จากสมาชิกหมายเลข 853008กระทู้pantip.com/topic/30574441

“… อยากทราบเผื่อเป็นข้อมูลในกับคุณแม่มือใหม่ค่ะคุณหมอเขามีตรวจพวก ธาลัสซีเมีย ปากแหว่งเพดานโหว่ หรือดาวน์ซินโดรมแล้วเขามีตรวจว่าเด็กตาบอดหูหนวกเป็นใบ้หรือเปล่าคะ?”

            หากคุณแม่ต้องการตรวจความสมบูรณ์ด้านอวัยวะทางร่างกายของลูกในครรภ์ สามารถตรวจได้โดยการอัลตราซาวน์ โดยแนะนำให้ทำในช่วงอายุครรภ์ 18-22 สัปดาห์ โดยสามารถตรวจในเรื่องโครงสร้างของร่างกายทารกได้ แต่ด้านการทำงานของอวัยวะ เช่น ตาบอด หูหนวก พัฒนาการทางด้านสมอง อาจประเมินได้ยากในขณะที่ทารกยังอยู่ในครรภ์ เมื่อทารกคลอดแล้ว โรงพยาบาลส่วนใหญ่ มักมีการตรวจการมองเห็นและการได้ยินของทารกโดยกุมารแพทย์ค่ะ

ส่วนโรคธาลัสซีเมีย เนื่องจากเป็นโรคเลือดจางที่พบได้บ่อยในคนไทย ดังนั้น นโยบายการฝากครรภ์จะมีการตรวจคัดกรองพาหะโรคธาลัสซีเมียให้หญิงตั้งครรภ์ทุกคนที่ฝากครรภ์อยู่แล้ว ทั้งนี้ หากพบว่าหญิงตั้งครรภ์และสามีเป็นพาหะที่เป็นคู่เสี่ยงที่จะมีทารกเป็นโรคนี้ ก็จะแนะนำให้มีการตรวจทารกในครรภ์ต่อ หากอายุครรภ์ทารกยังไม่เกินหกเดือน โดยการเจาะน้ำคร่ำหรือเจาะเลือดสายสะดือของทารกในครรภ์ เป็นต้น

 อ่านต่อ แม่ท้องเตรียมพร้อมบำรุงความแข็งแรงของลูกในครรภ์ หน้า 3

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up