ที่บ้านของเรา คือต้นแบบมารยาทบนโต๊ะอาหารของลูก

Alternative Textaccount_circle
event

ในเด็กวัยประถมต้น 5 – 8 ขวบ หากจะเริ่มสอนว่า “กินให้เป็นที่เป็นทางนะลูก” ถือว่าช้าไปเสียหน่อย เพราะพฤติกรรมบนโต๊ะอาหารของเด็กถูกปลูกฝังจากบรรยากาศการรับประทานอาหารในบ้านมาตั้งแต่เล็กอย่างที่คุณไม่รู้ตัว

เห็นมาแบบไหน กินแบบนั้น

เด็กเรียนรู้ทักษะทางสังคมผ่านการสังเกตพฤติกรรมของพ่อแม่ และการควบคุมให้ลูกมีพฤติกรรมอย่างเหมาะสมในช่วงที่ผ่านมา ถ้าครอบครัวของเรานั่งกินข้าวเป็นที่เป็นทาง เด็กก็จะนั่งกินแบบนั้น ถ้าพ่อแม่ไม่กินข้าวเสียงดัง เด็กก็จะไม่ทำเสียงดัง แต่พฤติกรรมทุกอย่างนอกจากจะสอนกันได้ด้วยคำพูดและเหตุผลแล้วพ่อแม่ยังต้องกำกับให้เด็กปฏิบัติตามเหตุผลที่รับรู้นั้นไปพร้อมกันด้วย เพราะฉะนั้นเราต้องมีทักษะหาวิธีที่สร้างเด็กอย่างที่เราอยากให้เป็น

  • จริงๆ แล้วหนูไม่ได้ตั้งใจจะสร้างเสียงดัง สาเหตุเกิดจากเด็กในวัยนี้ไม่ทราบว่า ความเหมาะความควรอยู่ตรงไหน
ใช้คำพูดและเหตุผล ใช้ตัวช่วย
วิธีแก้ไขที่ถูกต้อง พูดคุยกับลูกเพื่อประเมินทำไมทำเสียงดังเป็นเพราะเล่นสนุก หรือจับไม่ถนัด เปลี่ยนภาชนะกินข้าวของลูกเสียใหม่ ใช้พลาสติกน้ำหนักเบา ตกไม่แตก
วิธีแก้ไขที่ผิด ดุด่าลูก เช่น “บอกกี่ครั้งแล้วทำไมยังทำไม่ได้สักที” คิดว่าใช้ภาชนะหนักๆ เช่น พวกจานกระเบื้อง สแตนเลส ใช้ฝึกเด็กกินข้าวได้

 

  • ไม่รู้ตัวว่าเคี้ยวข้าวเห็นฟัน สาเหตุเกิดจากเด็กไม่ทราบว่ามันไม่เหมาะสมอย่างไร
ใช้คำพูดและเหตุผล ใช้ตัวช่วย
วิธีแก้ไขที่ถูกต้อง บอกลูกว่าเป็นพฤติกรรมที่ดูไม่ดีเวลากินอาหาร   ให้สอนอย่างมีเทคนิคและให้คำชมเป็นแรงเสริมว่า “เก่งมากเลยจ้าที่ลูกปิดปากเวลาเคี้ยว” เมื่อลูกทำได้อย่างเหมาะสม นำกระจกมาตั้งให้ลูกดูท่าทางการเคี้ยวของตัวเอง ครั้งต่อไปหากลูกเผลอ บอกลูกว่า “เอาอย่างนี้นะลูก เวลาที่หนูพูดแล้วมันเห็นข้าวที่เคี้ยวอยู่แล้วน่าเกลียด แม่จะสะกิดลูกจะได้รู้สึกตัว”
วิธีแก้ไขที่ผิด ดุลูก “น่าเกลียด อย่าทำแบบนี้อีกนะ เดี๋ยวคนอื่นจะหาว่าพ่อแม่ไม่สอน” ตีปากลูก เด็กจะตกใจและมีประสบการณ์ที่ไม่ดีกับการรับประทานอาหาร

 

 

 

บทความโดย กองบรรณาธิการ
เรื่องโดย นพ. พงษ์ศักดิ์ น้อยพยัคฆ์ กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการและพฤติกรรม หัวหน้าภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช

ภาพ : Shutterstock

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up