แม่ผู้เสียสละ

นี่แหละที่เรียกว่า มีจิตวิญญาณของคนเป็นแม่อย่างแท้จริง! แม้ตัวเจ็บ แต่ก็ยังฝืนให้ลูกดื่มนมจากอก เพื่อปลอบประโลม

event
แม่ผู้เสียสละ
แม่ผู้เสียสละ

แม่ผู้เสียสละ แม่ผู้เสียสละ

ซึ่งพอสอบถามทำให้ทราบว่า หนูน้อยทารกคนนี้ อายุ 1 ปีเศษ ได้รับบาดเจ็บฟกช้ำ มีแผลถลอกตามตัวจนต้องร้องไห้ตลอดเวลา ผู้เป็นแม่จึงฝืนเจ็บถลกเสื้อขึ้นมาให้ดื่มกินนมจากเต้าปลอบประโลม ก่อนนำส่ง รพ.สุโขทัย

แม่ ผู้เสียสละ

จากเหตุดังกล่าว ทำให้หลายคนที่ได้เห็นภาพต่างรู้สึกสงสารจนน้ำตาไหลในความรักของคนเป็นแม่อย่างมาก และกระทั่งมีการเผยแพร่ในสังคมออนไลน์ จึงทำให้เกิดความซาบซึ้งและประทับใจในหัวจิตหัวใจของคนเป็นแม่ของหญิงสาววัยรุ่นรายนี้อย่างมาก

นมแม่ช่วยบรรเทาความเจ็บปวดของลูกได้จริงหรือ?

หากจะพูดถึงการบรรเทาความเจ็บปวดของลูกน้อย ด้วยอ้อมอกแม่ หรือด้วยน้ำนมจากเต้าของแม่ ก็สามารถเป็นไปได้ เพราะ พญ.บุณยาพร พันธิตพงษ์ กลุ่มงานสูติกรรม โรงพยาบาลพระปกเกล้า จ.จันทบุรี ได้เปิดเผยถึงผลการวิจัย R2R เรื่อง “เปรียบเทียบผลของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในการลดระดับความเจ็บปวดของทารกแรกเกิดจากการเจาะเลือดขณะให้ลูกกำลังดูดนมแม่และหลังจากให้ลูกดูดนมแม่แล้ว”

♥ แนะนำบทความควรอ่าน!ประโยชน์คับเต้า นมแม่ ทำอะไรได้มากกว่าที่คิด
♥ แนะนำบทความควรอ่าน!น้ำนมเหลือง สิ่งมหัศจรรย์ปกป้องลูกจากโรคร้าย

โดยพญ.บุณยาพ กล่าวว่า ทารกแรกเกิดมีโอกาสที่จะได้รับการทำหัตถการที่ก่อให้เกิดความเจ็บปวด เช่น ถูกเจาะเลือด หรือฉีดยา เป็นต้น จึงได้ทำการศึกษาในทารกแรกคลอดครบกำหนดจำนวน 75 คน ที่ต้องถูกเจาะเลือดตามกระบวนการดูแลทารกตามปกติที่อายุ 48 ชั่วโมง

ทั้งนี้ ทารกจะถูกจับสลากแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ถูกเจาะเลือดขณะกำลังดูดนมแม่ , กลุ่มที่ 2 ถูกเจาะเลือดหลังดูดนมแม่อิ่มแล้วไม่เกิน 10 นาที และกลุ่มที่ 3 ถูกเจาะเลือดขณะที่ไม่ได้ดูดนมแม่มานานเกิน 1 ชั่วโมงแล้ว แต่ไม่เกิน 2 ชั่วโมง

แล้ววัดการตอบสนองต่อความเจ็บปวดทางสรีระด้วยอัตราการเต้นของหัวใจ ค่าความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือดที่เปลี่ยนแปลง วัดพฤติกรรมที่ตอบสนองต่อความเจ็บปวดด้วยระยะเวลานานของการร้องไห้ และ Neonatal Infant Pain Scale (NIPS) ซึ่งเป็นแบบประเมินการตอบสนองเพิ่มขึ้นระหว่างการทำหัตถการ และคะแนนลดลงหลังทำหัตถการ เพื่อใช้เฝ้าระวังทารกก่อน ระหว่าง และหลังการทำหัตถการที่ทำให้ทารกได้รับความเจ็บปวด

พญ.บุณยาพร กล่าวว่า จากการศึกษาพบว่า ระยะเวลานานของการร้องไห้และ NIPS ในทารกที่ถูกเจาะเลือดขณะดำลังดูดนมแม่น้อยกว่ากลุ่มที่ 2 และ 3 อย่างชัดเจน ส่วนการเปลี่ยนแปลงอัตราการเต้นของหัวใจและค่าความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือดทั้ง 3 กลุ่มไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติ

สรุปคือ การทำหัตถการทารกขณะดูดนมแม่ ช่วยลดความเจ็บปวดของทารกได้ ถือเป็นการนำสิ่งที่เป็นธรรมชาติ คือ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มาใช้ให้เกิดประโยชน์ทางคลินิก

อ่านต่อ >> จิตวิญญาณของความเป็นแม่ คืออะไร” คลิกหน้า 3

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up