แก้ท้องผูก

ผัก 8 ชนิด แก้ท้องผูก ลดปัญหาอุจจาระตกค้าง!

Alternative Textaccount_circle
event
แก้ท้องผูก
แก้ท้องผูก

กระเจี๊ยบเขียว

 

แก้ท้องผูก
เครดิตภาพ: iStock

การรับประทานฝักกระเจี๊ยบเขียวเป็นประจำ จะช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหาร เยื้อบุกระเพาะและลำไส้อักเสบ อีกทั้งยังช่วยในการทำงานของระบบขับถ่าย จึงช่วยในการขับถ่าย ทำให้ถ่ายอุจจาระได้คล่อง จึงช่วยป้องกันอาการท้องผูกได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังช่วยในการทำงานของระบบดูดซีมสารอาหาร ช่วยสนับสนุนการขยายพันธุ์ของแบคทีเรียที่มีประโยชน์ (โพรไบโอติกแบคทีเรีย) ช่วยลดความเสี่ยงของโรคแผลในกระเพาะอาหาร ป้องกันมะเร็งกระเพาะอาหาร และผลช่วยป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ ได้อีกด้วย

ตำลึง
แก้ท้องผูก

พูดถึงตำลึง คุณพ่อคุณแม่หลาย ๆ ท่านก็คงทราบกันดีอยู่แล้วว่า ประโยชน์ของตำลึงนั้นมีอะไรบ้าง แต่ถ้าหากใครยังไม่ทราบละก็ ทีมงานจะมาบอกเล่าให้ฟังค่ะ ประโยชน์ของตำลึงนั้น ช่วยลดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียดแน่นท้อง วิธีการรับประทานนั้น สามารถรับประทานสด ๆ ก็ได้นะคะ หรือว่าจะนำไปลวก หรือทำต้มจืดก็ได้ ล้วนแล้วแต่ช่วยระบายท้อง และช่วยขับสารพิษในลำไส้ แถมยังช่วยป้องกันอาการท้องผูกได้ทั้งสิ้น

กุยช่าย

แก้ท้องผูก
เครดิตภาพ: CA Herbal

กุยช่าย อีกผักขึ้นชื่อที่มีกากใยสูง นิยมนำมาผัดหรือนำมาทำเป็นขนม เส้นใยอาหารมีประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยช่วยเพิ่มปริมาณกากใยอาหารในระบบทางเดินอาหาร เมือกของผักนี้ให้ขับถ่ายคล่องและลดปริมาณของเสียที่สะสมในลำไส้ จึงลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะอักเสบและมะเร็งลำไส้ได้

ว่านหางจระเข้

แก้ท้องผูก

ว่านหางจระเข้สามารถใช้เป็นยาถ่าย โดยเลือกตัดว่านหางจระเข้พันธุ์เฉพาะที่ใบใหญ่และมีน้ำยางสีเหลืองในปริมาณมาก อายุประมาณ 9 เดือนขึ้นไป รองน้ำยางที่ไหลออกมาจากใบ แล้วนำไปเคี่ยวให้ข้น เทลงในพิมพ์ขนาดเล็กให้แข็งเป็นก้อนรับประทานเป็นยาได้ ซึ่งเม็ดยาจะมีสีแดงอมน้ำตาลไปจนถึงดำ เรียกว่า ยาดำ แบ่งรับประทานครั้งละประมาณ 0.25 กรัม (250 มิลลิกรัม) จะเป็นขนาดที่เหมาะสมในการใช้เป็นยาถ่าย หากต้องการรับประทานแบบสด ๆ ก็สามารถทำได้ โดยการตัดวุ้นที่ล้างสะอาดแล้วออกเป็นขนาด 3-4 เซนติเมตร แบ่งรับประทานวันละ 3 ครั้งหลังอาหาร หรือจะนำมาสับใส่ลงไปในน้ำต้มใส่ใบเตยก็ชื่นใจไปอีกแบบนะคะ แถมยังดับกระหายได้อีกด้วย

บวบ

แก้ท้องผูก
เครดิตภาพ: Pobpad

ไม่ว่าจะเอามาผัดกับไข่ หรือจะเอามาใส่ในแกงเลียงก็ล้วนแล้วแต่มีประโยชน์ทั้งสิ้น หากใครเบื่อก็สามารถนำรากใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาระบาย ส่วนผลก็มีสรรพคุณเป็นยาระบายเช่นกันนะคะ เนื่องจากรากและเมล็ดบวบเหลี่ยมที่มีรสขม มีฤทธิ์เป็นยาถ่ายนั่นเอง

เป็นอย่างไรกันบ้างคะผักบ้านเรา คุณสมบัติเพรียบพร้อมจริง ๆ เลยใช่ไหมละคะ ทราบแบบนี้แล้วต่อไปนี้เวลาท้องผูก อย่าลืม แก้ท้องผูก ด้วยการรับประทานผัก 8 ชนิดนี้กันนะคะ

ขอบคุณที่มา: HonestDocs, หนังสือสูตรเด็ดแก้เจ็บแก้จน, สมุนไพรหมอศุภ InThai Onboard และ Medthai

อ่านต่อบทความอื่นที่น่าสนใจ:

 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up