ATK ขึ้น 2 ขีด

อัปเดทล่าสุด ATK ขึ้น 2 ขีด ลูกติดโควิดพ่อแม่ควรทำยังไง

Alternative Textaccount_circle
event
ATK ขึ้น 2 ขีด
ATK ขึ้น 2 ขีด

 

ATK ขึ้น 2 ขีด ลูกติดโควิด พ่อแม่ควรทำยังไง!!

การระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 สายพันธุ์โอมิครอน ทำให้การแพร่ระบาดเป็นวงกว้าง และเพิ่มจำนวนผู้ติดเชื้อมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ถึงแม้ว่าที่ผ่านมาเราจะมีการระดมฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโควิดกันมาแล้วก็ตาม ล่าสุดเมื่อ วันที่ 11 ก.ค. 2565 ‘กรมการแพทย์’ ได้ออกแนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแลรักษา และป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำหรับแพทย์และบุคลากรสาธารณสุข ฉบับปรับปรุงใหม่ ครั้งที่ 24 ในกรณีตรวจ ATK ขึ้น 2 ขีด สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี และบุคคลทั่วไปออกมาค่ะ

เมื่อไรที่เราต้องตรวจ COVID-19?

เมื่อไรที่จะต้องตรวจหาเชื้อก่อโรคโควิด-19 หมอขอแบ่งเป็น 2 กรณีด้วยกัน คือ สำหรับผู้ที่มีอาการ และผู้ที่ไม่มีอาการ

กรณี 1) สำหรับผู้ที่ไม่มีอาการ และได้มีประวัติสัมผัสกับผู้ติดเชื้อ หรือผู้ที่ได้รับเชื้อโควิด-19 มาแล้ว แนะนำให้ตรวจหาเชื้อ โดยควรตรวจหลังจากสัมผัสผู้ติดเชื้อมาแล้ว 3 – 5 วัน ในระหว่างนี้ ให้ใส่หน้ากากอนามัย และรักษาระยะห่าง ตรวจสอบตัวเองว่าได้รับวัคซีนครบแล้วหรือยัง ถ้าเกิดว่าฉีดวัคซีนครบโดส หรือฉีดครบ 2 เข็มแล้ว บวกกับได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น หรือ Booster Dose แล้ว ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องกักแยกตัวเอง ให้ใส่หน้ากากอนามัย รักษาระยะห่าง และสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ

กรณี 2) สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการ เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจส่วนบน ในภาวะที่มีการแพร่ระบาดอย่างรุนแรง แนะนำให้ตรวจทุกรายในผู้ที่มีอาการเหล่านี้ ได้แก่ อาการไข้ ไอ ปวดตัว เจ็บคอมาก มีน้ำมูก เคืองคอ ปวดตัวแบบไม่ทราบสาเหตุ

ข้อดีหรือประโยชน์ของการตรวจหาเชื้อก่อโรคโควิด-19 นี้ คือ เมื่อไรก็ตามที่เรารู้ว่าเราได้รับเชื้อมา เราจะได้แยกตัวออกมาอย่างน้อย 10 วัน เพื่อลดความเสี่ยงในการที่จะแพร่กระจายเชื้อให้ผู้ป่วยท่านอื่นๆ อีกทั้งเราจะได้สบายใจด้วยว่าเราไม่ได้รับเชื้อมา

ATK : Antigen Test Kit

Antigen Test Kit หรือ ATK จะเป็นการตรวจหาเศษส่วนของเชื้อ โดยชุดตรวจ ATK นี้เราสามารถตรวจเองได้ที่บ้าน โดยมีหลายวิธี ตั้งแต่วิธีการ Swab จมูก, Swab คอ และชุดตรวจแบบน้ำลาย แนะนำว่าให้ใช้ชุดตรวจที่ได้รับมาตรฐานตามที่ WHO แนะนำ โดยควรใช้ชุดตรวจที่ระบุไว้ข้างกล่องว่าเป็นวิธี Lateral Flow Technique (LTF) วิธีนี้มีความแม่นยำ 60-90% ซึ่งขึ้นอยู่กับแต่ละยี่ห้อของชุดทดสอบ

การตรวจแบบ LTF นี้ เหมาะสำหรับทุกคน สามารถใช้งานง่าย และทราบผลรวดเร็ว โดยจะแสดงผลตรวจภายในเวลาประมาณ 15 – 30 นาที ข้อควรระวังในการใช้ชุดตรวจ ATK ที่สำคัญคือ ไม่แนะนำให้ตรวจให้คนอื่น เพราะเนื่องจากถ้าเราไม่มีเชื้อ และไปตรวจให้กับผู้ที่ติดเชื้อ โดยที่ไม่ได้ใส่ชุด PPE หรือชุดป้องกันที่ถูกต้อง อาจจะทำให้ได้รับเชื้อมาในระหว่างที่ตรวจให้ผู้อื่นได้

  • ชุดตรวจโควิดแบบ Swab จมูก/คอ มีขั้นตอนการตรวจไม่ยุ่งยาก ใช้ระยะเวลาในการรอผลทดสอบไม่นาน
  • ชุดตรวจโควิดแบบทดสอบน้ำลาย เหมาะสำหรับคนที่ไม่มั่นใจว่าจะ Swab ได้ถูกต้องหรือไม่ ช่วยลดอาการระคายเคือง และลดความเสี่ยงจากการบาดเจ็บขณะ Swab เหมาะกับผู้สูงวัยและเด็กเล็ก
ข้อมูลอ้างอิงจาก แพทย์หญิง วรฉัตร เรสลี อายุรแพทย์เฉพาะทางโรคติดเชื้อ รพ.ศิครินทร์
ตรวจ ATK ขึ้น 2 ขีด ทำยังไง
ตรวจ ATK ขึ้น 2 ขีด ทำยังไง

เปิดคำแนะนำ : การปฎิบัติตนเมื่อลูกตรวจ ATK ขึ้น 2 ขีด!!

ล่าสุดเมื่อ วันที่ 11 ก.ค. 2565 ‘กรมการแพทย์’ ออก แนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแลรักษา และป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำหรับแพทย์และบุคลากรสาธารณสุข ฉบับปรับปรุงใหม่ ครั้งที่ 24 ในผู้ป่วยเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีดังนี้ค่ะ

ผู้ติดเชื้อเข้าข่าย (Probable case) ผู้ที่มีผลตรวจ ATK ต่อ SARS-CoV-2 ให้ผลบวก และรวมผู้ติดเชื้อยืนยันทั้งผู้ที่มี อาการและไม่แสดงอาการ ให้ใช้ยาในการรักษาจำเพาะดังนี้ โดยมีระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาลเหมือนผู้ใหญ่

1. ผู้ป่วยที่ไม่มีอาการ (Asymptomatic COVID-19)

แนะนำให้ดูแลรักษาตามดุลยพินิจของแพทย์

2. ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง ไม่มีปอดอักเสบ ไม่มีปัจจัยเสี่ยง (Mild symptomatic COVID-19 without pneumonia and no risk factors)

แนะนำให้ดูแลรักษาตามอาการ พิจารณาให้ favipiravir เป็นเวลา 5 วัน

3. ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง แต่มีปัจจัยเสี่ยง หรือมีอาการปอดอักเสบ (pneumonia) เล็กน้อยไม่เข้าเกณฑ์ข้อ 4 (Mild symptomatic COVID-19 pneumonia but with risk factors) ทั้งนี้ ปัจจัยเสี่ยง/โรคร่วมสำคัญ ได้แก่ อายุน้อย กว่า 1 ปี และภาวะเสี่ยงอื่น ๆ ได้แก่ โรคอ้วน (น้ำหนักเทียบกับความสูง (weight for height) มากกว่า +3 SD) โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง รวมทั้งหอบหืดที่มีอาการปานกลางหรือรุนแรง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือด สมอง โรคไตวายเรื้อรัง โรคมะเร็งและภาวะภูมิคุ้มกันต่ำโรคเบาหวาน กลุ่มโรคพันธุกรรม รวมทั้งกลุ่มอาการดาวน์ เด็กที่มีภาวะบกพร่องทางระบบประสาทอย่างรุนแรง เด็กที่มีพัฒนาการช้า แนะนำให้ favipiravir เป็นเวลา 5 วัน อาจให้นานกว่านี้ได้หากอาการยังมาก โดยแพทย์พิจารณาตามความเหมาะสม

4. ผู้ป่วยยืนยันที่มีอาการปอดอักเสบ (pneumonia) และมีหายใจเร็วกว่าอัตราการหายใจตามกำหนดอายุ (60 ครั้ง/นาที ในเด็กอายุ <2 เดือน, 50 ครั้ง/นาที ในเด็กอายุ 2-12 เดือน, 40 ครั้ง/นาที ในเด็กอายุ 1-5 ปี และ 30 ครั้ง/นาที ในเด็กอายุ >5 ปี) หรือมีอาการรุนแรงอื่น ๆ เช่น กินได้น้อย มีภาวะขาดน้ำ ไข้สูง ชัก หรือท้องเสียมาก เป็นต้น แนะนำให้ remdesivir หรือ favipiravir เป็นเวลา 5-10 วัน พิจารณาให้ corticosteroid ตามความเหมาะสม และดุลยพินิจของแพทย์

เมื่อผลตรวจ ATK ขึ้น 2 ขีด พ่อแม่ต้องทำอย่างไร
เมื่อผลตรวจ ATK ขึ้น 2 ขีด พ่อแม่ต้องทำอย่างไร

สำหรับเด็กที่ไม่มีอาการ หรือ อาการน้อย ให้รักษาแบบผู้ป่วยนอก โดยแยกกักตัวที่บ้าน 

MIS-C จะมาไหมจะดูอย่างไร?

ภาวะ MIS-C หรือ การอักเสบในหลาย ๆ ระบบของร่างกายตามหลังการติดเชื้อโควิด-19 พบได้มากขึ้น แม้จะไม่บ่อย แต่ก็พึงเฝ้าระวังโดยเฉพาะหลังติดเชื้อ ช่วง 2-6 สัปดาห์ หลังจากนั้นโอกาสพบจะลดลงอาการหลัก ๆ ก็ไข้สูง อ่อนเพลีย ผื่นตามตัว มือเท้าแดง ซึ่งหากสงสัยควรไปพบแพทย์ เพื่อทำการวินิจฉัย และรักษา

ยังต้องรับวัคซีนป้องกันโควิดไหม?

เด็กอายุ 5 ปีขึ้นไป ยังต้องรับให้ครบ โดยห่างจากการติดเชื้อไปนาน 3 เดือน (นับตั้งแต่วันที่ ATK ขึ้น2 ขีด)

อาการเด็กติดโควิด19 ไม่รุนแรง พ่อแม่ดูแลแบบประคับประคอง
อาการเด็กติดโควิด19 ไม่รุนแรง พ่อแม่ดูแลแบบประคับประคอง

ทั้งหมดคือ “คำแนะนำเบื้องต้น” เมื่อ ATK 2 ขีด หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับคุณพ่อคุณแม่ ในสถานการณ์ ที่เด็กป่วยจำนวนมากขณะนี้ แต่ที่สำคัญมาก ๆ คือ เด็กอายุน้อยมาก ๆ ยังบอกเราไม่ได้ ยิ่งต้องตามดูอย่างใกล้ชิด ถ้าอาการเปลี่ยนแปลง ดูแย่ลง ซึมลง กินไม่ได้ ควรได้รับการตรวจเพิ่มเติม และได้รับยาต้านไวรัสตามข้อบ่งชี้ครับ ป้องกัน อย่าให้ติดเชื้อไว้ก่อนดีที่สุด

ขอบคุณข้อมูลจาก

กรมการแพทย์

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

เปิด 5 สูตร ฉีดวัคซีนโควิด19 ในเด็ก อายุต่ำกว่า 18 ปี

เมื่อคุณและลูก ติดโควิด ทำยังไง ? เปิดขั้นตอนการรักษาที่นี่

วัคซีนโควิด-19 ในเด็ก : ทำความเข้าใจ ปลอดภัย หายห่วง

วิธีทำแอลกอฮอล์เจลล้างมือ ฆ่าเชื้อโรค ไว้ใช้เองที่บ้าน

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up