สอนให้พี่น้องรักกัน

สอนให้พี่น้องรักกัน ด้วย 7 วิธีง่ายๆ ในการ “ปลูกฝังที่พี่คนโต”

event
สอนให้พี่น้องรักกัน
สอนให้พี่น้องรักกัน

สอนให้พี่น้องรักกัน

 

6. หากิจกรรมให้ลูกทำ

ขณะที่คุณวุ่นอยู่กับการเลี้ยงเจ้าคนเล็ก อาจหาขนมให้กิน หรือบอกให้เขาเลือกหนังสือนิทานที่จะให้คุณอ่านให้ฟัง เตรียมเอาไว้หลังจากที่เปลี่ยนผ้าอ้อมให้น้องเสร็จ หรือไม่ก็ให้เขาเป็นลูกมือช่วยหยิบของเสียเลย ช่วยเบาแรงไปได้โขทีเดียว

7. อย่าด่วนตัดสินลูกด้วยอารมณ์

โดยเฉพาะอารมณ์โกรธค่ะ บางทีลูกเล่นกับน้องแรงๆ โดยไม่ได้ตั้งใจ ซึ่งทำให้น้องร้องไห้ อย่าเพิ่งดุและลงโทษเขาแรงๆ โดยตัดสินว่าเขาจงใจแกล้งน้อง เพราะจะยิ่งทำให้เขาน้อยใจและเกลียดน้อง อย่าเพิ่งโมโห ใจเย็นเอาไว้ก่อน ปลอบลูกคนเล็กให้หยุดร้องไห้ พอพายุสงบ ให้พูดกับลูกคนโตอย่างตั้งใจ โดยคุกเข่าลงให้ตัวคุณอยู่ระดับเดียวกับเขาและสบตาเขา

วิธีเลี้ยงและสอนลูก สอนให้พี่น้องรักกัน

สอนให้พี่น้องรักกัน

ทั้งนี้หากลูกเผลอทำรุนแรงกับน้องคุณพ่อคุณแม่ควรอธิบายเหตุผลที่ไม่ควรเล่นกับน้องแรงๆ ให้เขาฟังด้วยท่าทีสงบแต่จริงจัง ข้อสำคัญ คุณแม่ต้องอดทน ลูกจะค่อยๆ เข้าใจมากขึ้นได้ตามวัยของเขาเอง

แต่ถ้าเตรียมเรื่องนี้ไม่ทันแล้ว การที่คุณพ่อคุณแม่อยากให้ลูกมีความปรองดองและรักใคร่กัน เป็นพี่น้องที่ช่วยเหลือกันไปจนตลอดชีวิต ซึ่งดูเหมือนอาจเป็นเรื่องยากแต่ก็ไม่ยากเกินไป ลองตามไปดูวิธีการเลี้ยงและรู้จักลูกแต่ละคนโดยให้ความรักและให้กำลังใจที่ถูกต้องแก่ลูกๆ ดังนี้

1. ไม่มีลูกคนโปรดสิ่งสำคัญอย่างหนึ่ง ในการเลี้ยงลูกให้รักกันคือ การไม่มีลูกคนโปรด ลูกทุกคนจะไวต่อความรู้สึกและจับได้ว่าคุณพ่อคุณแม่มีความลำเอียง ถึงแม้ว่าบางครั้งในใจของคุณพ่อคุณแม่จะมีความรักต่อลูกคนใดคนหนึ่งเป็นพิเศษ แต่อย่าแสดงออกให้ลูกรู้ แต่ให้ลูกได้รับความรักที่เท่าเทียมกัน เพราะความลำเอียงจะก่อให้เกิดปัญหาในใจลูก เป็นเสมือนแผลเป็นที่ไม่รู้จักหาย และพร้อมจะกำเริบขึ้นมาทุกครั้งที่มีปัญหา

2. สอนลูกให้เป็นเพื่อนที่ดีต่อกัน หากเราต้องการให้ลูกมีความสัมพันธ์ที่ดีและอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข เราต้องสอนลูกให้รู้จักการแสดงความเป็นเพื่อนกัน อาจจะต้องใช้เวลาแต่สิ่งนี้จะเป็นประโยชน์ภายหลัง ไม่ใช้เพียงแต่การแสดงความเป็นเพื่อนที่ดีต่อกันเท่านั้น แต่ลูกจะเรียนรู้การเห็นอกเห็นใจกัน เอาใจเขามาใส่ใจเรา หากลูกเรียนรู้สิ่งนี้แล้วจะเป็นประโยชน์ต่อลูกและการปรับตัวเข้ากับคนอื่นในอนาคตอีกด้วย

สอนให้พี่น้องรักกัน

3. สอนให้ลูกแสดงความเห็นอกเห็นใจ หากลูกเริ่มเรียนรู้การเห็นอกเห็นใจผู้อื่น เมื่ออายุยังน้อย จะเป็นเหมือนศีลธรรม ประจำใจที่ติดตัวลูกไปเมื่อลูกโตขึ้น การแสดงออกถึงการเห็นอกเห็นใจ จะทำให้ลูกสนิทสนมกันมากขึ้นด้วยเมื่อลูกโตขึ้น

4. สอนให้ลูกเรียนรู้การให้อภัยกัน เมื่อลูกอยู่ด้วยกัน แน่นอนการกระทบกระทั่งกันย่อมเกิดขึ้นได้ แต่ให้ลูกเรียนรู้จักการขอโทษ และเริ่มต้นเล่นด้วยกันใหม่ ให้เรามีมาตรฐานในครอบครัวว่าให้ลูกกล่าวคำขอโทษและสำนึกเมื่อลูกแสดงสิ่งที่ไม่ดีต่อกัน ลูกจะไปถึงมาตรฐานนั้นได้แน่นอน

5. คุยถึงเรื่องความสนิทสนม ให้ลูกมีความใกล้ชิดกัน สนิทสนม เมื่อมีปัญหาอะไรก็ปรึกษากัน หากเรามีความคาดหวังให้ลูกสนิทสนมกัน รักกัน ลูกจะไปถึงความคาดหวังนั้นได้ คุณพ่อคุณแม่ต้องมีความคิดทางบวกต่อสิ่งเหล่านี้ และใช้เทคนิคหลากหลายวิธีในการเรียนรู้ สอน และทำให้ดูเป็นตัวอย่างในเรื่องของการรักใคร่ ปรองดองกัน

สุดท้ายสอนให้ลูกแสดงแบบของความรักที่เป็นเอกลักษณ์ เฉพาะสำหรับครอบครัว บางครอบครัวมีการตั้งฉายาให้แต่ละคน (ไม่ใช่การล้อเลียนหรือทำให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเจ็บใจ) การล้อเล่นกันในแต่ละครอบครัว จะทำให้เราสนิทสนมและเป็นการแสดงเอกลักษณ์เฉพาะแบบของแต่ละคนอีกด้วย คุณพ่อคุณแม่ต้องทำให้ลูกแน่ใจว่าได้รับการเสริมแรงในข้อนี้

อย่างไรก็ตามคนที่มีผลต่อเรื่องนี้มากที่สุดก็คือ “คุณพ่อคุณแม่” นั่นเอง การปลูกฝังและส่งเสริมด้วยวิธีที่ถูกต้อง จะช่วยป้องกันและแก้ปัญหาได้ แต่คุณพ่อคุณแม่ก็ไม่ควรคาดหวังมากเกินไปนะคะ เพราะเด็กวัยนี้ยังรู้จักผ่อนสั้นผ่อนยาวไม่ดีพอ ต้องสอนอย่างค่อยเป็นค่อยไปค่ะ

อ่านต่อ “บทความดี ๆ น่าสนใจ” คลิก!


บทความโดย: กองบรรณาธิการนิตยสาร Amarin Baby & Kids

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : www.manager.co.th

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up