การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

เคล็ดลับ! เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างไรให้สำเร็จ

Alternative Textaccount_circle
event
การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

3.ทำสต็อกนมแม่ให้เข้าเป้า และแก้ปัญหาน้ำนมน้อย

โดยปกติแล้ว คนส่วนใหญ่ 97% จะมีน้ำนมอยู่ปานกลาง นั่นคือ เมื่อให้ลูกกินนมแล้ว จะยังสามารถปั๊มนมออกมาได้ประมาณ 20 กว่าออนซ์ สำหรับคุณแม่ที่มีน้ำนมน้อยนั้นมีเพียง 3-5 % คุณแม่ต้องอดทน แล้วเก็บน้ำนมต่อไป ถ้าคุณแม่ทำทุกอย่างได้ถูกต้อง ก็จะสามารถทำให้น้ำนมเพิ่มขึ้นได้

ยิ่งคุณแม่ปั๊มนมบ่อยเท่าไหร่ น้ำนมก็จะผลิตออกมาบ่อยเท่านั้น แล้วคุณแม่ก็สามารถทำสต็อกเก็บเอาไว้ได้ หรืออาจจะใช้วิธีการรับประทานยาเพิ่มน้ำนม แต่ก็ต้องปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทาน ว่ามีภาวะ หรือผลข้างเคียงหรือไม่ หรือมีโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะหรือเปล่า รวมถึงเมื่อคุณแม่ไม่มีเวลาปั๊มนม ก็อาจจะทำให้น้ำนมน้อยลงได้

ตามความเชื่อของคนโบราณที่แนะนำให้รับประทานอาหารบางชนิด เพื่อเพิ่มการผลิตน้ำนม คุณหมอกล่าวว่า อาหารเหล่านี้ยังไม่มีการวิจัยยืนยัน เพียงรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ในปริมาณที่เพียงพอ ได้รับแคลเซียมที่เพียงพอ สำหรับการผลิตน้ำนมนั้น คุณหมอแนะนำว่าคุณแม่จะต้องการแคลอรี่เพิ่มขึ้นเพียง 500 กิโลแคลอรี่ ซึ่งมีความจำเป็นเพียงพอต่อการผลิตน้ำนม

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่คุณหมอสุธีรา กล่าวว่า การไม่เครียดคือสิ่งสำคัญมาก ซึ่งโดยปกติแล้วคนทั่วไป น้ำนมจะมาโดยเฉลี่ยประมาณ 2-3 วันหลังคลอด คุณแม่ต้องคอยกระตุ้น ถ้าไม่กระตุ้นแล้วน้ำนมจะน้อย ต้องให้ลูกน้อยดูดเร็ว ดูดบ่อย ดูดถูกวิธี ซึ่งสำหรับคุณแม่ที่คลอดเอง จะสามารถให้นมได้ตั้งแต่อยู่ในห้องคลอด โดยให้ลูกนอนบนอกแม่ แล้วให้ลูกน้อยคลานหาเต้าด้วยตัวเอง ซึ่งลูกน้อยจะคลานไปตามกลิ่น เป็นพัฒนาการของลูกน้อยเมื่อแรกคลอด

โดยลานหัวนมของคุณแม่จะมีต่อมไขมันชนิดพิเศษ ช่วยให้บริเวณนี้มีความชุ่มชื้น ไม่แห้ง เพราะเมื่อหัวนมโดนน้ำลายลูกบ่อยๆ ก็อาจจะแตกง่าย นอกจากนี้ จะมีกลิ่นคล้ายน้ำคร่ำ ลูกน้อยจึงสามารถคลานมาเข้าเต้าได้เองภายใน 60 นาที ลูกจะเริ่มดูดนมเองตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นสัญชาติญาณของเด็กที่ธรรมชาติเตรียมการเอาไว้แล้ว แต่บางครั้งความก้าวหน้าทางการแพทย์อาจไปเบี่ยงเบน แยกแม่ลูก เพื่อไปดูความเรียบร้อย ซึ่งใช้เวลาหลายชั่วโมง สัญชาติญาณนี้จึงหายไป

คุณแม่ต้องพยายามลูกกระตุ้นเต้านมบ่อยๆ ประมาณทุก 1 ชั่วโมง ช่วงแรกเกิดลูกน้อยอาจดูดนมแม่ได้ตลอดเวลา ซึ่งความจุในกระเพาะของลูกน้อยเมื่อแรกเกิดจะมีอยู่ประมาณ 5 ซีซี เท่ากับผลเชอร์รี่ นมที่พึ่งออกจากเต้าแม่เป็นครั้งแรกจะมีความหนืด เพราะเป็นนมน้ำเหลือง และมีภูมิคุ้มกันสูง เปรียบเทียบได้กับวัคซีน 4,000 เข็ม โดยคุณแม่ควรให้ลูกน้อยดูดนมข้างละประมาณ 15-20 นาที

การให้ลูกน้อยดูดนมจะช่วยกระตุ้นได้ดีกว่าเครื่องปั๊ม หรือให้คุณพ่อช่วยกระตุ้นน้ำนมด้วยการบีบ หลังจากที่ลูกดูดนมแล้ว น้ำหนักก็จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นมก็จะเพิ่มขึ้น ทำให้ลูกน้อยสามารถดูดนมแม่แล้วอยู่ได้ประมาณ 3-4 ชั่วโมง

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

อ่านต่อ “สารพัดปัญหาเกี่ยวกับการให้นมแม่” คลิกหน้า 4

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up