ลาคลอด

แม่ดีใจได้! รัฐเตรียมขยายสิทธิ ให้ลาคลอด ได้ 6 เดือน

event
ลาคลอด
ลาคลอด

ลาคลอด

อีกทั้งในระหว่างที่คุณแม่ใช้สิทธิลาคลอดบุตร หากเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวก็จะได้รับค่าจ้าง และค่าลดหย่อนภาษี รวมทั้งให้ประกาศเกียรติคุณของสถานประกอบกิจการที่ส่งเสริมให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อีกด้วย

ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีได้มอบหมายให้กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงแรงงาน กรมบัญชีกลาง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปศึกษาความเป็นไปได้ก่อน พิจารณาทั้งข้อดี ข้อเสีย และผลกระทบอีกครั้ง โดยมีข้อแม้ว่า การลาใน 180 วันนั้น ต้องไม่ให้กระทบการว่าจ้างงานของคุณแม่ ซึ่งขณะนี้ยังอยู่ระหว่างดำเนินการ โดยจะมีการรับฟังความคิดเห็นในช่วงเดือน ตุลาคมนี้ คาดว่าจะออกประกาศได้ภายในเดือน มี.ค. 2561”

♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦

สิทธิในการลาคลอด

สิทธิประโยชน์ที่คุณแม่จะได้รับขณะลาคลอด จะช่วยให้คุณแม่ที่ทำงานมีเวลาเตรียมตัวเป็นคุณแม่ได้อย่างเต็มตัวเพื่อดูแลลูกน้อยก่อนและหลังคลอดได้อย่างอุ่นใจมากขึ้น ซึ่งสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับจากภาครัฐและเอกชนในช่วงลาคลอดมี ดังนี้

ประโยชน์ของการใช้สิทธิลาคลอด

การลาคลอดเป็นโอกาสที่ดีที่คุณแม่จะได้พักฟื้นหลังจากการตั้งครรภ์และคลอดลูกและเป็นช่วงเวลาอันมีค่าที่คุณจะได้สร้างสายสัมพันธ์กับลูกน้อยเรียนรู้วิธีการดูแลลูกช่วงแรกๆ เป็นช่วงเวลาที่สำคัญอย่างยิ่งที่คุณจะได้ใช้เวลากับลูกน้อยคนใหม่ ดังนั้นจึงควรใช้โอกาสนี้อย่างเต็มที่ อย่าปล่อยให้ช่วงเวลาดีๆ เหล่านี้สูญเสียไป

สำหรับคุณแม่ที่รับราชการ

มีสิทธิ์ลาคลอดได้ 90 วันโดยไม่ต้องมีใบรับรองแพทย์ (ซึ่งในปีหน้าจะเปลี่ยนเป็น 180 วัน จากที่พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รองนายกรัฐมนตรี ได้เผยในการประชุมคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 5/2560)

  1. สำหรับข้าราชการ สามารถรับเงินเดือนได้ตามปกติ 90 วัน โดยรับจากส่วนราชการ
  2. พนักงานรับราชการ สามารถรับเงินเดือนได้ตามปกติ โดย 45 วันรับจากส่วนราชการ และอีก 45 วันรับจากสำนักงานประกันสังคม พร้อมมีสิทธิ์ลากิจเพื่อเลี้ยงดูบุตรได้ไม่เกิน 150 วันทำการ โดยไม่รับเงินเดือน

นอกจากนี้ ยังสามารถเบิกเงินช่วยเหลือการคลอดบุตรได้ครั้งละ 400 บาทโดยไม่รวมค่ารักษาพยาบาลซึ่งเบิกแยกเป็นกรณีพิเศษได้พร้อมยังได้รับเงินสวัสดิการสำหรับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายเดือนละ 50 บาทต่อบุตร 1 คนแต่ไม่เกิน 3 คน จนกว่าบุตรจะมีอายุ 18 ปีบริบูรณ์

หมายเหตุ:กรุณาตรวจสอบสวัสดิการเพิ่มเติมจากหน่วยงานที่ท่านสังกัดอยู่

สำหรับคุณแม่ที่ทำงานในบริษัทเอกชน

มีสิทธิ์ลาคลอดได้ 90 วัน (เปลี่ยนเป็น 180 วันในปีหน้า เช่นเดียวกับคุณแม่ที่เป็นข้าราชการ) โดยไม่ต้องมีใบรับรองแพทย์เช่นกัน

ส่วนค่าใช้จ่ายตามกฎหมายแล้วบริษัทจะต้องทำบัตรประกันสังคมให้ทุกท่านคุณสามารถใช้บัตรประกันสังคมเบิกค่าใช้จ่ายตามระเบียบของบัตรได้ทันทีโดยจะได้รับสิทธิ์ค่าทำคลอดบุตรแบบเหมาจ่ายครั้งละ 13,000 บาทสำหรับบุตรที่คลอดหลัง 1 มกราคม 2554 เป็นต้นไป

นอกจากนี้ยังได้รับเงินช่วยเหลือการหยุดงานเพื่อคลอดบุตร  โดยนายจ้างจะจ่ายค่าจ้างให้ 45 วัน และ อีก 45 วัน ประกันสังคมจะจ่ายให้ (โดยผู้ประกันที่เป็นหญิงมีสิทธิเบิกค่าคลอดได้ 2 ครั้งและผู้ประกันตนชายเบิกค่าคลอดบุตรได้ 2 ครั้ง) สำหรับผู้ประกันตนหญิงมีสิทธิรับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ยเป็นระยะเวลา 90 วัน คิดจากฐานเงินเดือนไม่เกิน 15,000 บาท

อ่านต่อ >> ประโยชน์ของการใช้สิทธิลาคลอดสำหรับคุณแม่ที่ทำงานในรัฐวิสาหกิจและคุณแม่ที่ประกอบอาชีพอิสระ” คลิกหน้า 3

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up